ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 1 [สัทธัมมปัชโชติกา]

 
wittawat
วันที่  3 ธ.ค. 2567
หมายเลข  49034
อ่าน  53

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบระลึกถึงคุณท่านพระอัครสาวกธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 94
ชื่อว่า ความกำหนัด ด้วยสามารถความยินดี.
ชื่อว่า ความพอใจ เพราะความเป็นเพื่อนของเหล่าสัตว์ในอารมณ์ ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความชอบใจ เพราะอรรถว่า ยินดี.
อธิบายว่า ปรารถนา ชื่อว่า ความเพลิดเพลิน เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเพลิดเพลิน ในภพใดภพหนึ่งของเหล่าสัตว์ หรือเพลิดเพลิน เอง.
ตัณหาชื่อว่า นันทิราคะ เพราะเป็นความเพลิดเพลินด้วย เป็น ความกำหนัดด้วย อรรถว่ายินดีด้วย.
ในบทว่า นนฺทิราโค นั้น ตัณหาที่เกิดขึ้นคราวเดียวในอารมณ์ เดียวเรียกว่านันทิ.
ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า นันทิราคะ.
บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค ความว่า ความกำหนัดโค ท่านเรียก ว่าความกำหนัดกล้า เพราะอรรถว่า ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ ความกำหนัด นั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นความกำหนัดกล้าแห่งจิตเท่านั้น.
ชื่อว่า ความปรารถนา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรารถนา อารมณ์ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความหลง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องหลงของเหล่าสัตว์ เพราะความเป็นกิเลสหนา.
ชื่อว่า ความติดใจ เพราะกลืนให้สำเร็วแล้วยึดไว้.


ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา มหานิทฺเทสวณฺณนา (สทฺธมฺมปชฺโชติกา) - หน้าที่ 52
รญฺชนวเสน ราโค ฯ [๓]
วิสเยสุ สตฺตานํ อนุอนุนยนโต อนุนโย ฯ
อนุรุชฺฌตีติ อนุโรโธ กาเมตีติ อตฺโถ ฯ
ยตฺถ กตฺถจิ ภเว สตฺตา เอตาย นนฺทนฺตีติ (๔) นนฺที สยํ วา นนฺทตีติ นนฺทิ (๕) ฯ
นนฺทิจ สารญฺชนฏฺเฐน ราโค จาติ นนฺทิราโค ฯ
ตตฺถ เอกสฺมึ อารมฺมเณ สกึ อุปฺปนฺนา ตณฺหา นนฺทีปุนปฺปุนํ อุปฺปชฺชมานา นนฺทิราโคติ วุจฺจติฯ
จิตฺตสฺส สาราโคติ โย เหฏฺฐา พลวรญฺชนฏฺเฐน สาราโคติ วุตฺโต โส น สตฺตสฺส (๖) จิตฺตสฺเสว สาราโคติ อตฺโถ ฯ
อิจฺฉนฺติ เอตาย อารมฺมณานีติ อิจฺฉา ฯ
พหลกิเลสภาเวน มุจฺฉนฺติ เอตาย ปาณิโนติ มุจฺฉา ฯ
คิลิตฺวา ปรินิฏฺฐเปตฺวา คหณวเสน อชฺโฌสานํฯ
< ๓. ม. เอตฺถนฺตเร พลวรญฺชนฏฺฐาเนน สาราโคติทิสฺสติฯ ๔. ม. นนฺทนฺตีติ นนฺทีฯ
# ๕. ม. นนฺทีฯ เอวมุปริปิ ฯ ๖. ม. ตสฺส ฯ >


[สรุป ตัณหา ตอนที่ 1]
ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 1 (10 วรรคแรก)
ตัณหา หรือ โลภเจตสิก ท่านแสดงด้วยชื่ออื่นๆ มีดังนี้ ได้แก่
>> ราโค หมายถึง ความกำหนัด ด้วยสามารถความยินดี.
>> อนุนโย หมายถึง ความพอใจ ...
>> อนุโรโธ หมายถึง ความชอบใจ เพราะเป็นสภาพที่ยินดี. อธิบายว่า ปรารถนา.
>> นนฺทิ หมายถึง ความเพลิดเพลิน เพราะเป็นสภาพที่เพลิดเพลิน เป็นไปในภพใดภพหนึ่งของเหล่าสัตว์ หรือเพลิดเพลินเอง.
>> นนฺทิราโค หมายถึง ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพราะเป็นสภาพที่เพลิดเพลินด้วย กำหนัดด้วย ยินดีด้วย.
>> ท่านแสดงว่า นนฺทิราโค นั้น ตัณหาที่เกิดขึ้นคราวเดียวในอารมณ์เดียว เรียกว่านันทิ. ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เรียกว่า นันทิราคะ
>> จิตฺตสฺส สาราโค หมายถึง ความกำหนัดกล้าแห่งจิต ซึ่งแสดงว่า ความยินดีมีกำลัง (สาราโค) นั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิตเท่านั้น.
>> อิจฺฉา หมายถึง ความอยาก หรือความปรารถนาในอารมณ์ทั้งหลาย.
>> มุจฺฉา หมายถึง ความหลง สภาพที่หลง หรือมืดบอดของเหล่าสัตว์เพราะกิเลสมีมากมาย
>> อชฺโฌสานํ หมายถึง ความติดใจ หรือความยึดติด เพราะกลืนให้สำเร็จแล้วยึดไว้ เข้าใจว่าเป็น สภาพที่ติดใจยึดถือว่าเป็นของเราเพราะครอบครองสิ่งนั้นได้สำเร็จ


กราบเรียนอาจารย์คำปั่น

1. "วิสเยสุ สตฺตานํ อนุอนุนยนโต" คำนี้หมายถึง สภาพที่ติดตามไปสู่อารมณ์บ่อยๆ ซ้ำๆ ใช่ไหมครับ "อนุนโย" นี้หมายถึง ความพอใจในอารมณ์ จึงติดตามซ้ำๆ บ่อยๆ ในอารมณ์นั้นใช่ไหมครับ
2. "จิตฺตสฺส สาราโคติ โย เหฏฺฐา พลวรญฺชนฏฺเฐน สาราโคติ วุตฺโต โส น สตฺตสฺส จิตฺตสฺเสว สาราโคติ อตฺโถ ฯ " คำว่า "ความกำหนัดโค" ที่แปลในฉบับไทยนั้น ผมคิดว่าท่านน่าจะเขียนผิดครับ อย่างไรก็ดีขออาจารย์ตรวจสอบด้วยครับ
3. คำว่า "ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ" คำว่า "เหฏฐา" นี้แปลว่า ข้างต้น หรือว่า เบื้องต่ำ ครับ และถ้าแปลว่าเบื้องต่ำ อันนี้ท่านหมายถึง สภาพที่เป็นอกุศล ใช่ไหมครับ

กราบอนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 7 ธ.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. "วิสเยสุ สตฺตานํ อนุอนุนยนโต" คำนี้หมายถึง สภาพที่ติดตามไปสู่อารมณ์บ่อยๆ ซ้ำๆ ใช่ไหมครับ "อนุนโย" นี้หมายถึง ความพอใจในอารมณ์ จึงติดตามซ้ำๆ บ่อยๆ ในอารมณ์นั้นใช่ไหมครับ

เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงตามสภาพของตัณหา ครับ


2. "จิตฺตสฺส สาราโคติ โย เหฏฺฐา พลวรญฺชนฏฺเฐน สาราโคติ วุตฺโต โส น สตฺตสฺส จิตฺตสฺเสว สาราโคติ อตฺโถ ฯ " คำว่า "ความกำหนัดใด" ที่แปลในฉบับไทยนั้น ผมคิดว่าท่านน่าจะเขียนผิดครับ อย่างไรก็ดีขออาจารย์ตรวจสอบด้วยครับ

คำว่า "ความกำหนัดโค" ขอแก้เป็น ความกำหนัด ใด ครับ


3. คำว่า "ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ" คำว่า "เหฏฐา" นี้แปลว่า ข้างต้น หรือว่า เบื้องต่ำ ครับ และถ้าแปลว่าเบื้องต่ำ อันนี้ท่านหมายถึง สภาพที่เป็นอกุศล ใช่ไหมครับ

คำว่า เหฏฺฐา ในประโยคที่ว่า "จิตฺตสฺส สาราโคติ โย เหฏฺฐา พลวรญฺชนฏฺเฐน สาราโคติ วุตฺโต โส น สตฺตสฺส จิตฺตสฺเสว สาราโคติ อตฺโถ ฯ " ควรจะแปลเป็น ข้างต้น เพราะท่านอธิบายบทว่า สาราโค ก่อนหน้านี้แล้ว ครับ แปลเต็มประโยคนี้ ได้ว่า บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค ความว่า ความกำหนัดใด ท่านเรียกว่าความกำหนัดกล้า ในข้างต้น เพราะอรรถว่าเป็นความยินดีมีกำลัง ความกำหนัดนั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นความกำหนัดกล้าแห่งจิตเท่านั้น.
... ส่วน อกุศล เป็นส่วนเบื้องต่ำ ก็เข้าใจได้ว่าเป็นเช่นนั้น และอกุศลก็นำไปสู่ภพภูมิที่ต่ำคืออบายภูมิเท่านั้นด้วยครับ

ก็ขอให้คุณวิทวัต พิจารณาอีกทีด้วยนะครับ

... ยินดีในกุศลวิริยะของคุณวิทวัตและยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wittawat
วันที่ 9 ธ.ค. 2567

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ