ทำอย่างไรจึงจะละสังโยชน์ 10 ได้
สนใจเรื่องการละสังโยชน์ ๑๐ ค่ะ แต่อ่านในกระดานสนทนา ไม่มีวิธีละสังโยชน์ มีแต่สังโยชน์ ๑๐ คืออะไร การละสังโยชน์ทำอย่างไรคะ
ขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
สังโยชน์คือ เครื่องผูกให้ติดอยู่ในวัฏฏะ พ้นไปไม่ได้ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน อบรมอริยมรรคมีองค์แปด เจริญโพธิปักขิยธรรมฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ตามลำดับของปัญญาคือ ปัญญาระดับพระโสดาบันละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๓ ปัญญาระดับพระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ ๕ ปัญญาระดับพระอรหันต์ละสังโยชน์เบื้องบนได้ทั้งหมดไม่มีเหลือ สมดังข้อความในพระสูตรดังนี้
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
[๒๘๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือ หวาย แช่อยู่ในน้ำตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว เครื่องผูกต้องลมและแดดแล้ว อันฝนตกรดแล้ว ย่อมจะเสียไปผุไป โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบหมดไปโดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน......
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
ขอบพระคุณค่ะ ขอเรียนถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ
๑. ธัมมวิจย ในโพชฉงค์ ๗ จะคล้ายหรือคืออันเดียวกับ ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือไม่คะ
๒. ธรรมะทุกประการ ไม่ว่าโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือ โพชฉงค์ ๗ หรือ การละสังโยชน์ ๑๐ หรืออื่นๆ ก็รวมลงอยู่ที่มรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหมคะ
๑. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึงปัญญาในองค์มรรค ส่วนธัมมานุปัสสนา หมายถึงตัวสติ
๒.ถูกครับ ทั้งหมดรวมลงในอริยมรรคมีองค์ ๘
สังโยชน์ ๑๐
"สังโยชน์" แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดจิตใจให้ตกอยู่ในวัฎฎะ มี๑๐ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ เห็นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา (คำว่าร่างกายนี้หมายถึง ขันธ์ ๕)
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย ในคุณพระรัตนตรัย
๓. สีลัพพตปรามาส รักษาศีลแบบลูบๆ คลำๆ ไม่รักษาศีลอย่างจริงจัง
๔. กามฉันทะ มีจิตมั่วสุมหมกมุ่น ใคร่อยู่ในกามารมณ์
๕. พยาบาท มีอารมณ์ผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
๖. รูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในรูปฌาน
๗. อรูปราคะ ยึดมั่นถือมั่นในอรูปฌาน คิดว่าเป็นคุณพิเศษที่ทำให้พ้นจากวัฏฏะ
๘. มานะ มีอารมณ์ถือตัวถือตน ถือชั้นวรรณะเกินพอดี
9. อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ครุ่นคิดอยู่ในอกุศล
๑๐. อวิชชา มีความคิดเห็นว่า โลกามิสเป็นสมบัติที่ทรงสภาพ
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
ขออนุโมทนา
อริยมรรคมีองค์แปดเป็นหนทางเดียวที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
ขออนุโมทนา