English-Hindi 01 March 2025

 
prinwut
วันที่  3 มี.ค. 2568
หมายเลข  49564
อ่าน  288

English-Hindi 01 March 2025


- บารมีคืออะไร เห็นไหม เราต้องเข้าใจแต่ละคำ โดยทั่วไปแปลว่าความสมบูรณ์พร้อมแต่เป็นความสมบูรณ์พร้อมของกุศลทุกประการเพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ด้วยเหตุนี้ถ้าขาดบารมีจะมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังมีนี้ได้อย่างไร เช่น ฟังดนตรี เล่นเกมส์ ฯลฯ นั่นไม่ใช่บารมี

- เพราะฉะนั้นบารมีคือขณะที่เห็นโทษภัยของกิเลสและเป็นปัจจัยให้กุศลเกิดขึ้นทันทีแต่ทีละเล็กทีละน้อยประกอบด้วยความเข้าใจถูกที่ค่อยๆ เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีในขณะนี้ ปัญญาความเข้าใจถูกเข้าใจว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลแต่ปัญญายังไม่มีกำลังพอที่จะละคลายขณะที่เป็นอกุศล ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยกุศลทุกประการที่จะค่อยๆ ละคลายอกุศลทีละเล็กทีละน้อยเพื่อที่เมื่อกุศลถึงความสมบูรณ์พร้อมเมื่อไหร่ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงไปตามลำดับขั้น

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เป็นบารมีไหม (คุณโซฮาน - อาจจะเป็น) ไม่ใช่อาจจะ “อาจจะ” ไม่ใช่ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีบารมีไหม กำลังฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป็นบารมี) ใช่ เป็นปัญญาบารมีซึ่งเป็นปัจจัยแก่บารมีอื่นๆ ด้วย

- ถ้าไม่มีปัญญา สิ่งที่มีก็เป็นที่ตั้งให้กับความติดข้องโดยไม่รู้ตัวได้ตลอดเวลาเพราะว่าไม่เข้าใจ มีเพียงความเข้าใจถูกเท่านั้นที่จะสามารถละความไม่รู้และความติดข้องที่ไม่สามารถเข้าใจความจริงได้ทีละน้อยๆ ตามเหตุตามปัจจัยจนกระทั่งสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันปรากฏกับกุศลมากกว่าอกุศลพร้อมกับความเข้าใจถูกตามความเป็นจริง นี้เป็นหนทางอบรมความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นเริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิความเข้าใจถูกซึ่งเป็นองค์แรกของมรรคมีองค์ ๘

- เพราะฉะนั้นเข้าใจถูกว่าขณะไหนเป็นบารมี ขณะไหนไม่ใช่บารมี ถ้าไม่มีปัญญาไม่สามารถเป็นบารมีได้แต่เมื่อมีความเข้าใจไม่มีใครสามารถทำให้สิ่งใดเกิดได้แต่เป็นปัจจัยแล้วทีละเล็กทีละน้อยให้กุศลพร้อมปัญญาหรือแม้กุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาเกิดขึ้นโดยมีความเข้าใจถูกเป็นพื้นฐานโดยไม่คาดคิดมาก่อนในแต่ละขณะ และนั่นคือความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในความเป็นอนัตตา

- เพราะฉะนั้นคำต่างๆ ไม่ใช่เพื่อจำ แต่เพื่อเข้าใจเดี๋ยวนี้ว่าเป็นบารมีหรือไม่ ธรรมทุกอย่างอยู่ตรงนี้ทุกขณะไม่ว่าขณะใดก็ตามเป็นธรรมทั้งหมดแต่ไม่มีความเข้าใจ เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายจึงเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นคน เป็นเราตลอดเวลาและนั่นเป็นความเข้าใจผิดที่ตรงข้ามกับความเข้าใจถูก เป็นมิจฉามรรคไม่ใช่สัมมามรรค

- ด้วยเหตุนี้ถ้าคุณเข้ามาสนทนาในรายการนี้มากขึ้นก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยให้ความเข้าใจในสภาพธรรมที่หลากหลายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแต่สิ่งที่อยากเข้าใจเท่านั้น (ช่วยให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง) ใช่ เพราะขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆ แต่ไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง แต่ปรากฏไม่ดีกับความเห็นผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเป็นคนตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมั่นคงเพิ่มขึ้นในความจริงว่า สิ่งที่มีที่ปรากฏเป็นธรรมและธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตาจนกว่าธรรมจะค่อยชัดเจนขึ้นๆ ทีละเล็กทีละน้อย

- (คุณโซฮาน - ศีลบารมี เช่น การถามคำถามถึงคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสถึงสิ่งที่มีจริง สงสัยว่าเป็นศีลบารมีไหม) ศีลคืออะไร เราต้องพิจารณาลึกลงไปถึงสภาวธรรมแต่ละหนึ่งเพื่อเข้าใจว่า ใช้คำไหนในระดับไหน เช่น เราต้องเริ่มด้วยว่า “คืออะไร?” เพราะฉะนั้นถ้าสนใจในศีลแล้วศีลคืออะไร ก่อนที่จะไปรู้ว่าเป็นศีลประเภทไหน

- เพราะฉะนั้นศีลคืออะไร (เป็นศีลธรรมไหม) ไม่ใช่ ลักษณะของศีลคืออะไร (เป็น..) ไม่ใช่ เหมือนถามว่า เห็นคืออะไร แล้ว ศีลคืออะไร มิฉะนั้นจะเข้าใจศีลได้อย่างไรถ้าเพียงแต่คิดถึงคำคิดถึงชื่อเท่านั้น แต่อะไรคือลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ที่เป็นศีล ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงอะไรที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นไม่สามารถที่จะเข้าใจความจริงได้ เพียงคำและความหมายขณะที่เดี๋ยวนี้ลักษณะของศีลมีอยู่ตลอดเวลา

- (เพราะศีล….) ไม่ใช่ๆ นั่นไม่ใช่คำตอบ คำตอบต้องเป็นคำตอบว่าศีลคืออะไร ธรรมอะไรเป็นศีล (คุณสุคิน - ท่านอาจารย์กล่าวว่ามีทุกขณะ) ใช่ มีตลอดเวลาแน่นอน เดี๋ยวนี้ก็มีและขณะไหนๆ ก็มีเช่นกัน (เหมือนว่าเขาไม่เคยฟังเรื่องศีล) เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรื่องอะไรเป็นธรรมทั้งหมด ให้เขาเข้าใจความจริงอันนี้ก่อน ฐานที่สำคัญที่สุดให้เข้าใจความจริงตั้งแต่ต้นละเอียดขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นศีลคืออะไร ศีลเป็นธรรมอะไร (คุณโซฮาน - เป็นเจตสิกธรรม) เจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตได้ไหม (ไม่ได้) เมื่อจิตเกิดขึ้นมีลักษณะของตน มีกิจหน้าที่ของตนไหม (มี) ด้วยเหตุนี้ความหมายของศีลคือ ความประพฤติเป็นไปของจิตรวมทั้งเจตสิกด้วยเพราะเกิดพร้อมกัน ดังนั้นศีลหมายถึงแต่ละขณะต้องมีจิตแต่ละขณะ เพราะฉะนั้นความประพฤติเป็นไปของจิตแต่ละขณะเป็นศีล ถูกต้องไหม ด้วยเหตุนี้จึงมีอกุศลศีล กุศลศีล อัพยากตศีล

- และโดยทั่วไปคนมักจะกล่าวถึงกุศลศีลว่าเป็นศีลแต่ตามความเป็นจริงศีลคือความประพฤติเป็นไปของจิตและเจตสิกแต่ละขณะ ไม่ใช่อย่างที่สอนๆ กันว่าเป็นกุศลศีลเท่านั้น เพราะฉะนั้นอกุศลศีลคืออะไร (เป็นเจตสิก เช่น ความคิดที่เป็นลบ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น) คุณกล่าวเป็นเรื่องราวอีกแล้วแต่ขณะที่เป็นอกุศลศีลคืออะไร ถ้าเราไม่รู้ว่า จิตอะไรประพฤติเป็นไปอย่างไร เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นอกุศลศีล

- เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเป็นไปกับอวิชชา โลภะและโมหะขณะนั้นเป็นอกุศลศีล ด้วยเหตุนี้ขณะที่อกุศลศีลเกิดขึ้นเป็นความประพฤติเป็นไปของอกุศลจิตใช่ไหม โดยนัยที่ประพฤติเป็นไปกับโทสะ เราเข้าใจว่า มีคนลงมือฆ่า ฯลฯ แต่ตามความเป็นจริงเป็นจิตที่ประพฤติเป็นไปอย่างนั้น ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น และคนมักจะพูดถึงการละเว้นจากการฆ่าเป็นขณะที่เป็นกุศล ขณะนั้นจิตที่เกิดขึ้นเป็นกุศลศีล

- ด้วยเหตุนี้เริ่มเข้าใจความจริงของสภาพธรรมว่า ไม่ใช่เราไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยไหน โดยนัยของศีล โดยนัยของกุศลกรรมบท ๑๐ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้จึงเข้าใจว่า เรากำลังกล่าวถึงธรรมไม่ใช่ใครเลย แม้แต่ขณะที่คิดถึงศีลก็ไม่ใช่เรา เป็นเพียงอกุศลศีลที่ประพฤติเป็นไปในการฆ่า ฯลฯ ที่เป็นอกุศลกรรม แต่ตามความเป็นจริงเป็นความประพฤติทุจริตของจิตและเจตสิก ไม่สงสัยแล้วใช่ไหม

- ขณะที่ฟัง ไตร่ตรอง เข้าใจ เป็นศีลไหม ได้ยินคำจริง คำที่แสดงถึงสิ่งที่มีจริง พิจารณาความจริงและเข้าใจความจริง ขณะนั้นเป็นศีลไหม (เป็น) ประเภทไหน (กุศล) กุศลศีล และสำหรับพระอรหันต์ไม่มีกุศลอกุศลอีกต่อไป ยังคงมีความประพฤติเป็นไปไหม ท่านยังคงมีความประพฤติเป็นไปในแต่ละวันไหม มีการพูด การฉันอาหาร ฯลฯ และนั่นเป็นอัพยากตศีล

- เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่สงสัยแล้วว่าศีลหมายถึงอะไร และขณะที่เรากำลังกล่าวถึงโดยนัยของกุศลศีล ชอบคิดกันเองว่า เฉพาะกุศลเท่านั้นที่เป็นศีลแต่ความจริงศีลคือความประพฤติของจิต ถ้าปราศจากจิตก็ไม่มีอะไรที่จะประพฤติเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้นตอนนี้ชัดเจนแล้วใช่ไหม

- โลกุตตรจิตเป็นศีลไหม (มันสามารถเป็นศีลได้) ทำไมถึงกล่าวว่า “มันสามารถเป็น” (เมื่อเกิดขึ้น) และมีขณะที่ไม่สามารถเป็นไหม (ขณะที่ไม่เกิด) ไม่ใช่คำว่าสามารถเป็นได้ แต่ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเกิดกับองค์มรรคที่เป็นเจตสิก ๘​ ประเภทใช่ไหม จึงเป็นศีลด้วย เห็นไหม

- ด้วยเหตุนี้เราจึงศึกษาละเอียดเพิ่มขึ้นทีละน้อยเพื่อความมั่นคงในความจริงเพิ่มขึ้น ไม่สงสัยในนัยต่างๆ ที่ทรงแสดงโลกุตตรจิต โลกียจิต ระดับขั้นของโลกุตตรที่สูงขึ้นจนถึงพระอรหันต์ซึ่งแตกต่างจากพระอริยบุคคลขั้นรองๆ ลงมา จึงมีความต่างระหว่างพระโสดาบันกับพระอรหันต์ แม้แต่กุศลซึ่งเป็นความเป็นไปของจิตก่อนที่จะเป็นพระโสดาบันและหลังจากที่ถึงความเป็นพระโสดาบันแล้ว จิตยังคงประพฤติเป็นไปตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นไม่สงสัย

- เพราะฉะนั้นเมื่อมีความเข้าใจความจริงชัดเจนทั้งหมดก็ชัดเจน ถูกไหม แต่ต้องพิจารณาด้วยความละเอียดว่าเป็นกุศลศีลไหมเมื่อโลกุตตรจิตเกิดขึ้น (เป็น) แล้วอรหัตตมรรคเป็นศีลไหม (อรหัตตมรรคเป็นอัพยากตศีล) มรรคๆ อรหัตตมรรค เห็นไหมต้องพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อที่จะมั่นคงในความเข้าใจความจริง ไม่ใช่ง่ายๆ หรือข้ามไปๆ ต้องเข้าใจว่าอรหัตตมรรคเป็นจิตประเภทไหนและอรหัตตผลเป็นจิตเป้นเภทไหน

- เราศึกษาตั้งแต่ต้นเพื่อเข้าใจชาติของจิตที่แตกต่างกัน จิตที่เกิดขึ้นเป็นอกุศล จะเป็นกุศล จะเป็นอัพยากตะไม่ได้ จิตที่เกิดขึ้นเป็นกุศลไม่สามารถเป็นอกุศลหรือเป็นอัพยากตะได้ ด้วยเหตุนี้ควรพิจารณาแต่ละคำในนัยของกุศลศีล อกุศลศีลและอัพยากตศีลด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นศีลประเภทไหนเกิดกับอรหัตตมรรค คุณได้เรียนชาติของจิต ๔ ชาติแล้ว กุศล อกุศล วิบาก กิริยา เพราะฉะนั้นศีลประเภทนไหนเกิดกับอรหัตตมรรค (กิริยา) ไม่ใช่ ทำไมดิฉันถึงกล่าวว่า “อรหัตตมรรค” (วิบาก) ไม่ใช่ๆ เห็นไหม อะไรเป็นหนทางของพระอริยบุคคล คืออะไร เห็นไหม ไม่ลืมเลย สติระลึกได้ไม่ลืมแต่เมื่อไม่มีสติไม่คิดถึงสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว

- ไม่ลืมว่า ชาติของจิตมี ๔ ชาติคือ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ต้องไม่ลืมว่าชาติของจิตมี ๔ ชาติ เพราะฉะนั้นศีลประเภทไหนที่เกิดกับโลกุตตรจิตที่เป็นอรหัตตมรรค (คุณโซฮาน - พระอรหันต์ไม่มีอกุศล) ตอนนี้สนทนาเฉพาะโลกุตตรจิต ๘ ถูกต้องไหม คืออะไรบ้างทีละหนึ่ง (หนึ่งคือมรรคจิต) ขั้นไหน (คุณสุคิน - บอกว่าโลกุตตรจิตมี ๘ ใช่ไหม ต่างกันตรงไหน) (คุณโซฮาน - โสดาปัตติมรรคจิต สกทาคามิมรรคจิต อนาคามิมรรคจิต อรหัตตมรรคจิต โสตาปัตติผลจิต สกทาคามิผลจิต อนาคามิผลจิต อรหัตตผลจิต)

- และคำถามสำหรับโลกุตตรจิต ๘ คืออะไร คำถามถามว่า ศีลประเภทไหนที่เกิดกับโลกุตตรจิตที่เป็นอรหัตตมรรค (กิริยาศีล) ลองตอบอีกครั้ง (คุณสุคิน - ไม่ใช่ ศีลมีกี่ประเภท) (คุณโซฮาน - มี ๓ ประเภท) (คุณสุคิน - อะไร) (คุณโซอาน - กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล)

- อัพยากตศีลคืออะไร (คุณโซฮาน - คือจิตที่เกิดกับพระอรหันต์) ไม่ได้กล่าวถึงอย่างนั้น กลับมาที่เรากำลังสนทนากันคือ ศีล 3 ประเภทมีอะไรบ้าง (คุณโซอาน - อกุศลศีล กุศลศีล อัพยากตศีล)

- อกุศลศีลคืออะไร (คือจิตที่เกิดกับโลภะ โทสะ โมหะเป็นอกุศลจิต) แล้วกุศลศีลคือประเภทไหน (คือจิตที่เกิดกับอโมหะ อโทสะ อโลภะ เป็นกุศลศีล) และอัพยากตศีลคืออะไร (คือจิตที่เป็นชาติกิริยา เป็นอัพยากตศีล) แล้วจิตประเภทอะไรเป็นอรหัตตมรรค (กิริยาจิต) มรรค โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค

- (คุณสุคิน- เข้าใจหรือไม่ว่ามรรคจิตเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อทำกิจหน้าที่แล้วดับไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์ถามว่า มรรคจิตที่เกิดขึ้นทำกิจแล้วดับเป็นศีลอะไร) เมื่อคุณพูดคุณจำคำได้แล้วความเข้าใจหล่ะ เราพูดแล้วพูดอีกจนคุณจำได้แต่ลืมแล้ว

- เพราะฉะนั้นศีลมีกี่ประเภท พิจารณาว่าเข้าใจแค่ไหน ไม่ใช่นึกถึงคำเพื่อที่จะตอบ ศีลมีกี่ประเภท ถามแล้วถามอีกๆ จนไม่ลืม (๓ ประเภท) อะไรบ้าง (อกุศลศีล กุศลศีล อัพยากตศีล) เพราะฉะนั้นอัพยากตศีลคืออะไร (ศีลที่เกิดกับกิริยาจิต) ทำไมเป็นอัพยากตศีล (เพราะมีกำลัง เพราะบริสุทธิ์มากจนเกิดได้กับพระอรหันต์) นั่นไม่ใช่คำคอบ นั่นไม่ใช่ความเข้าใจ เพราะว่าอัพยากตะคือขณะที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล สภาพธรรมที่เป็นอกุศลทุกอย่างไม่สามารถเกิดได้ในขณะที่เป็นอัพยากตจิต ศีลประเภทอื่นๆ เกิดไม่ได้เมื่อเป็นอัพยากตะ ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล

- เพราะฉะนั้นตอนนี้ลองคิดใหม่ พิจารณาไหม่ ไม่ลืมอีก จิตประเภทไหนเป็นโลกุตตรจิต ๘ (กิริยาจิตและกุศลจิต) มีจิตอื่นไหม คุณกำลังพยายามจำคำที่ได้ฟังแต่ตอนนี้เปลี่ยนความคิดแบบนั้นเป็น กุศลจิตคืออะไร กุศลศีลคืออะไร อกุศศีลคืออะไร เพื่อที่จะเข้าใจว่าเปลี่ยนไม่ได้เลย ความเข้าใจเข้าใจความจริงเป็นปรมัตถ์

- เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่ลืมความหมายของคำว่า กุศล อกุศล วิบากและกิริยา คือ ชาติของจิต ๔ ชาติ ต้องเป็นหนึ่งในสี่ชาติ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ไม่ว่าจิตอะไรต้องกลับมาที่เป็นชาติกุศล หรืออกุศล หรือวิบาก หรือกิริยา ต้องเป็นหนึ่งชาติเท่านั้นในสี่ชาตินี้ ด้วยเหตุนี้จิตจึงต่างกันโดยนัยของ ชาติ การเกิดขึ้น ไม่ว่าเราจะกล่าวถึงโลกุตตรจิต จิตที่ไม่ใช่โลกุตตรจิต อกุศลจิต กุศลจิต หรือกิริยาจิตที่ไม่ใช่โลกุตตรจิต

- ด้วยเหตุนี้ศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจทีละคำชัดเจนเพื่อไม่ลืม มีกิริยาจิตที่ไม่ใช่โลกุตตรไหม ทบทวนแล้วททบทวนอีกๆ เพื่อที่จะเข้าใจไม่ใช่จำ การจำนั้นง่ายแต่ก็ลืม แต่ถ้าเข้าใจไม่ลืม ถูกไหม เพราะฉะนั้นมีจิตอะไรที่เป็นกิริยาจิตแต่ไม่ใช่โลกุตตรจิต เพื่อไม่ลืม เรากำลังเรียนเรื่องชาติของจิตอีกเพื่อไม่ลืม

- มีกิริยาจิตที่ไม่ใช่ของพระอรหันต์ไหม คืออะไร (ปัญจทวาราวัชชนจิต) เป็นอัพยากตศีลไหม (เป็นอัพยากตศีล) เพราะฉะนั้นโลกุตตรจิต ๘ มีอะไรบ้าง (โลกุตตรจิต ๘ เป็นอัพยากตศีล) ทั้ง ๘ เลยหรือ หรือไม่ทั้งหมด ต้องกลับมาที่ชาติของจิต ไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้เพราะเป็นปรมัตถธรรมเมื่อกล่าวชาติ ขณะที่จิตเกิดขึ้นเป็นกุศลหรืออกุศลหรืออัพยากต ใครเปลี่ยนได้ไหม อัพยากติไม่ใช่กุศลหรืออกุศล ไม่ว่าจิตอะไรที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศลเป็นอัพยากตะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นเราเรียนเพื่อเข้าใจว่า อัพยากตศีลมีกี่อย่างเพราะเราได้เรียนจิตทุกประเภทมาแล้ว กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงศีล ๓ ประเภท กุศลศีล อกุศลศีลและอัพยากตจิต อกุศลศีลคือขณะที่เป็นอกุศลเป็นความประพฤติเป็นไปของจิตตามอกุศล และกุศลศีลจะเป็นอกุศลหรือวิบากหรือกิริยาไม่ได้เลยเพราะว่ามีกรรมเป็นปัจจัยที่จะทำให้จิตทำกิจเป็นผลของกรรม เป็นกิริยาไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เพราะว่าเป็นผลเป็นวิบากเป็นจิตที่เป็นผล

- เพราะฉะนั้นศีลประเภทไหนเกิดกับวิบาก (อัพยากตศีล) แต่ทำไมเราพูดถึงกิริยาซึ่งไม่ใช่วิบาก หรือกิริยาที่ทำกิจหน้าที่แต่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เห็นไหม ด้วยเหตุนี้เราค่อยๆ ศึกษาเพิ่มขึ้นเพราะว่าปกติเราคิดถึงศีลโดยนัยที่เป็นความประพฤติเป็นไปของจิต ความประพฤติที่เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากตในชีวิตประจำวันไม่ใช่เห็น ไม่ใช่วิบาก ฯลฯ เพราะว่าวิบากเพียงเกิดขึ้น ๑ ขณะแล้วดับ ไม่ได้ประพฤติเป็นไปในกุศลหรืออกุศลเลย ด้วยเหตุนี้เราจึงเข้าใจสภาพธรรมที่เป็นอัพยากตและเราศึกษาศีลความประพฤติเป็นไปที่ไม่ใช่วิบากและกิริยาที่เป็นอเหตุก ฯลฯ

- ด้วยเหตุนี้ค่อยๆ ศึกษาเพื่อความเข้าใจธรรมที่ค่อยๆ มั่นคงขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ด้วยเหตุนี้จึงมีกถาวัตถุปรากฏในพระไตรปิฎกเพื่อพิจารณาความเข้าใจในนัยต่างๆ ด้วยคำถามและคำตอบ เพราะฉะนั้นตอนนี้เรากล่าวถึงความประพฤติที่เป็นชวนและกิริยาท่าทางในชีวิตประจำวันซึ่งไม่ใช่เห็น ได้ยิน ฯลฯ หรืออเหตุกกิริยาจิต เพียงมุ่งหมายถึงความประพฤติหลังจากที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น

- เพราะฉะนั้นตอนนี้อรหัตตมรรคเป็นศีลอะไร (อรหัตตมรรคเป็นกุศลศีลเพราะสามารถดับมานะ) กุศลเป็นอัพยากตได้ไหม (ไม่ได้) เป็นไปไม่ได้เลย กุศลต้องเป็นกุศล อัพยากตต้องเป็นอัพยากต อรหัตตกุศลเป็นศีลอะไร (คุณสุคิน - จิตแต่ละจิตมีชาติเดียว ไม่สามารถเป็นชาติอื่นได้ ดังนั้นแม้ยังมีกิเลสแต่ถ้าเกิดเป็นกุศลก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นอกุศล กุศลต้องเป็นกุศลไม่สามารถเป็นอกุศลในเวลาเดียวกันได้)

- เพราะฉะนั้นขณะที่เป็นอรหัตตมรรคเป็นศีลอะไร (กุศลศีล) เป็นอัพยากตศีลได้ไหม (ไม่ได้) และอรหัตตผลเป็นศีลอะไร (อัพยากตศีล) ใช่ การเข้าใจไม่ใช่เพียงตามคำแต่พิจารณาตาม ถูกต้องไหม เปลี่ยนไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้จึงมีกุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีลของพระอรหันต์ที่ประพฤติเป็นไปหลังจากตรัสรู้แล้วไม่มีอกุศลอีก และกุศลก็ไม่สามารถเป็นเหตุหรือปัจจัยให้เกิดผลใดๆ เพราะหมดมูลรากคืออวิชชาและอกุศลทุกประการจึงไม่สามารถให้ผลอะไรได้อีก เป็นเพียงกิริยาจิตของพระอรหันต์ที่ประพฤติเป็นไป ชัดเจนไหมเดี๋ยวนี้ ลืมได้ไหม (ยังลืมได้) ทำไม (เพราะว่าความเข้าใจยังไม่ชัดเจน แต่จะต้องถามอีก) ด้วยเหตุนี้จึงมีการสนทนาธรรมเพื่อให้ไม่ลืมความจริง เพื่อมั่นคงเพิ่มขึ้นในลักษณะของสภาพธรรม เพื่อละความคิดที่เป็นเราเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเป็นใครทีละเล็กทีละน้อย

- (คุณสุคิน - สิ่งหนึ่งที่สำคัญวันนี้คือ คุณโซฮานได้เข้าใจความหมายของศีลใหม่อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น เพราะว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าศีลคือกุศลศีลเท่านั้นและเข้าใจว่าศีลเป็นการกระทำหรือเว้นไม่กระทำทางกายทางวาจาและนั่นเป็นเพียงการคิดถึงเรื่องราวเป็นเหตุการณ์แต่ไม่มีความเข้าใจ แต่ตอนนี้มีความเข้าใจศีลเพิ่มขึ้นและศีลมี ๓ ประเภท กุศลศีล อกุศลศีลและอัพยากตศีล ตอนนี้ก็เพิ่มความเข้าใจขึ้นเมื่อกล่าวถึงศีล ๕ ว่าหมายถึงอะไร ถูกไหม)

- เพราะฉะนั้นศีล ๕​ เป็นกุศลไหม เว้นจากการฆ่า ฯลฯ (เป็นกุศลศีล) สำหรับใคร (สำหรับเรา) และพระอรหันต์เป็นศีลอะไร (อัพยากตศีล) อัพยากตศีลเห็นไหมการกระทำอย่างเดียวกันแต่จิตต่างกัน ด้วยเหตุนี้ทั้งหมดเป็นธรรมไม่ใช่ใครทั้งสิ้น ศึกษาเพื่อเข้าใจขึ้นเพื่อค่อยๆ คลายความคิดว่าเป็นเราเพราะสะสมความเห็นผิดมามากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นความเข้าใจธรรมขณะนี้ตามความเป็นจริงทีละเล็กทีละน้อยเพื่อที่จะเข้าใจว่า ไม่มีใคร ไม่มีเรา ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้น มีเพียงสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับทีละขณะแต่ไม่รู้

- เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังมีข้อสงสัยเรื่องศีลไหม ศึกษาในพระไตรปิฎกเพิ่ม ตอนนี้เป็นศีลประเภทไหน คุณมีศีลกี่ประเภท (อกุศลศีล กุศลศีล) ถูกต้อง และความเข้าใจถูกเริ่มรู้ว่าศีลเป็นศีลไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น แต่ปัญญาเห็นโทษของอกุศลเพราะไม่สามารถเข้าใจความจริงได้ ด้วยเหตุนี้บารมีต่างๆ จึงมีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ขณะที่เป็นอกุศลไม่สามารถเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีได้

- เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นกุศลศีลที่มีความเข้าใจเป็นพื้น ค่อยๆ อบรบเพิ่มขึ้นๆ เพื่อที่อวิชชาและอกุศลศีลจะน้อยลงๆ เพราะฉะนั้นกิริยาความประพฤติเป็นไปของผู้ที่เข้าใจธรรมจริงๆ จึงต่างจากผู้ที่ศึกษาเพียงคำแต่ยังไม่มีความเข้าใจความจริงแต่ละขณะทีละเล็กทีละน้อยไปตามลำดับขั้นจนกว่าจะละอกุศลทีละหนึ่งจนหมดสิ้นไปตามลำดับในที่สุด มีคำถามเรื่องศีลอีกไหม ทุกอย่างเป็นธรรม มีอะไรที่อยากเข้าใจหรือมีคำถามอะไรไหม มีความเห็นหรือมีข้อปัญหาอะไรไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- (คุณอาคิ่ล - ศีลสัมปทาคืออะไร) เราต้องเข้าใจทีละคำ สัมปทาคืออะไร (สัมปทาคือความถึงพร้อม) ตอนนี้หรือเมื่อไหร่ (ทำไมจะไม่ได้) ด้วยเหตุนี้แต่ละขณะเดี๋ยวนี้จึงเป็นหนทางไปสู่สัมปทาที่สมบูรณ์จนถึงระดับขั้นนั้นๆ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี ฯลฯ ตราบใดที่ยังไม่ถึงขั้นนั้นการอบรมเจริญปัญญาและกุศลทุกประการจะเป็นปัจจัยให้ถึงศีลสัมปทาต่อไป ศีลสัมปทาขอพระโสดาบันคือไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีการล่วงศีล ๕ อีกเลย

- เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ยังไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน ศีลเป็นอย่างไร มากหรือน้อย หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยด้วยความเข้าใจถูกที่เป็นปัจจัยให้เห็นโทษภัยของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยเพราะสะสมเป็นปัจจัยให้มีอกุศลเพิ่มขึ้นๆ อีกได้

- เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นความประพฤติของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นศีลอยู่ไม่ไกลเลยเมื่อมีความเข้าใจเพราะเป็นความประพฤติเป็นไปของจิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นอกุศลและเป็นกุศลไม่กี่ขณะเล็กน้อยมาก ตราบใดที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอรหันต์ จิตจะเป็นอัพยากตศีลไม่ได้

- เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังไม่มีความเข้าใจอกุศลว่า ความประพฤติเป็นไปเป็นอกุศลศีล เพราะฉะนั้นตอนนี้สามารถที่จะเข้าใจอะไรได้ทีละน้อยมากในระดับที่ต่างๆ กัน ด้วยเหตุนี้เราจึงศึกษาคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องศีลเพื่อเข้าใจความหมายของศีล เพื่อเข้าใจความจริงของศีลและเพื่อเข้าใจตามความเป็นจริงว่าทั้งหมดเป็นธรรมเพื่อปัจจัยตามการสะสมแต่ละขณะจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่งในสังสารวัฏฏ์ต่อๆ ไปไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ยังมีความไม่รู้และความติดข้อง

- (คุณอาคิ่ล - ส่วนใหญ่เราจะได้ยินปัญจศีล ศีล ๕ แต่มีศีลมากกว่านี้ไหม) มีเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ขณะนี้มีความเข้าใจศีลแต่ไม่ใช่ศีล ๕ เห็นไหม ศีลไม่ได้มีแค่ ๕ มีมากกว่านั้นขณะที่เป็นกุศล ขณะที่เข้าใจความจริงเป็นปัจจัยให้ไม่ฆ่า ไม่ล่วงศีล ๕ เมื่อมีความเข้าเพิ่มขึ้นในลักษณะที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งไม่ใช่ใครเลย แต่เมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เห็นว่าอกุศลเป็นโทษและไม่ใช่แค่ศีล ๕ หรือการกระทำที่ดีหรือไม่ดีก็ต้องได้รับผลไม่ในชาตินี้ก็ชาติต่อไป

- เพราะฉะนั้นความเป็นไปของจิตสำคัญมาก เมื่อเป็นอกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากไปเกิดในนรกได้ทันทีต่อจากขณะนี้ และขณะต่อไปจะลงนรกก็ได้หรือขึ้นไปสวรรค์ก็ได้หลังตาย เป็นความจริงอย่างยิ่งขณะต่อไปจะเป็นอะไรรู้ไม่ได้เลย และนี้คือความเข้าใจความเป็นอนัตตา แต่ละขณะเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ใครรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้ธรรมอะไรเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ เกิดแล้วโดยปัจจัย นึกคิด พูด เข้าใจ เข้าใจผิด โง่ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นไปตามปัจจัยไม่ใช่ใครเลย

- แต่การฟังความจริงสามารถที่จะเป็นปัจจัยให้เข้าใจความจริง ละความเห็นผิดและการประพฤติผิดซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง สิ่งที่มีที่กำลังเป็นปัญหาของโลกคือความไม่รู้และความติดข้องและโลกจริงๆ คือเดี๋ยวนี้ตรงนี้ใกล้ที่สุด สภาพธรรมที่อยู่ใกล้ที่สุดคือเดี๋ยวนี้

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เป็นศีลประเภทไหน กุศลหรืออกุศล (คุณอาคิ่ล - ขณะที่เรากำลังฟังธรรมเป็นกุศลศีลแต่ไม่รู้) ใช่ เพราะฉะนั้นจึงฟังความจริงจากผู้ที่ทรงตรัสรู้และจากผู้ที่ตรัสรู้แล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำว่า “พุทธ” ไม่ได้หมายถึงความเข้าใจถูกในขั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่การประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ การฟังเรื่องจิต แต่ไม่ได้ประจักษ์แจ้งจิต ขณะที่ประจักษ์แจ้งต่างจากความเข้าใจถูกในขั้นอื่นๆ มาก จนกว่าจะถึงความเป็น “พุทธ” เป็นการเข้าใจความจริงที่ถูกปกปิดไว้จากแต่ละขณะจากแต่ละชาติต่อๆ ไป

- เพราะฉะนั้นเข้าใจความหมายของ “พุทธ” ที่ไม่ใช่เพียงแค่คิดว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ความรู้ต้องมากกว่านั้นมากและถ้าไม่มีความเข้าใจในประโยชน์ของความเข้าใจถูกก็ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความไม่รู้และความติดข้องเหมือนที่แล้วมาตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีความเข้าใจความจริงที่เป็นปรมัตถ์ และผู้ที่ประจักษ์แจ้งคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระมหากรุณา ไม่มีใครเห็นโทษภัยของอกุศลและไม่เห็นประโยชน์ของกุศลด้วยเหตุนี้จึงมีความประพฤติเป็นไปที่เป็นอกุศลศีล

- เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการเข้าใจความจริงคือ เข้าใจปรมัตถธรรม อกุศลเป็นอกุศล และเป็นปัจจัยที่เป็นภัยให้เกิดผล ทุกคนปรารถนาที่จะได้ผลที่ดีมากๆ แต่ว่ามีเหตุอะไรที่จะให้เป็นไปอย่างนั้นไหม ด้วยเหตุนี้จึงฟังแล้วฟังอีกเพื่อเข้าใจว่าสิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นเพียงกุศล อกุศล วิบาก กิริยาในแต่ละวันในแต่ละขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- (คุณสุคิน - กุศลเป็นเรา อกุศลเป็นเรา วิบากเป็นเรา แต่สงสัยว่า กิริยาเป็นเราได้ไหมเพราะไม่ปรากฏเลย) ตอนนี้มีเรานั่งไหม แม้ไม่ได้ปรากฏ (แต่เกิดหลังเห็น) กำลังนั่ง เดี๋ยวนี้เรากำลังนั่งหรือเปล่า (ใช่ ไม่มีความเข้าใจ)

- หลังเห็นเป็นวิถีจิตอะไร (คุณสุคิน - จากการศึกษารู้ว่า วิถีจิตทางตามีหลายจิต) แต่เท่าที่สามารถรู้ได้คือเป็นกุศลหรืออกุศล ถูกต้องไหม (และเห็นได้ยินก็ยึดว่าเป็นเราตลอดเวลา) เพราะฉะนั้นศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงทีละน้อยแม้ไม่ปรากฏแต่ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีปัจจัยเช่น เห็น (ใช่ๆ เพราะถ้าไม่มีปัญจทวาราวัชชนะ ไม่มีมโนทวาราวัชชนะ ก็ไม่มีอะไรปรากฏได้)

- เพราะฉะนั้นตอนนี้อาสวะมีแล้วใช่ไหม อวิชชาสวะ (ใช่) ด้วยเหตุนี้นี้คือหนทางที่จะเห็นโทษภัยของอกุศลจากที่บางเบามากจนถึงขึ้นปรากฏให้เห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี (และกรรมเหล่านั้นต้องมีความเข้าใจด้วย ถ้าไม่มีความเข้าใจที่สูงขึ้นกว่านั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจว่า กรรมนั้นก็ไม่ใช่เรา มิฉะนั้นก็จะเป็นเราที่ทำนั้นทำนี่ตลอดเวลา)

- เพราะฉะนั้นหลังจากที่ได้ฟังพระธรรมคำสอนได้ฟังความจริงของธรรม ความเข้าใจถูกในสิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นเราเริ่มที่จะเข้าใจว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมในขณะนี้ ยกตัวอย่างเช่น ตามปกติขณะที่เห็นต้องมีความคิดว่าเป็นเราแทรกอยู่ มีความคิดว่าเราเห็น ต้องมีความติดข้องซ่อนอยู่แน่นอน

- ด้วยเหตุนี้จึงมีเพียงคำสอนของผู้ที่ตรัสรู้แล้วเท่านั้นที่จะช่วยให้เข้าใจว่าเป็นธรรมที่ยึดว่าเป็นเรา ศึกษาธรรมเข้าใจว่าอะไรเป็นเราเพราะว่าไม่มีเราแต่เป็นธรรม เพื่อที่จะเข้าใจว่ามีกุศลเท่าไหร่ มีอกุศลเท่าไหร่เดี๋ยวนี้ที่ไม่ใช่ขณะอื่น ไม่ดีหรือที่ได้เข้าใจว่า สิ่งที่มีนั้นไม่ใช่เราอย่างที่เคยยึดถือว่าเป็นเรามานานแสนนาน ศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจเพื่อรู้จักตนเองเป็นขณะที่มีค่าอย่างยิ่งเพราะว่าจะไม่มีทางเข้าใจสิ่งที่ยึดว่าเป็นเราเลยถ้าไม่ได้ยินได้ฟังธรรมเพราะตัวจริงของธรรมอยู่ตรงนี้ใกล้ที่สุด

- ที่มาของโลก ที่มาของทุกอย่างที่จะมีต่อไปจนไปถึงชาติหน้า ต้องมีปัจจัยและสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ในชาตินี้เป็นปัจจัยให้มีการเกิด ฯลฯ ที่จะเป็นกุศล เป็นอกุศล กุศลเกิดเล็กน้อยแค่ไหนและอกุศลมีมากแค่ไหน ทั้งหมดคือเดี๋ยวนี้ตรงนี้ใกล้ที่สุดที่ควรได้เข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจอะไรเลยถ้าเราคิดถึงแต่สิ่งที่ไกลออกไป คิดถึงคนอื่น และอันธพาลปุถุชนคือผู้ที่เพ่งแต่โทษของคนอื่น ไม่มีความเข้าใจว่าขณะนั้นเป็นจิตอะไรเดี๋ยวนี้ไม่ไกลเลย ดีที่สุดคือเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมีที่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสุนัข เป็นแมว เห็นไหม ทั้งหมดเป็นธรรม

- (คุณสุคิน - กำลังคิดถึงอันธพาลปุถุชนเป็นขณะที่มองเห็นแต่ความผิดของคนอื่นเท่านั้นหรือว่าเป็นไปในอกุศลอย่างอื่นด้วย) ตอนนั้นเป็นใครขณะนั้น อกุศลจิต ไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นที่ยึดว่าเป็นเราเป็นอกุศลจิตไหม) แต่หลังเห็นก็มีความติดข้องเกิดขึ้น ถือว่าเป็นพาลไหม ติดข้องในสิ่งนี้สิ่งนั้น)

- เพราะฉะนั้นพาลหมายถึงอะไร (คือผู้ที่คิดถึงความผิดของคนอื่น) ดิฉันหมายถึงพาลคือ คนไม่ดีเป็นอกุศลเป็นพาล พาลคือขณะที่ไม่มีความเข้าใจยึดว่าเป็นเราและมองเห็นแต่ความผิดของคนอื่น (เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจความจริงเป็นพาลไหม) ไม่เป็นหรือ (ยังสงสัยตรงนั้นเพราะคิดว่า แค่คิดถึงอกุศลขอคนอื่นแต่ไม่ได้คิดถึงอกุศลของตัวเองเท่านั้นที่เป็นพาล) อกุศลทุกอย่างแต่เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่ลืมเสมอคือเป็นเราแต่ไม่เคยเห็นว่าเป็นโทษเลยและเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก

- ใครรู้โทษของตนเอง (คุณสุคิน - ไม่มีใคร มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่รู้) ถูกต้องๆ ทันทีที่เราคิดถึงคนอื่นขณะนั้นด้วยจิตอะไร ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่มีเลย ไม่มีใครในโลกเลยแต่สิ่งที่เป็นคนมากมายคือความคิดต่างๆ แต่ต้องมีสิ่งที่ยึดว่าเป็นเราเมื่อไม่มีความเข้าใจในขณะนั้น เพราะฉะนั้นพาลคือผู้ที่ไม่เข้าใจความจริงและผู้ที่มืดบอดคืออันธพาล มืดบอดจนไม่สนใจสิ่งที่ทรงแสดงเลย และนี้คือประโยชน์ของการฟังคำสอนเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ใกล้ที่สุด มิฉะนั้นเป็นเพียงความเข้าใจคำเข้าใจเรื่องแต่ไม่เข้าใจในสิ่งที่กำลังมีเพื่อที่จะเข้าใจว่า ไม่มีเรา ไม่มีฉัน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมเพื่ออะไร (เพื่อเข้าใจความจริง) แค่นั้นหรือ และเพราะอะไร ทำไมถึงต้องการเข้าใจธรรม (เพราะความไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจและสิ่งที่ผิดทุกอย่างก็ยังคงผิดต่อๆ ไป) ไม่ใช่เพื่อได้ แต่เพื่อละความไม่รู้ ความติดข้องและอกุศลทุกประการ และเมื่อถึงเวลาก็ละอกุศลจนถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าปราศจากจุดประสงค์ที่ชัดเจนการศึกษาก็ไร้ประโยชน์ (แต่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนใครได้ต้องเป็นการสะสมของผู้นั้นเองเท่านั้น) ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มีตนเป็นที่พึ่ง

- (คุณแอน - ยังไม่เข้าใจพาล การไม่เข้าใจความจริง ตนเท่านั้นที่จะรู้ด้วยตนเอง เช่น กิเลสที่เกิดขึ้นกับตนเอง ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกไหม) (คุณสุคิน - วันนี้เราสนทนากันในบริบทของศีล ท่านอาจารย์พูดถึงคนพาลหมายถึงการกระทำที่ไม่ดีเป็นอกุศลศีล เช่น การเห็นแต่ความผิดของคนอื่นด้วยอกุศล) (คุณแอน - การไม่รู้อกุศลของตนเองก็เป็นพาล) (คุณสุคิน - ใช่ การไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงก็เป็นพาล และอกุศลก็มีหลายระดับ ความไม่รู้ ความติดข้อง และอกุศลในระดับที่คิดถึงแต่อกุศลขอคนอื่น)

- (คุณอัลแบร์โต - การคิดว่ามีคนอื่นก็เป็นความโง่แล้ว) (คุณสุคิน - ใช่ และที่รู้อย่างนี้ได้ต้องมาจากการได้ฟังธรรม เรากำลังนั่ง เราคิด ฯลฯ ) (คุณอัลแบร์โต - แม้แต่ยังไม่คิดถึงอะไรเลย ความคิดว่าเป็นคนอย่างที่สนทนากันตอนนี้ ความคิดนี้ก็โง่) (คุณสุคิน - โง่คือโง่ เมื่ออาสวะไหลมาก็โง่แล้ว คุณอัลแบร์โตบอกว่าพาลคือโง่)

- (คุณอาช่า - อธิศีลคืออะไร) มากกว่าศีล ๕ และมีความเข้าใจถูกด้วยเพราะว่าศีลคือความประพฤติที่เป็นกุศลที่ไม่ใช่เฉพาะทางกายทางวาจาแต่เข้าใจความจริงด้วย เป็นอธิศีลเพราะมีปัญญาเข้าใจความจริงในขณะที่เป็นไปในความประพฤติที่ดีงาม เพราะฉะนั้นมีความหมายที่กว้างมาก เช่น พาลตรงข้ามกับกัลญาณและกัลญาณไม่เท่ากับพาลปุถุชน แต่ผู้ที่สนใจที่จะเข้าใจความจริงและประพฤติดีขึ้นๆ เพราะเข้าใจความจริงเป็นอีกคำหนึ่งของคำว่ากุศลอกุศลเท่านั้นเอง

- เพราะฉะนั้นขณะที่ได้ฟังความจริงสามารถที่จะเข้าใจด้วยตนเองว่าโง่หรือฉลาด เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้นเมื่อเรากล่าวถึงชีวิตขณะไหนก็ตามที่เป็นพาลคือขณะที่เป็นอกุศลไม่มีความเข้าใจเลย ดังนั้นจึงมืดมิดและหนาทึบด้วยความไม่รู้ “อันธพาล” และสำหรับผู้ฉลาดเริ่มที่จะฉลาดเมื่อมีความเข้าใจความจริงและเป็นปัจจัยให้มีความประพฤติที่ดีงามเพิ่มขึ้นๆ เป็น “กัลญาณปุถุชน” ผู้ซึ่งเข้าใจธรรม ผู้ซึ่งฟังความจริงซึ่งต่างจากกัลญาณคือผู้ที่ทำความดี ประพฤติดีงามมากแต่ไม่เข้าใจธรรม หลากหลายมากไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล พาลมีกำลังหรือกัลญาณมีกำลังที่จะเข้าใจความจริงเพิ่มขึ้นๆ

- ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์แจ้งไม่ตรัสรู้ความจริงต้องเป็นกัลญาณไปทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งถึงความเป็นพระโสดาบัน เพียงสนทนาถึงกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ขยายความหมายถึงแต่ละขณะในชีวิตที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแล้วดับไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ความเข้าใจเช่นนี้เป็นกัลญาณปุถุชน ไม่เข้าใจก็เป็นพาลปุถุชน และประพฤติตามความเข้าใจถูกทีละน้อยต่างจากไม่มีความเข้าใจ เริ่มเข้าใจ และเริ่มตามความจริงที่เป็นกุศล ฯลฯ

- (คุณสุคิน - สงสัยเรื่องความเป็นกัลญาณ) สะสมไปจนกว่าจะเป็นอธิศีลที่เข้าใจในหนทาง (เพราะฉะนั้นหมายถึงความไม่รู้แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นความเห็นผิดใช่ไหม) ทุกคนที่แตกต่างกันด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันโดยที่ไม่มีความเข้าใจเลย เริ่มที่จะเข้าใจอบรมความเข้าใจเพื่อที่จะพาลน้อยลงๆ และเป็นศีลจนกว่าจะถึงอธิศีลคือหนทางถึงการตรัสรู้เพราะเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นขณะที่เข้าใจเป็นศีลแต่เป็นอธิศีลเพราะสามารถประจักษ์แจ้งความจริง ไม่ใช่แค่ศีล ๕ เพียงเข้าใจหนทางในขั้นฟังแต่สติปัฏฐานไม่เกิดก็ไม่ใช่อธิศีล

- (คุณสุคิน - ใช้คำว่าอธิหมายถึงปัญญาที่ทำให้บริสุทธิ์ ถูกต้องไหม) เมื่อไม่มีสติปัฏฐานไม่ใช่อธิศีลเพราะศีลเป็นกุศลธรรม กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล เพราะฉะนั้นจะเป็นอธิศีลขณะที่เป็นสติปัฏฐาน

- (คุณสุคิน - ขณะนั้นปัญญาในระดับนั้นทำให้ศีลบริสุทธิ์ แต่ความหมายของอธิคืออะไร) เพราะฉะนั้นเมื่อไม่เป็นสติปัฏฐานก็ไม่ใช่อธิศีล ไม่มีความเข้าใจในขั้นนั้นที่จะประพฤติเป็นไปในระดับนั้นที่มีความเข้าใจในสิ่งที่มีในขณะนั้นพร้อมสติ

- (คุณสุคิน - เพราะฉะนั้นหมายถึงศีลในระดับที่ต่างกันใช่ไหม) เพราะว่าเรากำลังสนทนาเรื่องกุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีลต้องสอดคล้องกันตลอด เมื่อไม่ใช่ขณะที่เป็นสติปัฏฐานก็เป็นเพียงกุศลศีลไม่ใช่อธิศีลไม่ว่าจะเป็นกุศลที่มากมายขนาดไหนก็ตาม ถ้าปราศจากสติปัฏฐานแล้วจะเป็นระดับที่เป็นอธิศีลได้ไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- (คุณสุคิน - ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า อธิศีลหมายถึงศีลที่ประกอบด้วยปัญญา เริ่มต้นที่ความเข้าใจตรงลักษณะของสภาพธรรมซึ่งก็คือสติปัฏฐาน ถูกไหม) เป็นขั้นสติปัฏฐาน (ตอนแรกอธิบายกับคุณอาช่าว่า อธิศีลเป็นขั้นที่สูงกว่าสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาญาณ อย่างนั้นได้ไหม) ถ้าไม่มีสติปัฏฐาน ความรู้จะไปถึงขั้นนั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณได้ไหม ด้วยเหตุนี้แม้วิปัสสนาก็ยังมีวิปัสสนาที่ไม่มีกำลังมากเช่นเดียวกับ ญาณ ๓ เป็นตรุณวิปัสสนา

- (ได้อธิบายต่อไปว่า อธิศีลสมบูรณ์พร้อมเมื่อถึงความเป็นพระโสดาบัน อธิบายถูกไหม) เพราะฉะนั้นอธิศีลเกิดกับความเข้าใจถูกในระดับที่ต่างๆ กัน (คุณสุคิน - อาคิ่ลพูดถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จะเข้าใจคำว่าอธิอย่างไรในนัยนั้น) ขึ้นอยู่กับระดับขั้นจึงใช้คำต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น อินทรีย์ที่เป็นปัญญาในขั้นโลกุตตรตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตตมรรคเป็นปัญญาต่างระดับกันในความเป็นอินทรีย์ก็ใช้คำเรียกต่างกันสำหรับอรหัตตผลก็เรียกอีกคำหนึ่งไม่ใช่ขั้นเดียวกันแต่ทั้งหมดเป็นอธิศีล อธิปัญญา อธิจิต

- เพราะฉะนั้นขณะนี้มีความเข้าใจในหนทางว่า ยังไม่ใช่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และแม้อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาก็มีความต่างกันขึ้นอยู่กับระดับของปัญญาในวิปัสสนาญาณ แม้ขณะที่เป็นสติปัฏฐานก็ต่างกันมากกับกุศลศีลประเภทอื่นๆ และอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาในขั้นที่สูงขึ้นๆ มีกำลังเพิ่มขึ้นๆ ก็ต่างกันในความเป็นอินทรีย์ในขั้นของการตรัสรู้ ๓ ระดับ

- (คุณสุคิน - ลืมไปว่าเราเริ่มต้นการสนทนาวันนี้ด้วยคำว่า ศีล และศีลก็คือความประพฤติเป็นไปของจิตและเจตสิก ความเข้าใจอย่างนั้นทำให้ตอนนี้เข้าใจอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาชัดเจนขึ้น)

- (คุณอัลแบร์โต - อธิจิตคือสมาธิเหมือนในศีล สมาธิ ปัญญา) (คุณสุคิน - ใช่ เหมือนพระอนาคามีผู้ดับความยินดีพอในในกามแต่นั่นก็เป็นศีลเป็นอธิศีลในขั้นที่สูงกว่าพระโสดาบัน และอธิศีลของพระอรหันต์ก็สูงกว่าของพระอนาคามี เข้าใจอย่างนั้น)

- (คุณอาคิ่ล - ท่านอาจารย์กล่าวว่า เป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเมื่อเป็นสติปัฏฐาน ช่วยอธิบายตรงนี้เพิ่มได้ไหม) (คุณสุคิน - คิดว่าจุดประสงค์ของท่านอาจารย์คือให้ทราบว่าเดี๋ยวนี้ยังไม่ใช่อธิ ตราบใดที่ยังไม่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ยังอบรมความเข้าใจในขั้นปริยัติก็ยังไม่ใช่อธิศีล ตอนนี้เป็นศีลเป็นกุศลศีลแต่ไม่ใช่อธิศีล อธิศีลเริ่มต้นที่การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมเป็นสติปัฏฐาน) (คุณอาคิ่ล - เป็นโลกุตตร) (ไม่ใช่ๆ สติปัฏฐาน เช่น เข้าใจเห็นเดี๋ยวนี้ คิดนึกเดี๋ยวนี้ เชิญท่านอาจารย์)

- สติปัฏฐานคือจุดเริ่มต้นของอธิศีล ไม่ว่าเราจะพูดเรื่องเห็นมากขนาดไหนก็ยังห่างไกลมากๆ จากความเข้าใจเห็นที่จะเริ่มระลึกรู้เพียงเห็นว่าเห็นเป็นเห็นเท่านั้น (คุณแอน - คิดว่าจุดประสงค์เริ่มต้นในจากการฟังก็คือ เข้าใจความละเอียดความลึกซึ้งในขั้นต่างๆ ของศีลและปัญญา) เพราะฉะนั้นมีจริงๆ ไม่ใช่แค่ขั้นความเข้าใจจากการฟังแต่ความละเอียดและลึกซึ้งแค่ไหนเพราะฉะนั้นจึงเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

- (คุณแอน - จึงเริ่มด้วยความเข้าใจตรงลักษณะของสภาพธรรมไปจนถึงที่สูงขึ้นถึงญาณต่างๆ จนกระทั่งประจักษ์แจ้ง) ใช่ค่ะ ลึกซึ้งมากแค่ไหน (ลึกซึ้งมากกว่าที่ใครจะคิดได้และมั่นใจว่าจะยิ่งลึกซึ้งมากกว่านี้อีกเมื่อความเข้าใจเจริญขึ้น)

- (คุณสุคิน -โดยความละเอียดแล้ว ธรรมทุกประการละเอียดทั้งหมดและเมื่อมีความเข้าใจถูกความลึกซึ้งก็จะยิ่งชัดเจนขึ้น) แต่เราศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงและเมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นและนี้คือหนทางเดียวที่จะคลายความติดข้องและความไม่รู้ มิฉะนั้นก็จะติดตามไปตลอด

- และต้องเดี๋ยวนี้ไม่ว่าอะไรที่มีปัจจัยให้เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้เป็นสภาพธรรมทุกอย่างในชีวิตที่ไม่เคยรู้ไม่เคยประจักษ์แจ้งมาก่อน ความเข้าใจที่ยิ่งขึ้นคือความเข้าใจในความเป็นอนัตตาของสิ่งที่กำลังมีแต่ถูกปกปิดไว้ แต่ละขณะเป็นอนัตตาเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่มีใครสามารถทำให้เกิดได้ แต่ละขณะไม่เหมือนกันเลยเพราะเกิดขึ้นครั้งเดียวในสังสารวัฏฏ์

- (คุณสุคิน - นี้คือหนึ่งตัวอย่างของอนัตตา มีความเข้าใจบ้างแต่ลึกซึ้งกว่านั้นมาก) เพราะฉะนั้นไม่สงสัยว่ามีอธิศีล อธิจิตและอธิปัญญาที่ไม่ใช่ความเข้าใจในขั้นการฟัง (คุณอาคิ่ล - เข้าใจแบบนี้ได้ไหมว่า เมื่อถึงศีลสัมปทาก็เป็นอธิศีลด้วย) ไม่ใช่ในขณะที่อ่านแต่เป็นการเริ่มที่จะเข้าใจความต่างระหว่างศีลกับอธิศีล (คุณสุคิน - ประเด็นคือแม้เดี๋ยวนี้กำลังคิดถึงศีล อธิศีล ศีลสัมปทาก็ไม่ใช่ศีล อธิศีล ศีลสัมปทา)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prinwut
วันที่ 3 มี.ค. 2568

- เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เข้าใจความหมายของคำ แต่เข้าใจความจริงของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นเป็นความเข้าใจอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มจากการอบรมความเข้าใจเดี๋ยวนี้ ยังไม่เป็นอธิศีลแต่เข้าใจความต่างว่าขณะใดเป็นอธิศีล ไม่สามารถที่จะเป็นอธิศีลได้เลยถ้าปราศจากความรู้ความเข้าใจในขั้นปริยัติที่ละเอียดรอบคอบชัดเจนอย่างยิ่งจนไม่สงสัยว่าขณะใดเป็นสติปัฏฐาน เมื่อสติปัฏฐานไม่เกิด จะมีความเข้าใจสติในขณะนั้นได้อย่างไรว่าเป็นสติปัฏฐาน

- เพราะว่าเดี๋ยวนี้ขณะที่เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังมีสติแต่ไม่ใช่สติปัฏฐานดังนั้นไม่สามารถที่จะเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาได้เลย ต่อเมื่อใดสติปัฏฐานเกิดขึ้นเมื่อนั้นไม่สงสัยว่าอะไรเป็นสติปัฏฐาน เพราะว่ากำลังมีให้รู้ได้ขณะนั้นทันทีโดยอนัตตาตามเหตุตามปัจจัยของสภาพธรรมที่ต้องรู้แจ้ง เพราะว่าขณะนั้นไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่ใครทั้งสิ้น มีแต่แข็ง มีแต่สิ่งที่กระทบตา ไม่มีใคร ไม่มีอะไรทั้งสิ้นไม่เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาก่อนทีละน้อยๆ

- และนั้นคือหนทางในการอบรมอธิศีลพร้อมด้วยปัญญาในขั้นที่ต่างจากปัญญาในขั้นฟัง และแม้ปฏิปัตติก็ไม่ใช่ปฏิเวธเพราะเป็นแค่เพียงเริ่มที่จะระลึกรู้สั้นๆ จากการฟัง การพิจารณาจนกระทั่งเป็นปัจจัยให้ถึงขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏที่ต้องศึกษาเพื่อที่จะประจักษ์แจ้งความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่เพียง ๑ ขันธ์ ไม่ใช่เพียง ๒ ขันธ์แต่เป็นสภาพธรรมทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าใจสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันเพราะว่ามีจริงๆ เดี๋ยวนี้ตามที่ได้ศึกษา

- แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะ “ถึงเฉพาะ“ ด้วยความเข้าใจที่ตรงต่อความจริงว่า มีแข็งเท่านั้นในขณะนั้นไม่มีอะไรอย่างอื่นเลย เพราะเป็นขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยไม่เลือกตามเหตุตามปัจจัย จะเป็นอะไรก็ได้ จะเป็นลมหายใจ ฯลฯ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าอะไรจะเป็นอารมณ์ให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้ นั่นคือความเป็นอนัตตา เป็นความเข้าใจความเป็นอนัตตาทีละน้อยๆ จนกระทั่งเป็นอนัตตาไม่มีใครทั้งสิ้นไม่ว่าอะไรที่มีในขณะนั้น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญาไม่ใช่เพียงความเข้าใจในขั้นฟังในขั้นทฤษฎี

- (คุณแอน - มีอธิสัญญาด้วยไหม) เราต้องจัดประเภทไหมในเมื่อเขาเกิดพร้อมกัน (ไม่ต้อง) เพราะว่าแม้แต่สัญญาที่เกิดพร้อมสติก็รู้อารมณ์ขณะนั้นทำเครื่องหมายที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏที่สติระลึกรู้ และศีลก็หมายรวมทุกอย่างทั้งที่เป็นกุศลเป็นกุศลศีล อกุศลเป็นอกุศลศีล ฯลฯ (เป็นความประพฤติเป็นไปของจิตเป็นศีล) พร้อมกับเจตสิกเพราะฉะนั้นเมื่อความเข้าใจถูกเกิดขึ้นเข้าใจ สัญญาหมายรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่เคยจำได้หมายรู้มาก่อนว่าเป็นธรรมเพียง ๑ ธรรมเท่านั้น (คุณแอน - ท่านอาจารย์พูดว่าที่ไม่เคยจำมาก่อน) ​ ไม่ใช่เราเป็นสัญญาที่หมายรู้ไม่ใช่เรา

- (คุณสุคิน - ยกตัวอย่างเช่น จนถึงตอนนี้มีแต่อัตตสัญญาไม่มีอนัตตสัญญา)

- (คุณแอน - เมื่อถึงขณะที่เป็นสติปัฏฐานไม่ใช่อัตตสัญญา)

- (คุณสุคิน - ไม่ใช่อัตตสัญญาแต่ก็ไม่เหมือนขั้นวิปัสสนา และในขั้นมรรคก็ต่างระดับกัน)

- เพราะฉะนั้นสติปัฏฐานในขั้นเริ่มต้นนั้นอ่อนมาก ไม่มากเท่ากับเมื่อได้มีการอบรมเพิ่มขึ้น และก่อนหน้านั้นก็มีการอบรมแต่ละขณะๆ ไป เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ถ้าไม่มีความเข้าใจ ใครจะรู้ว่าเป็นอธิศีลหรือเป็นแค่ศีล (ไม่สามารถรู้ได้ถามไม่มีปัญญา) ถูกต้อง

- (คุณสุคิน - เราพูดไม่ได้ใช่ไหมว่าความรู้ในขั้นปริยัติเป็นการเริ่มอธิศีล) ไม่ได้ ไม่ได้ (คำว่าอธิใช้กับความเข้าใจระดับนั้นไม่ได้) เพราะว่าจะเป็นอธิไม่ได้เลยเมื่อไม่มีความเข้าใจความจริง (ไม่ใช่การรู้ตรงธรรมเป็นแค่การคิดถึงเรื่องธรรม)

- (คุณแอน - ความเข้าใจในขั้นเรื่องราวของธรรมไม่ใช่ความเข้าใจตรงลักษณะของสภาพธรรมอย่างแน่นอน)

- (คุณสุคิน - ถ้าไม่มีปริยัติก็ไม่สามารถมีปฏิปัตติ อันนี้เข้าใจได้แต่ในบริบทที่ต่างกัน ในประเด็นของศีล ปริยัติไม่ใช่อธิศีลแน่นอน)

- (คุณแอน - จำเป็นต้องเป็นปริยัติก่อนมิฉะนั้นไม่มีทางที่จะถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมได้ ดังนั้นปริยัตติจึงจำเป็นและสำคัญมาก)

- (คุณสุคิน - ขอความหมายขอคำว่า ปรามาส ในสีลัพพตปรามาส)

- ภาษาไทย ลูบคลำข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด ยกตัวอย่าง ถ้าจงใจตั้งใจจะรู้ คิดว่าเป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า (ไม่เป็น) นั่นแหละสีลัพพตปรามาส (คุณอาช่าถามความหมายของคำว่า ปรามาส) ลูบคลำประพฤติปฏิบัติ

- เข้าใจแล้วใช่ไหม ประพฤติปฏิบัติตามที่เข้าใจผิด ใหญ่ๆ ตั้งแต่บูชาไฟจนกระทั่งถึงเล็กๆ น้อยๆ แม้เข้าใจแล้วก็ยังจงใจหรือตั้งใจที่จะทำวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 5 มี.ค. 2568

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ