มัจฉริยะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  10 ต.ค. 2550
หมายเลข  5077
อ่าน  11,681

มัจฉริยะ คือความตระหนี่ ๕ อย่างได้แก่

๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่อาศัย

๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล

๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ

๔. วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ คือคำสรรเสริญ

๕. ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม

ข้อความในอัฏฐสาลินี ทุกนิกเขปกถา แสดงอรรถแห่ง มัจฉริยะตามไวพจน์ (คำที่มีความหมายคล้ายกันหรือเหมือนกัน) มีข้อความว่า ที่ชื่อว่าการตระหนี่ เนื่องด้วยความเหนียวแน่น อาการเหนียวแน่น ชื่อว่ากิริยาที่ตระหนี่ภาวะแห่งจิตที่ถูกความเหนียวแน่นให้เป็นไปแล้ว มีความพร้อมเพรียงอยู่ด้วยความเหนียวแน่นชื่อว่าความตระหนี่ บุคคลชื่อว่าผู้หวงแหนด้วยอรรถว่าไม่ปรารถนาจะให้สมบัติของตนทั้งหมดซึมซาบไป ปรารถนาว่าขอจงเป็นของเราเท่านั้น อย่าเป็นของคนอื่นเลยภาวะแห่งบุคคลผู้หวงแหนชื่อว่า "ความหวงแหน" นี้ เป็นชื่อแห่งมัจฉริยะอย่างอ่อน บุคคลผู้ไม่มีความเอื้อเฟื้อ เรียกว่า"คนเห็นแก่ตัว"ภาวะแห่งคนเห็นแก่ตัวนั้นชื่อว่า "ความเห็นแก่ตัว" นี้เป็นชื่อแห่งมัจฉริยะอย่างกระด้างจริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยความเห็นแก่ตัวนั้นย่อมห้ามแม้คนอื่นให้ทานแก่คนอื่น... บุคคลใดเห็นยาจกแล้วคับใจ คือ เหี่ยวหดด้วยความ ขมขื่น เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่า กฏุกญฺจุโก แปลว่าคนมีใจคับแคบ ภาวะแห่งคนใจแคบนั้นชื่อว่าความมีใจคับแคบ อีกนัยหนึ่งความเป็นคนใจแคบเหมือนเครื่องคดหรือทัพพี เรียกว่ากฏุกญฺจุกตา จริงอยู่ บุคคลเมื่อจะคดข้าวในหม้อซึ่งเต็มเสมอขอบปาก ย่อมเอาปลายทัพพีซึ่งแคบไปเสียทุกส่วนคดเอา ย่อมไม่สามารถจะคดให้เต็มได้ จิตของบุคคลผู้ตระหนี่ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อมคับแคบ เมื่อจิตนั้นคับแคบแม้กายก็คับแคบ ถดถอยไม่คลี่คลายเหมือนเช่นนั้น เพราะฉะนั้นความตระหนี่จึงตรัสเรียกว่า กฏุกญฺจุกตา แปลว่าความเป็นคนใจแคบเหมือนเครื่องคดคือทัพพี

คำว่า "ความกันเอาไว้แห่งจิต" ได้แก่ ความที่จิตกันเอาไว้โดยไม่ยอมคลี่คลายตามอาการ มีการให้ทานเป็นต้น ในการกระทำอุปการะแก่คนเหล่าอื่น ก็เพราะบุคคลตระหนี่ย่อมเป็นผู้ไม่อยากให้ของของตนแก่คนอื่นอยากแต่จะรับเอาของของคนอื่น ฉะนั้น พึงทราบความที่ความตระหนี่นั้นมีการซ่อนสมบัติของตนเป็นลักษณะบ้าง มีการถือเอาเป็นสมบัติของตนเป็นลักษณะบ้าง เกี่ยวกับความเป็นไปว่า"ความอัศจรรย์นี้จงเป็นของเราเท่านั้นอย่าเป็นของคนอื่นเลย" ดังนี้

ข้อความดังกล่าวเป็นการตรวจสอบสภาพจิตใจของ ปุถุชนผู้ยังไม่ได้ดับมัจฉริยะเป็นสมุจเฉท เพราะพระอริยบุคคลเท่านั้นที่ดับมัจฉริยะเป็นสมุจเฉท ขณะใดที่โทสะ มานะ หรือ ริษยา หรือ มัจฉริยะเกิด ขณะนั้นจิตปราศจากเมตตา บุคคลที่อบรมเจริญเมตตาจึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และรู้สภาพลักษณะของจิตใจขณะที่คิดถึงบุคคลต่างๆ จากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่ง ไม่ควรจะเป็นผู้ที่ยินดีเพียงสามารถที่จะเมตตาได้ในบุคคลบางพวก แต่จะต้องเป็นผู้ที่ไม่อิ่ม ไม่พอในการเจริญเมตตาให้มากขึ้น

..จากหนังสือ "เมตตา"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 10 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ตุลา
วันที่ 11 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 ต.ค. 2550

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
medulla
วันที่ 11 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Komsan
วันที่ 12 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Thanapolb
วันที่ 25 ม.ค. 2555

เมื่อเช้าขณะขับรถฟังสนทนาและบรรยายธรรมะของท่านอ.สุจินต์ ช่วงมาทำงานถึงตอนที่ท่านบรรยายถึงมัจฉริยะ เลยอยากเข้าใจในข้อสงสัยบางประการครับ ขอท่านผู้รู้เมตตาชี้แนะครับ กรณีมีคนจะทำบุญอาจกัลพระสงฆ์ผู้มีมิฉาฐิติหรืออาจมีข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสม แล้วเราบอกมัคทายกนั้นว่า ไม่่เหมาะสมควรไปถวายกับผู้อื่นเสีย อย่างนี้เป็นลาภมัจฉริยะไหม

อีกกรณีบุคคลที่มีวิชาความรู้ทางโลก หรือนักธุรกิจก็หวงวิชาการไม่ให้ตู่แข่งล่วงรู้ความลับ เพิ่อไม่ให้เขาแข่งขันในธุรกิจของเราได้ดีกว่าเรา อย่างนี้เป็นธรรมมัจฉริยะ หรือไม่และถ้าเป็นเป็นลาภมัจฉริยะด้วยหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
isme404
วันที่ 6 ธ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 28 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ