รู้กำหนด รูปธรรม,นามธรรม ลักษณะ,อาการ แล้ว ควรทำสมาธิ (ตั้งมั่น,ทรงอยู่) ด้วย ลักษณะ,อาการอย่างไร

 
trakan
วันที่  4 ม.ค. 2568
หมายเลข  49205
อ่าน  100

อธิบายตามความเข้าใจคับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 4 ม.ค. 2568

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงนั้นเป็นความจริง เป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งพิสูจน์ได้ทุกขณะ ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ขณะที่กุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด ทั้งหมดเป็นธรรม เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง ทรงไว้ซึ่งลักษณะเฉพาะของตนๆ ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะ

ไม่ใช่ไปกำหนดด้วยความเป็นตัวตน หรือ จดจ้องต้องการ เพราะเหตุว่า กำหนดรู้ เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้นรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม นั้น ไม่ใช่คิด และไม่มีชื่อเลย กล่าวได้ว่า เมื่อปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือสติปัฏฐานเกิดรู้ความจริงนั่นเอง ชื่อว่า กำหนดรู้ คือ รู้ด้วยปัญญา โดยไม่มีเราที่จะไปกำหนดรู้ แต่อย่างใด

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ต้องเริ่มจากการสะสมปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ ไม่ใช่ไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความอยากความต้องการ แต่ควรจะได้พิจารณาจริงๆ ว่า ขณะนี้มีธรรมอะไรบ้าง ที่ควรรู้ ควรศึกษาให้เข้าใจ เมื่อฟังในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนั้นได้ ซึ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สิ่งสำคัญ คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ครับ

... ยินดีในกุศลของคุณ trakan และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
trakan
วันที่ 4 ม.ค. 2568

สติปัฏฐาน สติเกิดขึ้นระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนั้น เป็นไฉน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
trakan
วันที่ 4 ม.ค. 2568

ความเป็นเรา ไม่ได้มีทุกขณะจิต เป็นไฉน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 4 ม.ค. 2568

เรียนความคิดเห็นที่ ๒ ครับ
เรื่องของการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นั้น ไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี มีสติและปัญญาเป็นต้น เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนั้น

สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องต้องการ ไม่ใช่เรื่องของความจดจ้อง ไม่ใช่เรื่องของการไปกระทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด และ ด้วยความไม่รู้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 4 ม.ค. 2568

เรียนความคิดเห็นที่ ๓ ครับ

ความเป็นเรา เป็นอกุศล ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีเฉพาะอกุศล ยังมีขณะที่กุศลจิตเกิดบ้าง มีขณะที่ได้รับผลของกรรมบ้าง ดังนั้น ความเป็นเรา จึงไม่ได้มีในทุกขณะจิต ตามเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ