พระพุทธเจ้า..ทรงย่างพระบาท....อัศจรรย์!
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
ข้อความบางตอนจาก
พรหมมายุสูตร
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สุปติฏฺิตปาโท ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคล ทั้งหลายเหล่าอื่นวางเท้าไว้เหนือพื้นดิน ปลายเท้าก็ดี ส้นเท้าก็ดี ด้านข้างก็ดี จะถูกพื้นก่อน หรือว่ากลางเท้าเว้า เมื่อยกขึ้น ส่วนหนึ่งที่ปลายเท้า เป็นต้น จะยกขึ้นก่อน แต่ของพระองค์มิได้เป็นอย่างนั้น. ฝ่าพระบาททั้งสิ้นของพระองค์ จะถูกพื้นพร้อมกันทีเดียว ดุจพื้นลาดพระบาททอง ฉะนั้น ยกจากพื้นก็พร้อมกัน เพราะ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น มีพระบาทประดิษฐานอยู่เป็น อันดี
ในข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนั้น มีข้อที่น่าอัศจรรย์ดังต่อไปนี้ แม้หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจัก เหยียบเหวลึกถึงหลายร้อยชั่วคน ในทันใดนั้นที่ที่ลุ่มก็จะนูนขึ้นมาเสมอแผ่นดิน ประดุจ เครื่องสูบของช่างทองเต็มด้วยลมฉะนั้น. แม้ที่ตอนจะเข้าไปอยู่ภายใน เมื่อทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักเหยียบในที่ไกล ภูเขาแม้มีประมาณเท่าสิเนรุบรรพต ก็จะน้อมมาใกล้พระบาท ประดุจหน่อหวายที่ชุ่มน้ำแล้วฉะนั้น. จริงอย่างนั้น เมื่อคราว พระองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า จักเหยียบภูเขา ยุคนธร ภูเขาก็น้อมมาใกล้พระบาท. พระองค์ทรงเหยียบภูเขานั้น ทรงย่างพระบาท เหยียมภพดาวดึงส์ด้วยพระบาทที่สอง.
ที่พระจักรลักษณะจะพึงประดิษฐานไม่เสมอกันมิได้มี. ตอก็ดี หนามก็ดี ก้อนกรวด กระเบื้องก็ดี อุจจาระปัสสาวะก็ดี น้ำลายน้ำมูกเป็นต้น ก็ดี ที่มีอยู่ก่อนเทียว ก็ หายไป หรือจมหายเข้าแผ่นดินในที่นั้นๆ จริงอยู่ ด้วยเดชแห่งศีล ปัญญา ธรรม อานุภาพแห่งบารมี ๑๐ ประการ ของพระตถาคตเจ้า มหาปฐพีนี้ย่อมเสมอ นุ่ม เกลื่อนกล่นด้วยบุปผชาติ. พระตถาคตเจ้าทรงทอดพระบาทเสมอ (และ) ทรงยกพระบาทเท่ากัน ทรงสัมผัสแผ่นดินด้วยพื้นพระบาททุกส่วน.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัป หลังจากการได้รับการพยากรณ์ว่า จะทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจากพระพุทธเจ้านามว่าพระทีปังกร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น...
เกื้อกูลญาติมิตรด้วยพระธรรม
เมื่อมีโอกาส เกื้อกูลญาติมิตร ด้วยพระธรรมสั้นๆ ข้อหนึ่งข้อใดเมื่อถึงกาลที่สมควร ที่เป็นประโยชน์กับเขาขณะนั้นเป็นการแสดงธรรมแสดงสิ่งที่ถูกที่ควร ซึ่งจะอุปการะผู้นั้นให้มีการระลึกได้
ขออนุโมทนาในการเกื้อกูลมิตรสหายด้วยพระธรรมซึ่งอัศจรรย์ใจ น่าทึ่ง อันเป็นปัจจัยให้เกิด "พุทธานุสสติ"