จิตกับการเจริญสติปัฏฐาน

 
พุทธรักษา
วันที่  2 ต.ค. 2550
หมายเลข  4986
อ่าน  1,145

ข้อความบางตอนจากหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป (๑๖๐-๑๗๕)

ประโยชน์ คือ ควรรู้ว่า ธรรมใดเป็นเหตุ ธรรมนั้นไม่ใช่ผล อกุศลและกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่วิบาก ขณะใดเป็นวิบากจิต ขณะนั้นเป็นผลซึ่งเกิดจากเหตุ ไม่ใช่เหตุ

ถ้ารู้ตามความเป็นจริงของจิตที่เป็นเหตุ และจิตที่เป็นผล ก็จะเห็นความเป็น "อนัตตา" ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก สิ่งนี้เป็นปัจจจัยเกื้อกูลให้สติเกิด ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละประเภท ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุป้จจัยทั้งสิ้น

"สติ" สามารถระลึกรู้ล้กษณะของสภาพธรรมคือ "นามธรรม" คือสภาพรู้ และ "รูปธรรม" คือสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น แต่ในขณะเห็น "สติปัฏฐาน" สามารถระลึกได้ และ "ปัญญา" สามารถรู้ได้ชัดว่าขณะเห็น เป็น "วิบาก" ไม่ใช่ขณะที่พอใจ หรือไม่พอใจ ซึ่งเป็น "อกุศล" ที่เกิดขึ้นต่อจากขณะที่เห็น

ขณะที่เห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสติปัฏฐานให้ปัญญาศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆ เลย

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ครูโอ
วันที่ 3 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 3 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 4 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jurairat
วันที่ 5 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา และขอให้กำลังใจกับสหายธรรมว่า ถ้าสติปัฎฐานยังไม่เกิดหรือเกิดน้อยก็ไม่ต้องหวั่นไหว ไม่ควรเกิดความต้องการสติอีก เพราะเหตุว่าสติเป็นธรรมะที่เป็นอนัตตา เมื่อฟังพระธรรมบ่อยๆ มีความเข้าใจมากขึ้นสังขารขันธ์เขาก็ปรุงแต่งเอง สติก็เกิดเองระลึกรู้ในสภาพธรรมนั้นๆ เองที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 5 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 24 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 8 มี.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ