ต้องใส่ใจให้ดีทุกคำ_สนทนาธรรมไทย-ฮินดี วันเสาร์ทึ่ ๕ เมษายน ๒๕๖๘
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ ทีแรกคำถามของอาช่าเหมือนว่า จะใช้คำว่า object และก็คือปนกันเรื่องว่าเป็นอารมณ์กับเรื่องว่า รูปขณะหนึ่งเกิดดับ มีจิตเกิดดับกี่ขณะ เลยให้เขาเข้าใจว่า ที่จะพูดว่า อารมณ์นี่มีความหมายอันหนี่ง แล้วก็จะพูดว่า รูป มีชีวิตเทียบกับจิตและเจตสิก นานแค่ไหน ยาวแค่ไหน นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เลยพูดกันให้เขาเข้าใจก่อนว่าถามเรื่องอารมณ์ เพราะว่า อารมณ์ของจิตจะเป็นรูปก็ได้นามก็ได้ เป็นบัญญัติก็ได้ เพราะฉะนั้น นั่น คืออีกเรื่องหนึ่งครับ และก็ถามเรื่องรูปว่า รูปเมื่อเทียบกับจิต เคยได้ยินว่า รูป มีอายุยาวกว่าจิตและเจตสิก ๑๗ ขณะ จะเป็นคำถามนั้น จะเป็นเรื่องนั้นหรือว่าอย่างไร เขาสุดท้ายก็ถามว่า ความจริงเขาถามอยากจะแน่ใจว่า เขาสามารถตอบถูกได้ เพราะตอบผิดมันก็ไม่ดี
คำถามเขาก็คือ ตรงนี้ครับว่า อยากจะแน่ใจว่า เขาสามารถจะตอบถูกได้ เพราะว่า ตอบผิดแล้วมันไม่ดี คำถามเขาก็คือตรงนี้ครับว่า ที่พูดๆ กันโดยเฉพาะระยะหลังนี่ พูดกันว่า จิต กับ รูปเกิดกระทบกับปสาทรูป ตอนนั้นจิตยังเป็นภวังค์อยู่ เริ่มจากอตีตภวังค์ และต่อๆ มา และก็รูปดับจนจิตเกิดหลังจากนั้นอีก ๑๖ ขณะ ความหมายตรงนี้เป็นอย่างไร ขอท่านอาจารย์พูดเรื่องนี้หน่อยครับ
ท่านอาจารย์: เป็นสิ่งที่ ประโยชน์อยู่ตรงไหน? ถามเขา
คุณสุคิน: คือตรงนี้ผมไม่ได้พูดไป เขาว่า เรื่องนี้ก็เป็นอยู่ทุกขณะของตอนนี้ เพราะฉะนั้น ควรจะเข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: เข้าใจทุกอย่าง แต่ต้องให้เขาคิด เพราะว่า เขาจะไปอีกไกลมาก ถ้าไม่รู้ว่า ประโยชน์จริงๆ นั้นคืออะไร เราตอบก็ได้ แล้วจะมีประโยชน์ไหม? ให้เขาเพ่งเล็งถึงประโยชน์จริงๆ ก่อน
คุณสุคิน: ครับ ได้ครับ
อาช่าสรุปว่า ในเมื่อมันเป็นความจริงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อยากจะเข้าใจ แน่นอนมันต้องเป็นประโยชน์ เพราะว่าตลอดเวลาก็มีการเห็น การได้ยิน ทั้งวัน ซึ่งหมายถึงมีจิตที่รู้รูปอยู่ทั้งวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจตรงนี้มากขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ครับ
ท่านอาจารย์: อยากรู้ว่า ประโยชน์ของเขาคืออะไร? นี่สำคัญที่สุดในการฟังธรรม ทุกคนเลย
อาช่า: เพราะว่า ทุกอย่างเป็นอย่างนี้ และเข้าใจเพื่อเพิ่มความรู้เพิ่มความเข้าใจว่า เป็นธรรม เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา แล้วความไม่รู้ และความติดข้องก็ลดลง
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่อยากรู้ละเอียด แต่รู้ว่า เมื่อรู้ละเอียดแล้ว เห็นความลึกซึ้ง จึงละความต้องการ และความไม่รู้
เพราะฉะนั้น ฟังดีๆ เพื่อที่จะรู้ความลึกซึ้ง
ก่อนเห็น มีรูปอะไรเกิดบ้าง?
อาช่า: ก่อนเห็น ก็ต้องมีรูปที่เกิด ไม่อย่างนั้นเห็นไม่เกิด
ท่านอาจารย์: ถามว่า ฟังดีๆ ๆ จะได้มีความลึกซึ้ง จะได้เข้าใจเพื่อละความติดข้อง
ก่อนเห็น รูปอะไรเกิดบ้าง?
อาช่า: ตรงนี้สารภาพว่า ความไม่รู้อยู่ตรงนี้ รู้ว่าจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ว่ารูปเกิดดับอยู่ตลอดหรือไม่ ตรงนี้ไม่เข้าใจค่ะ
ท่านอาจารย์: ฟังอย่างนี้ คิดอย่างนี้ เท่านี้จะมีประโยชน์อะไร? เห็นไหม ต้องเห็นประโยชน์แท้จริงของความลึกซึ้ง แล้วฟัง แล้วตรง เพื่อที่ได้ค่อยๆ เข้าใจในความลึกซึ้งขึ้น ไม่ใช่ต้องการคำตอบ เอาหนังสือมาตอบก็ได้
อาช่า: เข้าใจว่า ไม่สำคัญตรงที่ได้คำตอบ เช่นเปิดหนังสือแล้วได้คำตอบ แต่มาฟังเพื่อเข้าใจ ที่ฟังทำให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ตอนนี้ ประโยชน์จริงๆ อยู่ตรงนี้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ฟังดีๆ คิดจนกว่าจะตอบถูก ไม่ยากเกินไป แต่คุณอาช่าไม่เคยคิด
อาช่า: มีปสาทรูป และมีสีที่กระทบปสาทรูปค่ะ
ท่านอาจารย์: เห็นไหม ถ้าคิดจะเข้าใจขึ้นว่าต้องเป็นเหตุผล เป็นปัจจัย เป็นอะไรทุกอย่าง แต่ต้องมีความเข้าใจมั่นคง และละเอียด
จักขุปสาทรูปมีอายุเท่าไหร่?
อาช่า: ปสาทรูปมีอายุยาวกว่าจิต แต่ไม่รู้ว่าแค่ไหนค่ะ
ท่านอาจารย์: รูปทุกรูปที่เป็นสภาวรูป มีอายุเท่ากัน คือ ๑๗ ขณะจิต
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ ประเด็นที่ท่านอาจารย์ให้เราฟัง และให้พวกเราเข้าใจเรื่อยๆ แต่มันเป็นอุปนิสัยของพวกเราที่ความรู้น้อยมาก ความไม่รู้เยอะมาก พวกเราฟังไม่ค่อยดีครับ
ท่านอาจารย์: ดิฉันทราบ เพราะฉะนั้น ดิฉันรู้ว่า ความลึกซึ้งของธรรม ไม่มีใครคิดถึง รู้เผินๆ จำนวนเท่านั้นเอง ไม่ใช่การศึกษาเพื่อรู้ความจริง
ต้องปลูกฝังนิสัยที่จะดำรงพระศาสนา
คุณสุคิน: ครับ ไม่นั้นรู้ไปก็แค่นั้น
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ถ้าคิดอย่างนั้น คำสอนของใครก็ได้ จดไว้
ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ ไร้ประโยชน์
คุณสุคิน: ช่วงนี้ท่านอาจารย์ก็เน้นให้เราฟังมาก ก็เป็นประโยชน์มากครับ
ท่านอาจารย์: จะได้สะสมบารมี ต้องเข้าใจความลึกซึ้ง
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ อาช่าบอกว่า เขาไปฟังที่อื่นแล้วทำให้งง ผมบอกว่าเท่ากับคุณเองไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เลยงง ถ้าคุณเข้าใจก็รู้ว่าคนพูดนั้นผิด คุณก็จะไม่สนใจที่จะไปฟัง
ผมเลยพูดแนะนำเขาว่า คุณก็ฟังท่านอาจารย์มานาน คุณก็รู้ว่า ยกเว้นท่านอาจารย์ ก็ไม่มีใครที่อื่นที่สอนให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น อย่าไปเสียเวลากับที่อื่นเลย ถ้าจะเข้าใจก็มาค่อยๆ ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจ อย่างน้อยวันนี้รู้ว่าตัวเองที่ฟังมาก็ยังไม่ยังไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็ต้องฟังต่อไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์: เพราะว่า ใครจะเข้าใจแทนเขาไม่ได้ เขาต้องคิดเอง ไตร่ตรองเอง ทุกครั้งที่ฟังธรรม ต้องเห็นความลึกซึ้ง และต้องรู้ว่า ต้องใส่ใจให้ดีทุกคำ
คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งทุกคำ เ พราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความลึกซึ้งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ธรรม แล้วตรัสถึงธรรมแต่ละคำ ต้องใส่ใจให้ดีทุกคำ
ถามว่า จักขุปสาทรูปมีอายุเท่าไหร่?
อาช่า: เทียบกับจิตแล้วเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะค่ะ
ท่านอาจารย์: สิ่งที่ปรากฏทางตา วรรณรูป มีอายุเท่าไหร่?
อาช่า: เท่ากับ ๑๗ ขณะของจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: เวลาที่จักขุปสาทรูปเกิด และวรรณรูปเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันไหม?
อาช่า: ดับพร้อมกันค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เวลาที่จักขุปสาทรูปเกิด และก็วรรณรูปเกิด วรรณรูปกระทบจักขุปสาทรูปหนึ่งขณะ ขณะที่จักขุปสาทรูปกระทบกับวรรณรูป ขณะนั้น จิต เป็นอะไร?
อาช่า: อตีตภวังค์ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เราจะมีชื่อแสดงให้รู้ว่า รูปกระทบกับจักขุปสาทรูปขณะแรก เป็นอตัตภวังค์ เพื่อจะแสดงว่ารูปจะดับเมื่อไหร่
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ได้ยิน คำว่า อตีตภวังค์ หมายความว่าเป็นขณะที่ รูปที่เกิด กระทบกับจักขุปสาทรูป
เพราะฉะนั้น เวลามี่จักขุปสาทรูปกระทบกับวรรณรูป เป็นเหตุให้ภวังค์ไหว เพราะฉะนั้น ความต่างกันของอตีตภวังค์ กับภวังค์ไหว คือภวังคจลนะ คืออะไร?
อาช่า: ภวังค์ไหว หมายถึงว่าเราเอานิ้วไปเตะที่น้ำ แล้วน้ำไหวค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะว่า ขณะนั้นต้องกระทบจิตด้วย ไม่ใช่แต่กระทบเฉพาะปสาทรูป
คุณสุคิน: ผมต้องขอโทษด้วย ตรงนี้ผมก็งงเหมือนกัน เวลาที่ท่านอาจารย์พูดว่า กระทบกับจิต ผมก็งงครับ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่มีรูปกระทบจักขุปสาทรูปที่จะทำให้จิตเห็นเกิด ขณะนั้นจะไม่รู้เลยว่า ก่อนจิตเห็นเกิด จิตทำหน้าที่อะไร?
คุณสุคิน: ผมก็เข้าใจว่า คือภวังค์ ภวังค์ทำหน้าที่ดำเนินชีวิตต่อไป
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แต่เมื่อมีสิ่งที่กระทบที่จะต้องเห็น ภวังค์ก็จะต้องหยุดทำหน้าที่ภวังค์ใช่ไหม?
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: ถ้าไม่มีรูปกระทบจักขุปสาทรูปที่จะทำให้จิตเห็นเกิด ขณะนั้นจะไม่รู้เลยว่า ก่อนจิตเห็นเกิด จิตทำหน้าที่อะไร?
คุณสุคิน: ผมก็เข้าใจว่า คือภวังค์ ภวังค์ทำหน้าที่ดำเนินชีวิตต่อไป
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แต่เมื่อมีสิ่งที่กระทบที่จะต้องเห็น ภวังค์ก็จะต้องหยุดทำหน้าที่ภวังค์ใช่ไหม?
คุณสุคิน: การหยุดนี้หมายถึงว่า มีจิตเกิด ...
ท่านอาจารย์: แน่นอน แต่มีปัจจัยที่จะให้จิตเห็นเกิด จิตเห็นอยู่ดีๆ ก็เกิดไม่ได้ ทุกอย่างต้องอาศัยปัจจัย ถ้าไม่มีอะไรกระทบ ภวังค์ก็เป็นภวังค์ต่อไป
คุณสุคิน: เพราะฉะนั้น ความหมายของไหวตรงนี้ ...
ท่านอาจารย์: แสดงให้เห็นว่า เป็นภวังค์ที่ ๒ ไม่ใช่ภวังค์แรก
คุณสุคิน: ใช่ๆ ตรงนั้นผมเข้าใจอย่างนั้น ว่าเป็นภวังค์ที่ ๒
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความต่างกัน คือภวังค์ที่ ๑ แสดงว่าอารมณ์เริ่มกระทบเป็นอตีตภวังค์ และอารมณ์ยังดับไม่ได้เพราะเริ่มกระทบ
เพราะฉะนั้น ขณะแรกเป็นอตีตภวังค์ แสดงว่ารูปเกิดพร้อมภวังค์นั้น แล้วก็ขณะที่ ๒ ยังทิ้งภวังค์ ยังหยุดหน้าที่ของภวังค์ทันทีไม่ได้ ต้องมีภวังคจลนะ
เพราะฉะนั้น ภวังค์ที่ ๓ เป็นภวังค์สุดท้าย จะทำหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะปัจจัยที่จะทำให้ จิตเห็น เกิดต้องเกิดแล้ว ถึงเวลาแล้ว
เพราะฉะนั้น ความต่างของทางปัญจทวาร คือมีภวังค์ ๓ ขณะ อตีตภวังค์ถูกกระทบ และก็ภวังคจลนะภวังค์ไหว และภวังค์สุดท้ายที่เป็นภวังค์ต่อไปไม่ได้ สิ้นสุดที่ภวังคุปเฉทะทางปัญจทวาร
เพราะฉะนั้น ภวังคุปเฉทะเป็นภวังค์สุดท้ายก่อนที่จะเป็นวิถีจิต
วิถีจิต คืออะไร?
อาช่า: วิถีจิต หมายความว่า จิตที่เกิดจากภวังค์ค่ะ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ ไม่ใช่ วิถีจิตคืออะไร?
อาช่า: วิถีจิต คือจิตที่เกิดทางทวารใดทวารหนึ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่เกิดนะ ไม่ใช่เกิด วิถีจิตเป็นจิตที่รู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืมเรื่อง กิจของจิต
จิตอะไร ไม่ใช่วิถีจิต?
อาช่า: ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ไม่ใช่วิถีจิต
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เพราะอารมณ์ ๓ จิตนี้ รู้อารมณ์ของชาติก่อนค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะวิถีจิต เป็นจิตที่รู้อารมณ์ของโลกนี้
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มีคุณอาคิ่ล มีคุณอาช่าไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วมีอะไร?
อาช่า: มีเห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: ถามว่า ถามว่า เดี๋ยวนี้มีคุณอาคิ่ล คุณอาช่าไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีจิต มีเจตสิก มีรูป ใช่ไหม?
อาช่า: ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้เป็น จิต เจตสิก อะไร?
อาช่า: เดี๋ยวนี้มีเห็น และเจตสิกที่เกิดพร้อมเห็น
ท่านอาจารย์: ถามว่า เดี๋ยวนี้มีจิตอะไร จนกว่าจะตอบถูก
อาช่า: วิถีจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: เท่านั้นหรือ?
อาช่า: มีวิถีวิมุติด้วย มีภวังค์ด้วย
ท่านอาจารย์: มีจิตที่เป็นวิถี กับจิตที่ไม่ใช่วิถี
อาช่า: ค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: ตั้งแต่เกิดจนตายเป็นวิถีจิต กับไม่ใช่วิถีจิตสลับกันตลอดเวลา
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: มีรถยนต์ไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีถนนไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีร้านไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วมีอะไร?
อาช่า: ความจริงมีแต่จิต เจตสิก รูป ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยค่ะ
ท่านอาจารย์: รู้จักพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง?
อาช่า: เริ่มรู้ค่ะ
ท่านอาจารย์: นับถือเคารพมากไหม?
อาช่า: นับถือที่สุดค่ะ แต่ว่าน้อยตามความเข้าใจของตัวเอง ยิ่งเข้าใจเยอะยิ่งนับถือเยอะยิ่งเห็นคุณค่าของพระพุทธองค์มากขึ้น
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ชีวิตที่ยังมีเดี๋ยวนี้ มีประโยชน์อะไร?
อาช่า: ความเข้าใจค่ะ
ท่านอาจารย์: และถ้าเข้าใจแล้ว จะช่วยให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยดีไหม?
อาช่า: ควรค่ะ
ท่านอาจารย์: แต่ต้องเข้าใจเองก่อนใช่ไหม?
อาช่า: ตัวเองต้องเข้าใจก่อน ถึงจะช่วยคนอื่นได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: ถ้าเข้าใจผิด สอนคนอื่นผิด เป็นโทษมากไหม?
อาช่า: เป็นโทษมากค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืมนะ ศึกษาด้วยความเคารพสูงสุดในความละเอียดที่ลึกซึ้ง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: คุณอาช่า คุณอาคิ่ล มีจิต เจตสิก ที่ดี มีจิต เจตสิกที่ไม่ดีมากกว่ากัน?
อาช่า: มีจิต เจตสิก ที่ไม่ดีเยอะกว่าค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจธรรมแล้ว ก็จะค่อยๆ ลดจิต เจตสิก ที่ไม่ดีใช่ไหม? ถ้าไม่เข้าใจธรรมจะมีจิต เจตสิกที่ดีเพิ่มขึ้นได้ไหม?
อาช่า: ถ้าไม่เข้าใจ ไม่สามารถเพิ่มความดีได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: ก็ยินดีอย่างยิ่งในกุศลของคุณอาคิ่ล และคุณอาช่า ที่มีโอกาสได้เข้าใจธรรม และมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อไป
เดี๋ยวนี้ มีภวังคจิตไหม?
คุณสุคิน: อาช่าตอบว่า เป็นไปได้ว่ามีภวังค์ ผมถามว่าทำไมเป็นไปได้ ทำไมไม่ตอบว่า มี แกเลยให้เหตุผลต่างๆ ว่า
๑) เราไม่รู้ว่า เวลานี้อะไรเกิดแล้วดับ
๒) ในเมื่อเราพูดถึงว่า เช่นพูดถึงวิถีจิตมี ๑๗ ขณะของรูป เป็นไปได้ว่าตอนนั้นก็ไม่มีภวังค์
พูดไปพูดมา ผมเลยบอกว่า เราก็ไม่สามารถรู้ว่ามีอะไรบ้าง แต่มันก็เกิดดับเร็วมาก ที่รู้ก็คือรู้นิมิต จริงๆ แล้วก็ต้องตอบว่ามีภวังค์แน่นอนอยู่แล้ว ตรงนี้คือคำตอบของอาช่าครับ
ท่านอาจารย์: ก่อนฟังธรรม รู้ไหมว่า มีภวังคจิต?
อาช่า: ไม่รู้ว่ามีภวังค์ค่ะ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวก่อน เพราะฉะนั้น ต้องฟังให้ดีมีหลายระดับ ถ้าไม่ตรงไม่สามารถจะเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งได้
เรากำลังสนทนากันถึง คำ ที่ลึกซึ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่คำของเรา ถ้าไม่ฟังดีๆ ไม่ไตร่ตรองละเอียดๆ จะไม่เข้าใจขึ้น
ถามว่า รู้จักภวังคจิตไหม?
อาช่า: ยังไม่รู้ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตที่เป็นภวังค์ก็มี ที่ไม่เป็นภวังค์ก็มี เราพูดกันมาแล้ว จะตอบว่าไม่รู้ได้หรือ? ไม่รู้จักเลยหรือว่า ภวังคจิตคืออะไร?
ความตรง ต้องตอบตามความเป็นจริง ตามความรู้ความเข้าใจเท่าที่มี
ทุกคำถามเพื่อให้เริ่มเป็นคนตรงขึ้นๆ เพราะฉะนั้น เริ่มต้นตรงต่อคำถาม
ถามว่า เดี๋ยวนี้ มีภวังคจิตไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: เมื่อไหร่?
อาช่า: ก่อน และหลังวิถีจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: ขณะที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก ซึ่งเป็นวิถีจิต
เพราะฉะนั้น คำตอบถูกต้อง
ถ้าไม่มีอารมณ์กระทบตา จะมีอตีตภวังค์ไหม?
อาช่า: ไม่มีค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จักขุปสาทรูปเกิดหรือเปล่า?
อาช่า: เกิดค่ะ
ท่านอาจารย์: สิ่งที่กระทบตา เกิดหรือเปล่า?
อาช่า: เกิดค่ะ
ท่านอาจารย์: เกิดพร้อมกันได้ไหม?
อาช่า: ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เกิดไม่พร้อมกันได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: ทำไมไม่ได้?
อาช่า: เพราะว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าอันหนึ่งเกิด อีกอันหนึ่งต้องเกิด
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่อย่างนั้นเลย เมื่อรูปมีปัจจัยให้เกิด รูปต้องเกิด ไม่เกี่ยวข้องกับภวังคจิต เข้าใจแล้วนะ เกิดพร้อมกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันก็มี
เพราะฉะนั้น เราจะพูดเฉพาะรูปที่เกิดพร้อมกัน คือจักขุปสาทรูป เกิดพร้อมกับรูปที่กระทบก่อน เพื่อจะให้รู้ว่า เมื่อจักขุปสาทรูปเกิดพร้อมกับวรรณรูป แล้วจิตจะเกิดขึ้นอย่างไร
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น คิดถึงความลึกซึ้งอย่างยิ่งของชีวิตแต่ละขณะ แสดงให้เห็นว่า แม้แต่การเห็นจะที่เกิดขึ้นมากอย่างไร ก็ต้องตามปัจจัย
เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงรูปที่เกิดพร้อมกัน คือจักขุปสาทรูปกับวรรณรูป และกระทบด้วย
อตีตภวังค์คืออะไร?
อาช่า: อตีตภวังค์ คือภวังค์ที่เกิดแล้วดับตอนที่รูปกระทบกับปสาทรูป
ท่านอาจารย์: อตีตภวังค์ คือภวังค์ที่รูปกระทบปสาทรูป
คุณสุคิน: อตีตภวังค์ คือภวังค์ที่รูปกระทบปสาทรูป นั่นคือคำตอบ
ท่านอาจารย์: แน่นอน จะแสดงอายุของรูป
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เมื่ออตึตภวังคจิตดับแล้ว ต่อไปจิตอะไรเกิด?
อาช่า: ภวังคจลนะค่ะ
ท่านอาจารย์: ภวังคจลนะดับแล้วจิตอะไรเกิด?
อาช่า: ภวังคุปเฉทะค่ะ
ท่านอาจารย์: ภวังคุปเฉทะ คืออะไร?
อาช่า: ภวังคุปเฉทะก็เป็นภวังคจิตหนึ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วทำไมเป็นภวังคุปเฉทะ?
อาช่า: เพราะว่า เป็นภวังค์ขณะสุดท้ายก่อนที่วิถีจิตจะเกิดค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะจิตต่อไปจะทำภวังคกิจอีกต่อไปไม่ได้
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตต่อไปไม่เป็นวิถีจิตได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปเป็นจิตอะไร?
อาช่า: อาวัชชนจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: หมายความว่าอะไร?
อาช่า: เป็นจิตที่รู้ว่า อารมณ์อะไรมากระทบ
ท่านอาจารย์: วิถีจิตไม่มีอตีตภวังค์ได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เพราะว่า ถ้าไม่มีอตีตภวังค์ ไม่มีภวังคจลนะ ไม่มีภวังคุปเฉทะแล้ว หลังจากนั้นจะไม่มีวิถีจิต เพราะฉะนั้น ต้องมีอตีตภวังค์ค่ะ
ท่านอาจารย์: ต้องมีอตีตภวังค์กี่ทาง?
อาช่า: ๖ ทางค่ะ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ค่ะ ๖ ทางต่างกันอย่างไร?
อาช่า: มีปัญจทวาร และมโนทวารค่ะ และสองอันนี้ต่างกัน
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถามว่า ๖ ทาง มีอตีตภวังค์ทั้ง ๖ ทางหรือเปล่า?
อาช่า: ตรงนี้ไม่เข้าใจค่ะ ไม่แน่ใจค่ะ
ท่านอาจารย์: ทำไมล่ะ อตีตภวังค์คืออะไร เห็นไหม ต้องถามอีก จนกระทั่งเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่จำ
อาช่า: ก็คือ อตีตภวังค์ต้องมีทั้ง ๖ ทวารค่ะ
ท่านอาจารย์: อตีตภวังค์คืออะไร?
อาช่า: ท่านอาจารย์ค่ะ ต้องรบกวนให้ท่านอาจารย์พูด เพราะว่าพยายามหาคำตอบอยู่ ก็หาคำตอบไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: พูดแล้วตั้งแต่ต้นเลย แน่นอน เราคุยกันตั้งแต่ต้นว่า อตีตภวังค์ คืออะไร
คุณสุคิน: เหมือนเขาจะนึกไม่ถึงว่า จะพูดแต่ว่า เพื่อที่จะให้รู้ว่า วิถีจิตเริ่มเมื่อไหร่ อะไรแบบนี้ครับ
ท่านอาจารย์: เห็นไหม การฟังธรรมเพื่อเข้าใจความลึกซึ้ง อย่างนี้จะไม่รู้จักคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน
เพราะฉะนั้น สำหรับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มีรูปกระทบจริงๆ และรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพื่อแสดงให้รู้ว่า รูปเกิดดับเมื่อไหร่ และจะดับเมื่อไหร่ และจิตที่จะรู้อารมณ์นั้นสามารถจะรู้ได้กี่ขณะ
ขณะที่เป็นมโนทวาร รูปไม่ได้กระทบมโนทวารเลย แล้วรูปเกิดดับหรือเปล่า แม้รูปจะไม่กระทบทวาร?
อาช่า: ถ้ารูปไม่ได้กระทบทวารใดทวารหนึ่ง ก็เกิดแล้วดับค่ะ
ท่านอาจารย์: อายุเท่าไหร่?
อาช่า: ๑๗ ขณะของจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืมนะ รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เราใช้คำว่า อตีตภวังค์ เพื่อให้รู้ว่า รูปเกิดเมื่อไร่ และจะดับเมื่อไหร่ และจิตสามารถที่จะรู้รูปที่ยังไม่ดับได้กี่ขณะ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น คราวหน้ามีอะไรถาม แล้วดิฉันก็จะถามเขาด้วย
อาช่า และอาคิ่ล: ยินดีที่จะให้ท่านอาจารย์ถามค่ะ
ท่านอาจารย์: คุณอาช่าเริ่มเห็นพระคุณสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นอีกบ้างแล้วหรือยัง?
อาช่า: เห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ชีวิตที่ได้เข้าใจพระธรรมเป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุด
คุณสุคิน: อาคิ่ล และอาช่า พูดว่าทีแรกไม่แน่ใจว่า เดินทางไปสาวัตถีวันนี้ไม่รู้ว่า สิ่งแวดล้อมจะได้ฟัง หรือไม่ได้ฟัง วันนี้ดีมากที่ได้ฟัง เท่าที่ได้ฟัง และก็ได้สนทนากัน อาคิ่ลบอกว่าพอได้สนทนาเมื่อไหร่ ก็มีความรู้สึกว่า มีความเคารพ และมีศรัทธาพระพุทธองค์มากขึ้น ผมจึงเตือนเขาว่า จริงๆ แล้วนั่นเป็นปัญญารู้ได้อย่างเดียว เราเอาสถานการณ์มาพูดไม่ได้ แต่ว่า อย่างไรก็ตาม ถ้ามีความเข้าใจเกิดขึ้น แน่นอนก็ต้องพาไปในทางที่ดี ทุกอย่างก็ต้องดีอยู่แล้ว แล้วก็ผ่านไปแล้ว
ท่านอาจารย์: ก็ยินดีในกุศลของเขาที่ได้ลาภที่ประเสริฐที่สุด ก่อนที่จะจากโลกนี้ไป เพราะฉะนั้น จะให้ลาภนี้ประเสริฐขึ้น และได้เกื้อกูลให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยนะ เป็นสิ่งที่ประเสริฐของชาตินี้ ก่อนที่จะเป็นคนอื่นต่อไปในชาติหน้า
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ