ไม่ใช่คุณอาช่าเลยที่เห็น แต่เป็นธรรม_สนทนาธรรมไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๘
คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับ อาช่าอยากสนทนาที่ครั้งที่แล้วสนทนาเรื่องอายุของรูป เทียบกับอายุของจิต ถ้ารูปเกิดตอนที่จิตขณะนั้นเป็นอตีตภวังค์ ต่อด้วยภวังคจลนะ และภวังคุปเฉทะ ตอนที่วิถีจิตเริ่ม ขอท่านอาจารย์สนทนาเรื่องนี้ต่อ
ผมก็ถามว่า สนทนาเรื่องนี้เพราะอะไร อาช่าตอบว่า เพื่อที่จะเข้าใจว่า รูปนี่อายุไม่เท่ากับจิต เกิดดับช้ากว่าจิต ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์: รู้แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร?
อาช่า: เพื่อที่มีความเข้าใจว่า ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์: เพื่ออะไร?
อาช่า: ช่วยให้ความเข้าใจผิดว่า มีเรา มีเขา และคิดว่าบังคับบัญชาธรรมได้ จะน้อยลง และโดยรวมแล้วการที่เพิ่มความรู้ ละความไม่รู้ ทำให้ชีวิตโดยรวมดีขึ้น ให้เข้าใจทุกอย่างนัยยะอื่นๆ คือเกี่ยวกับชีวิต ให้เข้าใจชีวิตได้ดีขึ้นค่ะ
ท่านอาจารย์: เพื่อรู้ความจริงมั่นคงขึ้นว่า ไม่มีเรา ไม่มีอะไรเลย เพียงมีสิ่งที่เกิดแล้วดับ ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้มี ภวังคจิต ไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: กี่ขณะ?
อาช่า: เยอะมากค่ะ
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แล้วมีแต่ภวังคจิต หรือว่ามีขณะอื่นที่ไม่ใช่ภวังคจิตด้วย?
อาช่า: มีจิตประเภทอื่นด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์: เช่น?
อาช่า: เห็น ได้ยิน ค่ะ
ท่านอาจารย์: เห็นเกิดพร้อมกับภวังคจิตได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ก่อนเห็น มีอะไร?
คุณสุคิน: ทีแรกอาช่าตอบว่า เป็นอาวัชชนะ ผมถามว่านัยยะที่เราสนทนากันอยู่ เรื่องจิตที่พูดกัน พูดว่าอย่างไรก่อนที่เห็นจะเกิด อาช่าเลยตอบว่า มีภวังค์ครับ
ท่านอาจารย์: แล้วก่อนเห็นจริงๆ ในขณะมีอะไร?
อาช่า: อาวัชชนะค่ะ
ท่านอาจารย์: เป็นวิบาก เป็นผลของกรรมหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เป็นเพราะว่า อาวัชชนะทำกิจที่รู้ว่า อะไรมาอยู่ แต่ไม่รู้อย่างที่เห็นเห็นได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: อาวัชชนะมีเหตุเกิดร่วมด้วยไหม?
อาช่า: มีเหตุค่ะ ๑) เพราะก่อนที่อาวัชชนะจะเกิด ภวังคุปเฉทะเป็นปัจจัยให้อาวัชชนะเกิดค่ะ
ท่านอาจารย์: ต้องฟังคำถามดีๆ ขณะที่อาวัชชนะเกิด มีเหตุเกิดร่วมด้วยกับอาวัชชนะหรือเปล่า? มีเหตุปัจจัยเกิดร่วมด้วยกับอาวัชชนะหรือเปล่า? มีโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิตหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เพราะเป็นกิริยาจิต และเพราะเหตุเกิดกับวิบาก และก็กุศล อกุศลจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: นั่นจำนะ แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า เพราะ ถ้าเป็นเหตุต้องมีเหตุเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น มีกุศลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดร่วมด้วย หรือมีอกุศลเหตุเกิดร่วมด้วย จึงเป็นจิตที่มีเหตุ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ฟังธรรมละเอียดกว่านี้ก็ได้ แต่ต้องตามลำดับ เพราะ มิเช่นนั้นจะยุ่งเยิงไม่เข้าใจ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: นี่เป็นความละเอียดมาก ไม่สามารถจะรู้ได้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงความละเอียด
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้เป็น จิต เจตสิก รูป ทั้งหมด แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ฟังเพื่อเริ่มรู้ความลึกซึ้งว่า จิตที่เกิดต้องเป็น ๑ ใน ๔ ประเภท เป็นกุศล ๑ เป็นอกุศล ๑ และเป็นผลของกุศล ๑ เป็นผลของอกุศล ๑
จิตที่เป็นผลของกุศล ภาษาบาลีใช้คำว่าอะไร?
อาช่า: กุศลวิบาก
ท่านอาจารย์: ดีมาก พูดว่า กุศล กับกุศลวิบากต้องต่างกัน เดี๋ยวนี้กุศลอยู่ไหน? กุศลวิบากอยู่ไหน?
อาช่า: เช่น เห็นอารมณ์ดีตอนนี้ก็เป็นกุศลวิบาก และถัาเข้าใจก็เป็นกุศลค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจว่า เมื่อไม่มีเรา ทุกขณะเป็นธรรมที่เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลวิบาก หรือไม่ใช่กุศล ไม่ใช่วิบาก เป็นกิริยา เดี๋ยวนี้เอง เรียนให้เข้าใจธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ จนกว่าจะประจักษ์แจ้งความจริง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เบื่อไหมที่จะรู้ว่า เดี๋ยวนี้เอง เราไม่รู้อะไร แต่ความจริงไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่เป็นจิต เจตสิก
อาช่า: ไม่เบื่อ ฟังแล้วอยากจะฟังต่อค่ะ
ท่านอาจารย์: ขณะนี้ไม่มีเรา แต่ไม่รู้ รู้แต่ชื่อ ใช่ไหม? การศึกษาธรรม ไม่ใช่ศึกษาชื่อ แต่ให้รู้ว่าเดี๋ยวนี้จริงๆ มีสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ไม่ใช่ต้องตามลำดับโดยชื่อ แต่ตามลำดับของความเข้าใจ
ยินดีมากที่คุณอาช่ายินดีที่จะฟังความละเอียด ประโยชน์ ก็คือถามอะไรก็ได้ ถ้าเข้าใจแล้ว ตอบได้
ไม่ใช่ตามลำดับของเรื่องของคำที่ได้ฟัง แต่ ลำดับของความเข้าใจจริงๆ
อาช่า: ค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ตอนนี้จะถามว่า เดี๋ยวนี้รูปดับหรือเปล่า?
อาช่า: ดับค่ะ
ท่านอาจารย์: รูปอะไรดับ?
อาช่า: เช่น สี ตา เกิดดับค่ะ
ท่านอาจารย์: เมื่อไหร่ เดี๋ยวนี้หรือ?
อาช่า: ตอนนี้เป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์: รูปไหน บอกสักหน่อยว่า รูปไหนดับเดียวนี้?
อาช่า: อย่างเช่น สี และเสียงค่ะ
ท่านอาจารย์: เกิดเมื่อไหร่ ดับเมื่อไหร่?
อาช่า: เกิดตอนที่กระทบตา และก็หลังจากนั้น
ท่านอาจารย์: รูปที่ไม่กระทบตา ดับหรือเปล่า?
อาช่า: ต้องดับค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องพูดว่า เมื่อไหร่ ดับขณะไหน แต่ทุกขณะของจิตมีรูปที่เกิดแล้ว ๑๗ ขณะดับ ถูกไหม?
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: มั่นคงนะ เพราะฉะนั้น เราก็จะพูดถึง รูปที่เกิดพร้อมภวังคจิตที่กระทบตา เพราะฉะนั้น รูปที่เกิดพร้อมภวังคจิต และกระทบภวังค์จิต เพื่อจะรู้ว่า รูปนั้นเกิดขณะนั้น จึงใช้คำว่า อตีตภวังค์ เพราะฉะนั้น จิตอะไรจะเกิดรู้รูปที่ยังไม่ดับก็แล้วแต่ แต่พอถึง ๑๗ ขณะของจิต รูปต้องดับ
เพราะฉะนั้น การกล่าวถึงรูปที่เกิดพร้อมจิต ๑ ขณะ จะแสดงว่า จิตอะไรสามารถจะเกิดรู้รูปนั้นได้บ้าง
รูปที่เกิดพร้อมจิตขณะที่รูปนั้นกระทบปสาทะ จิตขณะนั้นเป็นภวังค์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นที่ภวังคจิตมีรูปกระทบ เราใช้คำว่า อตีตภวังค์ เพื่อแสดงว่า รูปจะดับเมื่อไหร่
ภวังคจิต เป็นวิถีจิตหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เพราะเป็นอารมณ์ของชาติก่อน
ท่านอาจารย์: ไม่ปรากฏทางไหนใน ๖ ทวาร
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: อตีตภวังค์ดับไหม?
อาช่า: ดับค่ะ
ท่านอาจารย์: รูปที่กระทบปสาทะ และอตีตภวังค์เกิด รูปนั้นดับหรือยัง?
คุณสุคิน: คือความสับสนของอาช่า เกิดจากตรงนี้ครับ แล้วก็นี่เป็นเหตุผลที่เขาเริ่มถามครั้งแรกเกี่ยวกับรูป และได้ยินว่า รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เป็นเพราะเขางงเรื่องนิมิต และกลายเป็นว่าไม่เข้าใจความหมายของจิต ๑๗ ขณะและรูปมีอายุเท่านั้น หมายถึงว่า รูปเดียวกันที่จิต ๑๗ ขณะรู้ หรือว่า กลายเป็นเพราะ ๑๗ ขณะนั้นคือรูปเกิดดับเท่ากับจิต แล้วที่เหลือเป็นนิมิตของรูป ตรงนี้อาช่างง แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า เป็นรูปเดียวกันครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องละเอียด อย่าปน อย่ารีบร้อน เอาคำอื่นที่ได้ยินมาใส่ทันที เช่น นิมิต ยังไม่ต้องพูดถึง
สุคิน: ผมก็พูดไปตรงนี้ว่า อย่าเพิ่งพูดถึงนิมิต มาเข้าใจรูปอย่างเดียวก็พอ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ธรรมต้องฟังดีๆ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าเรากำลังพูดถึงรูป ๑ รูป รูป ๑ รูป ที่เกิดแล้วดับทันทีหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ได้ดับทันทีค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เราพูดถึง ๑ รูป แล้วจะรู้ว่า รูปนั้นอยู่ต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ๑๗ ขณะจะวัดได้อย่างไร ถ้าไม่พูดถึงจิตแต่ละขณะ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: รูป ๑ รูปเกิด รูปนั้นจะดับเมื่อไหร่?
อาช่า: ดับเทียบกับจิตแล้ว ๑๗ ขณะที่เกิดแล้วดับ
ท่านอาจารย์: จิต ๑ ขณะ เกิดแล้วดับทันทีหรือเปล่า?
อาช่า: เกิดแล้วดับทันทีค่ะ
ท่านอาจารย์: แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความต่างของจิต ๑ ขณะ เป็นอายุของจิต ๑ ขณะ
พระองค์ทรงแสดงว่า ขณะเกิดไม่ใช่ขณะตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะดับไป
แม้จิต ๑ ขณะ ขณะเกิด ก็ไม่ใช่ขณะดับของจิต
เพราะฉะนั้น ขณะเกิดยังไม่ดับ มีชื่ออว่า ฐิติขณะ เพราะฉะนั้น จิตมีอายุกี่ขณะ?
อาช่า: ๓ ขณะค่ะ
ท่านอาจารย์: ดีมาก เพราะฉะนั้น ขณะเกิดเป็นอุปาทขณะ ขณะยังไม่ดับเป็นฐิติขณะ ขณะดับเป็นภังคขณะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น รูป ๑ รูป มีอายุเท่าไหร่?
อาช่า: เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์: ถ้าพูดถึงอายุอุปาทะ ฐิติ ภังคะ รูปรูปหนึ่งมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับกี่อนุขณะ?
อาช่า: ๕๑ ขณะค่ะ
ท่านอาจารย์: เอาอะไรคูณ ๑๗ คูณใช่ไหม?
อาช่า: ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์: การที่เรากล่าวถึง จิต ๑ ขณะ ว่าเป็นอนุขณะ ๓ ขณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า รูปบางรูปไม่ได้เกิดพร้อมอุปาทขณะของจิต แต่เกิดในขณะฐิติขณะของจิต
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น กว่าจะเข้าใจมั่นคงว่า ไม่มีเรา ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยสักอย่างทุกขณะ ต้องอาศัยการฟัง และเละเอียด รอบคอบ ไตร่ตรองลึกซึ้ง
ธรรมทุกคำ ที่คุณอาช่าได้ยินมาจากเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปี ๒๖๐๐ ปีแล้วเดี๋ยวนี้ ที่ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงแสดงทุกแห่งที่พระองค์เสด็จ ใครที่อยู่ตรงนั้น สมัยหนึ่งที่พระองค์ประทับแสดงธรรมสามารถเข้าใจได้ เพราะสะสมความละเอียดความลึกซึ้งมานาน
เพราะฉะนั้น สมัยนี้ถ้าใครระลึกได้ถึงอดีต เห็นคุณมหาศาลที่ยังมีผู้ได้ฟังคำของพระองค์ และเข้าใจความลึกซึ้งของธรรมเดี๋ยวนี้
อาช่า: ค่ะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์: รูปที่กระทบตายังไม่ดับ เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่กรรมให้ผล ต้องเห็น คิดถึงขณะที่จิตเห็นยังไม่เกิดต้องมืดแน่นอน และทันทีที่จิตเห็นเกิดก็สว่างทันทีเดี๋ยวนี้ มีสีสันวรรณะต่างๆ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ความจริงเป็นรูปเพียงกระทบตาเท่านั้นที่ปรากฏได้ จากมืดสนิทก็สว่างทันทีเพราะจิตเห็นเกิด เป็นความจริงไหม?
อาช่า: จริงค่ะ
ท่านอาจารย์: ในความมืด สว่างเพียง ๑ ขณะที่จิตเห็นเกิด ไม่มีใครรู้เลยว่า จิตเห็นเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความละเอียดอย่างยิ่ง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตอะไรเกิดก่อนจิตเห็น?
อาช่า: อาวัชชนจิตค่ะ
ท่านอาจารย์: อาวัชชนจิต เห็นไหม?
อาช่า: ไม่เห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: อาวัชชนจิตรู้ไหมว่า สิ่งที่กระทบตากำลังกระทบตา?
อาช่า: รู้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เห็นไหม? อาวัชชนจิตเห็นไหม?
อาช่า: ไม่เห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: และ ก่อนอาวัชชนจิตเกิด อะไรเกิด?
อาช่า: ภวังคุปเฉทะค่ะ
ท่านอาจารย์: และก่อนภวังคุปเฉทะเกิด อะไรเกิด?
อาช่า: ภวังคจลนะค่ะ
ท่านอาจารย์: และ ก่อนภวังคจลนะ จิตอะไรเกิด?
อาช่า: อตีตภวังค์ค่ะ
ท่านอาจารย์: ไม่ให้เป็นอย่างนี้ได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า อนัตตา มั่นคงขึ้นนิดหนึ่ง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จนกระทั่งสามารถจะรู้ได้ว่า ไม่ว่าขณะไหน เมื่อไหร่ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ตามความเป็นจริงเป็นอนัตตา
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่คุณอาช่าเลยที่เห็น แต่เป็นธรรมะ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: รูปเกิดกี่ขณะแล้ว?
อาช่า: ๔ ขณะค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วใครจะให้รูปดับได้ไหมเดี๋ยวนี้ที่ยังไม่ถึง ๑๗ ขณะ?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: จะให้รูปดับทันทีตอนนั้นไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะเป็นธรรมตาความเป็นไปของรูปที่ต้องเป็นอย่างนี้
อาช่า: ค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตเห็นรูปที่กระทบตาดับแล้ว จิตต่อไปจะรู้รูปอื่นที่ไม่ใช่รูปที่กระทบตาที่ยังไม่ดับได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: ถูกต้อง มั่นคงนะ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อจากจิตเห็น เห็น รูปที่ปรากฏทางตาไหม?
อาช่า: เห็นไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ปรากฏ มีจิตเห็นที่กำลังเห็นจริงๆ เท่านั้นที่ปรากฏทั้งวัน
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตที่เกิดต่อจากจิตเห็น รู้ รูปที่กระทบตาที่ยังไม่ดับทำกิจอะไร เป็นชาติอะไร?
อาช่า: ทำสัมปฏิจฉันนกิจ เป็นชาติวิบาก
ท่านอาจารย์: แล้วจิตที่เกิดก่อนจิตเห็นเป็นชาติอะไร?
อาช่า: เป็นกิริยาค่ะ
ท่านอาจารย์: ต่างกันอย่างไร กิริยากับวิบาก?
อาช่า: กิริยา เป็นจิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่ผลของกรรม ส่วนวิบากเป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทำไมเป็นอย่างนั้น?
อาช่า: เป็นเพราะว่า ก่อนเห็นเป็นกิริยา เพราะว่าตอนนั้นกรรมยังไม่ถึงเวลาให้ผล แล้วก็ทำหน้าที่ของจิตนั้น ส่วนหลังจากเห็นเป็นวิบาก เพราะว่าตอนนั้นกรรมยังต้องให้ผลอยู่ค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้วให้ผลอย่างไร?
อาช่า: จิตที่เกิดหลังจากเห็น คือสัมปฏิจฉันนะก็ต้องเป็นผลของกรรมเดียวกับจิตเห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: แล้ว เห็น เป็นวิบาก กี่ประเภท?
อาช่า: เป็นผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรม
ท่านอาจารย์: และกุลวิบาก กับอกุศลวิบากต่างกันอย่างไร?
อาช่า: ต่างกันที่อารมณ์ที่ดี หรือไม่ดีค่ะ
ท่านอาจารย์: เลือกได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น บางครั้งเห็นสิ่งที่ดีธรรมดา บางครั้งก็เห็นสิ่งที่ดีพิเศษ แล้วแต่กรรม
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จักขุวิญญาณกุศลวิบากมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่?
อาช่า: มี ๗ ค่ะ
ท่านอาจารย์: ปัญจทวาราวัชชนจิตมีเจตสิกเท่าไหร่?
อาช่า: เท่าที่เคยฟังรู้ว่า ไม่มีจิตไหนที่มีเจตสิกน้อยกว่า ๗ แต่ว่าตรงนี้ไม่ทราบว่า อาวัชชนะมี ๗ หรือมากกว่า ๗ ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุดมีจิตอะไรบ้าง?
อาช่า: จำไม่ได้ว่ามีจิตกี่ดวงที่มีเจตสิกแค่ ๗ เกิดร่วมด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องจำ แต่เรื่องเข้าใจเหตุผล
เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น อาวัชชนจิตกับจิตเห็น จิตไหนมีเจตสิกเกิดมากกว่ากัน?
อาช่า: อาวัชชนจิตมีเจตสิกเกิดมากกว่าค่ะ
ท่านอาจารย์: สัก ๑ เจตสิกได้ไหมว่า เจตสิกอะไรที่มากกว่า?
อาช่า: นึกไม่ออกค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เราจะเรียนธรรมทีละเล็กทีละน้อยเพิ่มขึ้น เพราะจะต้องเข้าใจความต่างของจิตที่มีอารมณ์เดียวกัน แต่ทำกิจคนละอย่าง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: กว่าจะค่อยๆ รู้ว่า ไม่ใช่เรา กว่าจะค่อยๆ คลายความจำว่าเป็นเรา ต้องอาศัยความเข้าใจมากมายทีละเล็กทีละน้อย
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น วันนี้เพิ่มเจตสิก ๑ เจตสิก คือวิตกเจตสิก
อาช่า: ค่ะท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์: จำได้ใช่ไหมว่า เคยได้ยินชื่อนี้?
อาช่า: ค่ะ เคยได้ยิน
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ได้ยินแล้วลืม เพราะว่ายังไม่พอที่จะทำให้ระลึกได้ในขณะนี้ว่า เป็นสิ่งที่เป็นธรรม
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ถ้ารู้ความหมาย รู้ความลึกซึ้งของธรรม ก็สามารถที่จะเห็นความเป็นธรรมแต่ละขณะที่ต่างๆ กันได้
ค่อยๆ เข้าใจว่า จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ๕ ทาง ไม่ต้องอาศัยเจตสิกมากเลย เพียงแรงกรรมที่ทำไว้ ก็สามารถทำให้เกิดเห็นพร้อมด้วยเจตสิกเพียง ๗ ดวง เกิดได้ยินพร้อมด้วยเจตสิกเพียง ๗ ดวง แต่ จิตอื่น นอกจากนั้นมีเจตสิกเกิดมากกว่า
อาช่า: ค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้จิตเห็นเกิดขึ้นทำกิจโดยไม่ต้องอาศัยวิตกเจตสิก แต่จิตอื่นที่รู้อารมณ์เดียวอารมณ์นั้นแหละ แต่ไม่เห็น ต้องมีเจตสิกอื่นเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น จิตอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่จิต ๑๐ ดวง จะรู้อารมณ์เดียวกับจิต ๑๐ ดวงนี้ได้ ต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นวิตกเจตสิก
เพียงผัสสเจตสิกเกิดกระทบ กรรมทำให้จิตเห็นเกิดได้ทันที เห็นได้ทันที ผลของกรรมทำให้จิตอื่นรู้อารมณ์เดี๋ยวกัน แต่ไม่ได้ เห็น อย่างจิตเห็น จึงต้องอาศัยวิตกเจตสิก
จิตที่รู้อารมณ์ที่จิตเห็น โดยไม่เห็น ต้องอาศัยวิตกเจตสิกเกิดขึ้น วิตกเจตสิกเป็นสภาพที่ จรด หรือจับ อารมณ์ไว้ ให้จิตรู้อารมณ์โดยไม่เห็นได้
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตอื่นทั้งหมดนอกจาก จิต ๑๐ ดวงนี้ จะรู้อารมณ์ได้ ต้องอาศัยวิตกเจตสิก จรด หรือจับ อารมณ์นั้น เพื่อเจตสิก และจิต จะได้รู้อารมณ์นั้น
ไม่ลืมวิตกเจตสิกแล้วใช่ไหม?
อาช่า: ไม่ลืมค่ะ
ท่านอาจารย์: กำลังคิด มีวิตกเจตสิกไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีผัสสเจตสิกไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: เริ่มไม่ลืม ผัสสะกระทบ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตเกิดโดยไม่มีผัสสเจตสิกได้ไหม?
อาช่า: ไม่ได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: จิตที่เกิดโดยไม่มีวิตกเจตสิกมีไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีเท่าไหร่?
อาช่า: มี ๑๐ ค่ะ
ท่านอาจารย์: เป็นชาติอะไร?
อาช่า: เป็นวิบากค่ะ
ท่านอาจารย์: ทำไมไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย?
อาช่า: เพราะว่า กิจของจิตเห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ก็แค่รู้อารมณ์ที่กระทบ ไม่มีกิจอื่น นอกจากรู้อารมณ์นั้นค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะเหตุว่า จิตที่เห็นจริงๆ เกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัยที่ทำให้รูปนั้นกระทบตา เป็นปัจจัยให้กรรมหนึ่งทำให้เกิดเห็น เห็นกำลังของกรรมไหม? กรรมหนึ่งทำให้จิตเห็นขณะนั้น เห็น สิ่งนั้น
เพราะฉะนั้น จิตก่อนเห็น และจิตหลังเห็น เห็นหรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ได้ทำกิจเห็นค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดก่อน รู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นได้อย่างไร?
อาช่า: รู้โดยว่า มีอารมณ์กำลังเข้ามา
ท่านอาจารย์: นั่นซิ ไม่เห็นแต่รู้ เพราะอะไร?
อาช่า: เพราะมีทั้ง วิตก และมีทั้ง ผัสสะ
ท่านอาจารย์: ต่างกันอย่างไร วิตก กับผัสสะ?
อาช่า: ผัสสะกระทบ ส่วน วิตกก็คือจรด ทั้งสองก็ต่างกันค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้ากระทบแล้วไม่จับไว้ จิตจะรู้อารมณ์นั้นได้ไหม?
อาช่า: ถ้าไม่มีวิตก เพื่อที่จะจับอารมณ์ จิตนั้นก็ไม่สามารถรู้อารมณ์นั้นได้ค่ะ
ท่านอาจารย์: นอกจากจิตกี่ประเภท กี่ดวง?
อาช่า: นอกจากจิต ๑๐ ดวงค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ท่านอาจารย์: เห็นไหม ถ้าเข้าใจแล้วจะลืมไหม?
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต่อไปก็จะเพิ่มเจตสิกที่เกิดกับจิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่จิต ๑๐ ดวง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ทั้งหมดเพื่อไม่ลืมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่โต๊ะ เก้าอี้ ที่ไม่ใช่คน ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น แต่เป็นธรรมะ ที่มีจริง แต่ละหนึ่ง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: กำลังโกรธ มีวิตกเจตสิกไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: มีผัสสเจตสิกไหม?
อาช่า: มีค่ะ
ท่านอาจารย์: เห็นไหมเมื่อเข้าใจแล้วไม่สงสัยเลย เพราะเหตุว่า แต่ละธรรมะเกิดขึ้นมีลักษณะต่างกัน มีกิจหน้าที่ต่างกัน จึงเป็นแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วดับไม่กลับมาอีกเลย
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: อีกนานไหม กว่าคุณอาช่าจะมั่นใจว่า ไม่มีคุณอาช่า ไม่มีคุณอาคิ่ล ไม่มีอะไรเลยหมด?
อาช่า: ใช้เวลาเยอะมากค่ะ
ท่านอาจารย์: สมควรที่จะเข้าใจอย่างนั้นไหม?
อาช่า: สมควรค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะอะไร?
อาช่า: เพื่อที่จะเข้าใจความจริง โดยเฉพาะว่า ไม่มีเราค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะเป็นสิ่งที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กว่าจะรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เมื่อเข้าใจความจริงว่า เป็นความจริงอย่างนี้ เปลี่ยนไม่ได้ เห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจาไหม?
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการให้คุณอาช่าเอาดอกไม้ไปกราบไหว้หรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ค่ะ
ท่านอาจารย์: เวลาที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ความปีติทำให้พระองค์ตรัสว่า อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้ว
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: คุณอาช่ามีความสุข ดีใจ ยินดีไหม ถ้ารู้ว่ามีคนเข้าใจความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ธรรมลึกซึ้งมาก ต้องไม่ลืมความละเอียด ต้องศึกษาด้วยความละเอียด ถ้าเข้าใจผิด ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดเป็นโทษอย่างยิ่ง
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: ธรรมเดี๋ยวนี้เกิดดับ ยากที่จะรู้ได้ แต่เป็นความจริง เพราะฉะนั้น เข้าใจธรรม คือเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ตามปกติ
อาช่า: ค่ะ
ท่านอาจารย์: วันนี้ถ้าไม่สนทนาธรรม คุณอาช่าคิดถึงธรรมบ้างไหม?
อาช่า: วันไหนถ้าไม่ได้ฟัง แทบจะไม่ได้นึกถึงเลยค่ะ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ คิดเมื่อไหร่ เข้าใจขณะนั้นด้วยใช่ไหม?
อาช่า: เข้าใจขณะนั้นด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์: คุณอาช่าอยากจะได้อย่างอื่น นอกจากความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้หรือเปล่า?
อาช่า: ไม่ค่ะ
ท่านอาจารย์: ความเข้าใจที่มั่นคง สิ่งอื่นไม่มีค่าเลยเพราะเพียงแค่ปรากฏแล้วหมดไป ถ้าเห็นประโยชน์ของความเข้าใจธรรม คุณอาช่าจะช่วยให้คนอื่นได้เข้าใจด้วยไหม?
อาช่า: ถ้าเข้าใจ ก็คิดจะช่วยคนอื่นด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์: ขณะนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในสังสารวัฏฏ์
ก็ขอยินดีด้วยกับความเข้าใจถูก และประสงค์มีโอกาสได้ช่วยคนอื่นได้เข้าใจถูกด้วยของทุกๆ คน และคุณสุคินด้วย
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ