ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 2 [สัทธัมมปัชโชติกา]

 
wittawat
วันที่  6 ธ.ค. 2567
หมายเลข  49058
อ่าน  47

ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 2
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบระลึกถึงคุณท่านพระอัครสาวกธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 95
ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องต้องการ คือถึงความ ยินดีของเหล่าสัตว์.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า หนาแน่น.
ก็ ความยินดี นั่นแล ท่านกล่าวว่า ชัฎแห่งป่าใหญ่ เพราะอรรถว่า หนาแน่นเหมือนกัน
ขยายบทที่ติดกันด้วยอุปสัค. ชื่อว่า ความยินดีทั่วไป เพราะอรรถว่า ยินดีทุกอย่างหรือตามส่วน.
ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ของเหล่าสัตว์
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้อง.
ชื่อว่า ความติดพัน เพราะอรรถว่า จมลง.
ชื่อว่า ความแสวงหา เพราะฉุดคร่า.
สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาชื่อว่าเอชาย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ เพื่อบังเกิดในภพนั้นๆ นั่นแล.
ชื่อว่า มายา เพราะอรรถว่า ลวง.


ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา มหานิทฺเทสวณฺณนา (สทฺธมฺมปชฺโชติกา) - หน้าที่ 53
อิมินา สตฺตา คิชฺฌนฺติ เคธํ อาปชฺชนฺตีติ เคโธ ฯ
พหลฏฺเฐน วา เคโธ ฯ
เคธํ วา ปน ปวนสณฺฑนฺติ (๑) หิ พหลฏฺเฐเนววุตฺตํฯ
อนนฺตรปทํ อุปสคฺเคน (๒) วฑฺฒิตํ สพฺพโต ภาเคน วา เคโธติ ปลิเคโธ ฯ
สชฺชนฺติ เอเตนาติ สงฺโค ฯ
ลคฺคนฏฺเฐน วา สงฺโค ฯ
โอสีทนฏฺเฐน ปงฺโม ฯ
อากฑฺฒนวเสน เอชา ฯ
เอชาอิมํ ปุริสํ ปริกฑฺฒ ติตสฺส ตสฺเสว ภวสฺส อภินิพฺพตฺติยาติ หิ วุตฺตํฯ
วญฺจนฏฺเฐน มายา ฯ

< # ๑. สี. เคธานํ สณฺฑนฺติฯ ๒. ม. อุปสคฺควเสน ฯ>


[สรุป ตัณหา ตอนที่ 2]
ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 2 (10 วรรคต่อมา)
ตัณหา หรือ โลภเจตสิก ท่านแสดงด้วยชื่ออื่นๆ มีดังนี้ ได้แก่
>> เคโธ หมายถึง สภาพที่สกปรก? เพราะเป็นสภาพที่สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในอำนาจของความยินดี ความต้องการ.
>> อีกความหมายหนึ่งของ เคโธ คือ ความหนาแน่น
>> ซึ่งท่านมีข้ออุปมาของ เคโธ ว่า หนาแน่น เหมือนป่าที่รกทึบ
>> ปลิเคโธ หมายถึง ความยินดีทั่วไป (โดยคำอุปสัคคะ ของ ปลิเคโธ คือ ปริ ซึ่งหมายถึง โดยรอบ ทั้งหมด ทั่วถึง)
>> สงฺโค หมายถึง ความข้อง เพราะสัตว์นั้นถูกผูกมัดไว้
>> อีกความหมายหนึ่งของ สงฺโค หมายถึง เครื่องข้อง
>> ปงฺโม หมายถึง สิ่งที่ทำให้จมลง
>> เอชา หมายถึง ความแสวงหา หรือความทะยานอยาก เพราะมีลักษณะของการฉุดคร่า
>> ตัณหาชื่อว่า เอชา เพราะฉุดคร่าบุรุษให้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในภพนั้นๆ เช่น มนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์อบายบ้าง เป็นต้น
(เข้าใจว่า ตัณหานั้นผูกมัดผู้นั้นไว้กับสังสารวัฏฏ์ ทำให้ผู้นั้นจมสู่สังสารวัฏฏ์ และฉุดคร่าผู้นั้นสู่สังสารวัฏฏ์ ซึ่ง สังสารวัฏฏ์ ได้แก่ การสั่งสมกิเลส การทำกรรม การรับผลของกรรม มีการเกิด การเห็น การได้ยิน เป็นต้น)
>> มายา หมายถึง สภาพที่ลวง เพราะมีลักษณะหลอกลวง ทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง ลวง ว่างาม ว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าเป็นสัตว์ บุคคล สิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งแท้จริงเป็นธรรม ไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


กราบเรียนอาจารย์คำปั่น

1. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ท่านแปลคำว่า เคโธ ว่า ยินดี ดูเหมือนว่า เคโธ ตัวมันเองไม่ได้แปลว่า ความยินดี ไม่ทราบว่าจริงๆ เคโธ มีรากศัพท์มาจาก เขฏฺ ที่แปลว่า ดิน โคลน ซึ่งในทางธรรมน่าจะแปลว่า สิ่งสกปรก ใช่หรือไม่ครับ หรือจะเป็นคำอื่น
2. เคโธ ที่ท่านแสดงว่า หนาแน่น อันนี้ มาจากคำว่า พหล ที่แปลว่า มีจำนวนมาก ใช่ไหมครับ เข้าใจว่า เพราะโลภะเป็นสภาพธรรมที่เกิดบ่อยครั้ง

3. "คิชฺฌนฺติ" เหมือนว่าฉบับไทยจะแปลว่า "เป็นเครื่องต้องการ ( ... ของเหล่าสัตว์) " ใช่ไหมครับ รากศัพท์ คือ คิชฺ หมายถึง ต้องการ แสวงหา ปรารถนา กัดกิน ใช่ไหมครับ

กราบอนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 7 ธ.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ท่านแปลคำว่า เคโธ ว่า ยินดี ดูเหมือนว่า เคโธ ตัวมันเองไม่ได้แปลว่า ความยินดี ไม่ทราบว่าจริงๆ เคโธ มีรากศัพท์มาจาก เขฏฺ ที่แปลว่า ดิน โคลน ซึ่งในทางธรรมน่าจะแปลว่า สิ่งสกปรก ใช่หรือไม่ครับ หรือจะเป็นคำอื่น

ศัพท์ว่า เคธ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แปลได้หลายอย่าง ทั้งติดข้อง ข้อง ติดใจ ยินดี ชอบ กัดกิน เป็นต้น ก็พอเข้าใจได้ในความเป็นจริงของตัณหา และก็ต้องเป็นสิ่งที่สกปรกอย่างแน่นอน ครับ (ส่วนรากศัพท์ยังต้องค้นคว้าต่อไป)


2. เคโธ ที่ท่านแสดงว่า หนาแน่น อันนี้ มาจากคำว่า พหล ที่แปลว่า มีจำนวนมาก ใช่ไหมครับ เข้าใจว่า เพราะโลภะเป็นสภาพธรรมที่เกิดบ่อยครั้ง

เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ครับ


3. "คิชฺฌนฺติ" เหมือนว่าฉบับไทยจะแปลว่า "เป็นเครื่องต้องการ ( ... ของเหล่าสัตว์) " ใช่ไหมครับ รากศัพท์ คือ คิชฺ หมายถึง ต้องการ แสวงหา ปรารถนา กัดกิน ใช่ไหมครับ

เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ครับ


ก็ขอให้คุณวิทวัตพิจารณาอีกทีนะครับ

... ยินดีในกุศลวิริยะของคุณวิทวัต และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ธ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wittawat
วันที่ 9 ธ.ค. 2567

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ