ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 4 [สัทธัมมปัชโชติกา]

 
wittawat
วันที่  7 ม.ค. 2568
หมายเลข  49248
อ่าน  32

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบระลึกถึงคุณท่านพระอัครสาวกธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 97
ชื่อว่า ทุติยา เพราะอรรถว่า เป็นสหาย เพราะไม่ให้กระวน กระวาย.
ก็ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายกระวนกระวายในวัฏฏะ, ย่อม ให้รื่นรมย์ยิ่ง. ดังสหายรัก ในที่ที่ไปแล้วๆ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึง กล่าวว่า :-
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว นาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏอันเป็นอย่างนี้ไม่มีอย่างอื่น.
ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น.
บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือกเครื่องนำไปสู่ภพ.
จริงอยู่สัตว์ทั้ง หลายอันตัณหานี้นำไป เหมือนโคทั้งหลายถูกเชือกผูกคอนำไปยังที่ที่ ปรารถนาแล้วๆ ฉะนั้น
ชื่อว่า วนะ เพราะอรรถว่า ติด คือคบ คือชุ่มอารมณ์นั้นๆ
ขยายบทด้วยพยัญชนะเป็น วนถะ .
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ เพราะ อรรถว่า เป็นราวกะป่า, ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันหาประโยชน์มิได้ให้ตั้ง ขึ้น.
และด้วยอรรถว่า รกชัฏ คำนี้เป็นชื่อของตัณหาที่มีกำลัง.
แต่ตัณหา ที่มีกำลังเท่านั้นชื่อว่า วนถะ ด้วยอรรถว่า รกชัฏกว่า.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสไว้ว่า :-
เธอทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิด แต่ป่า พวกเธอตัดป่าน้อยและป่าใหญ่แล้ว จงเป็นผู้หมด ป่าเถิด ภิกษุทั้งหลาย.


ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา มหานิทฺเทสวณฺณนา (สทฺธมฺมปชฺโชติกา) - หน้าที่ 54
อุกฺกณฺฐิตุํ อปทานโต สหายฏฺเฐน ทุติยา ฯ
อยํ หิ สตฺตาน วฏฺฏสฺมึ อุกฺกณฺฐิตุํ น เทติคตคตฏฺฐาเน ปิยสหาโย วิยอภิรมาเปติฯ
เตเนววุตฺตํ
ตณฺหาทุติโย ปุริโส ทีฆมทฺธานสํสรํ
อิตฺถภาวญฺญถาภาวํ สํสารํ นาติวตฺตตีติฯ
ปณิธานกวเสน ปณิธิฯ
ภวเนตฺตีติ ภวรชฺชุฯ
เอตาย หิ สตฺตา รชฺชุยา คีวายํ พทฺธา โคณา วิย อิจฺฉิติจฺฉิตฏฺฐานํ นิยฺยนฺติฯ
ตํ ตํ อารมฺมณํ วนติ ภชติ อลฺลียตีติ (๒) วนํฯ
[๓] วนโถติ พฺยญฺชเนน ปทํ วฑฺฒิตํฯ
อนตฺถทุกฺขานํ วา สมุฏฺฐาปนฏฺเฐน จ (๔) คหนฏฺเฐน จ วนํ วิยาติ วนํฯ
พลวตณฺหาเยตํ นามํฯ
คหนตรฏฺเฐน ปน ตโต พลวตราวนโถ นาม ฯ
เตน วุตฺตํ
วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ วนโต ชายเต ภยํ
เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโวติฯ

< ๒. ม. อลฺลียตีติฯ
# ๓. ม. เอตถนฺตเร วนติ ยาจตีติ วา วนนฺติ ทิสฺสติฯ
# ๔. ม. จสทฺโท นตฺถิฯ>


คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 126

ในสองบทว่า วนํ วนฏฺฐญฺจ (๑) นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ต้นไม้ใหญ่ชื่อว่าป่า, ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่านั้น ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า อีกอย่างหนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดก่อนชื่อว่าป่า ที่เกิดต่อๆ กันมา ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ ในป่า (ฉันใด) กิเลสใหญ่ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ ชื่อว่ากิเลสดุจป่า, กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า.
อีกอย่างหนึ่ง กิเลสที่เกิดก่อน ชื่อว่ากิเลสดุจป่า ที่เกิดต่อๆ มา ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ ตั้งอยู่ในป่าฉันนั้นเหมือนกัน.
ก็กิเลสชาตแม้ทั้งสองอย่างนั้น อันพระโยคี พึงตัดด้วยญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า."


ธมฺมปทฏฐกถา ๒ อปฺปมาท-จิตฺตวคฺควณณนา - หน้าที่ 426
วนํ วนฏฺฐญฺจาติ เอตฺถ มหนฺตา รุกฺขา วนํ นาม ขุทฺทกา ตสฺมึ วเน ฐิตา วนฎฺฐา นาม ปฺุพุปฺปตฺติกา รุกฺขา วา วนํ นาม อปราปรุปฺปตฺติกา
วนฏฺฐา นาม เอวเมว มหนฺตมหนฺตา ภวกฑฺฒนกา กิเลสา วนํ นาม ปวตฺติยํ วิปากทายกา วนฏฺฐา นาม ปุพฺพุปฺปตฺติกา วา
วนํ นาม อปราปรุปฺปตฺติกา วนฏฺฐา นาม ฯ
ตํ ปน อุภยํปิ จตุตฺถมคฺคญาเณน ฉินฺทิตพฺพํ เตนาห เฉตฺวา วน วนฏฺฐญฺจาติฯ


[สรุป ตัณหา ตอนที่ 4]
ไวพจน์ของตัณหา ตอนที่ 3 (10 วรรคต่อมา)
ตัณหา หรือ โลภเจตสิก ท่านแสดงด้วยชื่ออื่นๆ มีดังนี้ ได้แก่
>> ชื่อว่า ทุติยา หมายถึง เพื่อนสอง เพราะอรรถว่า เป็นสหาย (ผู้อยู่ร่วมกัน) เพราะเพื่อไม่ให้กระวนกระวาย (อุกฺกณฺฐิตุํ) จากการแยกจากกัน (อปทานโต)
>> ก็ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายกระวนกระวายในวัฏฏะ, ย่อมทำให้รื่นรมย์ในสถานที่ที่ไปแล้วๆ ดุจสหายรัก (ปิยสหาโย) .
>> เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า: บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปตลอดระยะเวลายาวนานในสังสารวัฏที่มีความเป็นอยู่อย่างนี้ (อิตฺถภาว) และความเป็นอยู่อย่างอื่น (ญฺญถาภาว) ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏ.
>> ชื่อว่า ปณิธิ หมายถึง ความตั้งมั่น ("ป" หน้า,โดยรอบ+ "นิ" ลง, วางลง, ตั้งไว้ + "ธา" วาง, ตั้ง + "อิ" (ปัจจัย) ทำ,กระทำ = ปณิธิ) ด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น.
>> บทว่า ภวเนตฺติ หมายถึง สิ่งที่นำทางสู่ภพ ("ภว" ภพ + "เนตฺติ" เครื่องนำ, สิ่งนำทาง = ภวเนตฺติ) ได้แก่ เชือกเครื่องนำไปสู่ภพ (ภวรชฺชุ = "ภว" ภพ + "รชฺชุ" เชือก) .
>> จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายถูกนำไปตามตัณหานี้ เหมือนโคที่ถูกเชือกผูกคอนำไปยังที่ที่ปรารถนาแล้วๆ ฉะนั้น
>> ชื่อว่า วนะ หมายถึง ความยึดมั่น เพราะอรรถว่า ติด คือคบ (วนติ = ติด, ยึดมั่น, คบหา มาจากธาตุ "วน" = ติด, ยึดมั่น) คือชุ่ม (ภชติ = ชุ่ม, ชื่น มาจาก ธาตุ "ภช" = บริโภค, เสพ) ในอารมณ์ (อารมฺมณํ = สิ่งที่สัมผัสหรือเกี่ยวข้อง) นั้นๆ
>> ขยายบทด้วยพยัญชนะให้เป็น วนถะ (ถะ เป็นปัจจัยในภาษาบาลีที่ใช้เพื่อขยายความให้คำหน้ามีความหมายเพิ่มขึ้น เช่น สมถะ คือความสงบ เป็นต้น ("สม" สงบ + ถะ ปัจจัย = ความสงบ) ดังนั้น วนถะ ก็คือ ความยึดมั่น ความติด)
>> อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ หมายถึง ป่า (วนํ = ป่า) เพราะอรรถว่าเป็นเหมือนป่า, ด้วยอรรถว่า ยังความทุกข์ที่ไม่มีประโยชน์ (อนตฺถ = ไม่มีประโยชน์ + ทุกฺขานํ = ความทุกข์) ให้เกิดขึ้น (สมุฏฺฐาปน) .
>> และคำนี้ ( วนะ หรือ วนํ ที่หมายถึง ป่า) หมายถึงชื่อของตัณหาที่มีกำลัง
>> แต่ตัณหาที่มีกำลังเท่านั้นที่ชื่อว่า วนถะ
>> เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า:
เธอทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากการตัดป่า
เมื่อเธอตัดป่าน้อย ( วนะ ) และป่าใหญ่ ( วนถะ ) แล้ว จงเป็นผู้หมดจากป่าเถิด ภิกษุทั้งหลาย


กราบเรียนอาจารย์คำปั่น
1. ตัณหา ในความหมายว่า เพื่อนสอง (ทุติยา) นี้ ข้อความที่ว่าบุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ... ความเป็นอยู่อย่างนี้ (อิตฺถภาว) หมายถึง ภพนี้ และความเป็นอยู่อย่างอื่น (ญฺญถาภาว) หมายถึง ภพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภพนี้ ใช่ไหมครับ ที่ย่อมท่องเที่ยวไปพร้อมตัณหา
2. ตัณหา ที่อีกชื่อหนึ่งคือ ปณิธิ อันนี้ตั้งมั่นในอะไรครับ ในการเกิดต่อไปในสังสารวัฏฏ์หรือครับ
3. ในคำแปลว่า "ป่าน้อย (วนะ) และป่าใหญ่ (วนถะ) " เข้าใจว่ามาจากคาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 126 ซึ่งอรรถกถาท่านก็อธิบายอีกแบบเป็น "ต้นไม้ใหญ่" ชื่อว่า วนะ "ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่า" ชื่อว่า วนถะ, ... "กิเลสใหญ่ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ" ชื่อว่า วนะ (มหนฺตมหนฺตา ภวกฑฺฒนกา กิเลสา วนํ นาม) และ "กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน" ชื่อว่า วนถะ (ปวตฺติยํ วิปากทายกา วนฏฺฐา นาม)
กระผมสงสัยที่กิเลสอันคร่าสัตว์ไว้ในภพ และกิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ต่างกันยังไงครับ หมายถึงกิเลสที่เป็นปัจจัยให้กรรมเกิดและให้ผลคือนามธรรมรูปธรรมขณะปฏิสนธิของบุคคลนั้นอย่าง ๑ และกิเลสที่เป็นปัจจัยให้กรรมเกิดและให้ผลเป็นนามธรรมรูปธรรมเกิดขึ้นต่อจากปฏิสนธิขณะจนกระทั่งตายอีกอย่าง ๑ หรือเปล่าครับ
กราบอนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 ม.ค. 2568

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ตัณหา ในความหมายว่า เพื่อนสอง (ทุติยา) นี้ ข้อความที่ว่าบุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ... ความเป็นอยู่อย่างนี้ (อิตฺถภาว) หมายถึง ภพนี้ และความเป็นอยู่อย่างอื่น (ญฺญถาภาว) หมายถึง ภพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภพนี้ ใช่ไหมครับ ที่ย่อมท่องเที่ยวไปพร้อมตัณหา

**คำตอบข้อที่ ๑ ขอเพิ่มเติมข้อความในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๑๑๓ ดังนี้
สังสาระ ชื่อว่า อิตฺถภาวญฺญถาภาโว เพราะอรรถว่า สังสาระมีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น. ในบทนั้น ความเป็นอย่างนี้ คือ ความเป็นมนุษย์. ความเป็นอย่างอื่น คือ ที่อยู่ของสัตว์นอกจากความเป็นมนุษย์นั้น. หรือว่าความเป็นอย่างนี้ ได้แก่ อัตภาพปัจจุบันของเหล่าสัตว์นั้นๆ . ความเป็นอย่างอื่น ได้แก่อัตภาพอนาคต.


2. ตัณหา ที่อีกชื่อหนึ่งคือ ปณิธิ อันนี้ตั้งมั่นในอะไรครับ ในการเกิดต่อไปในสังสารวัฏฏ์หรือครับ
คำตอบข้อที่ ๒ มุ่งหมายถึง ความตั้งมั่นคือ ความปรารถนาในอารมณ์ และตัณหา ก็ทำให้สังสารวัฏฏ์ เป็นไปอย่างไม่สิ้นสุด ครับ


3. ในคำแปลว่า "ป่าน้อย (วนะ) และป่าใหญ่ (วนถะ) " เข้าใจว่ามาจากคาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า 126 ซึ่งอรรถกถาท่านก็อธิบายอีกแบบเป็น "ต้นไม้ใหญ่" ชื่อว่า วนะ "ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่า" ชื่อว่า วนถะ, ... "กิเลสใหญ่ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ" ชื่อว่า วนะ (มหนฺตมหนฺตา ภวกฑฺฒนกา กิเลสา วนํ นาม) และ "กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน" ชื่อว่า วนถะ (ปวตฺติยํ วิปากทายกา วนฏฺฐา นาม)
กระผมสงสัยที่กิเลสอันคร่าสัตว์ไว้ในภพ และกิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ต่างกันยังไงครับ หมายถึงกิเลสที่เป็นปัจจัยให้กรรมเกิดและให้ผลคือนามธรรมรูปธรรมขณะปฏิสนธิของบุคคลนั้นอย่าง ๑ และกิเลสที่เป็นปัจจัยให้กรรมเกิดและให้ผลเป็นนามธรรมรูปธรรมเกิดขึ้นต่อจากปฏิสนธิขณะจนกระทั่งตายอีกอย่าง ๑ หรือเปล่าครับ

คำตอบข้อที่ ๓ มีความเข้าใจตามที่คุณวิทวัตได้แสดงความเห็น ครับ


... ยินดีในกุศลวิริยะของคุณวิทวัตเป็นอย่างยิ่งครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wittawat
วันที่ 9 ม.ค. 2568

กราบอนุโมทนา ชัดเจนแจ่มแจ้งทีเดียวครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ