ไมตรี
โลภะไม่ใช่สติ การตรึกนึกคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่สติปัฏฐานสติปัฏฐานต้องเป็นสภาพธรรมที่ไม่หลงลืม ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏผู้ที่จะอบรมเจริญเมตตาก็จะต้องเริ่มจากการรู้ลักษณะของเมตตาเสียก่อน
ในอัฏฐสาลินี อรรถกถา พระธัมมสังคณีปกรณ์ ทุกนิกเขปกถา
เหตุโคจฉกะ พระบาลีนิทเทส
อโทสะ (๑๐๖๒) มีข้อความว่า
ที่ชื่อว่า "ไมตรี" เนื่องด้วยเป็นกิริยาที่สนิทสนม
อาการเมตตา ชื่อว่ากิริยาที่สนิทสนม
ภาวะแห่งจิตอันเมตตาให้เป็นไปแล้ว มีความพรั่งพร้อมด้วยเมตตา ชื่อว่า ความสนิทสนม
ที่ชื่อว่า "การเอ็นดู" ด้วยอรรถว่า คอยปกป้อง อธิบายว่า คอยคุ้มครอง
อาการที่คอยปกป้อง ชื่อว่า "กิริยาที่เอ็นดู"
ภาวะแห่งจิตที่คอยปกป้อง ชื่อว่า"ความเอ็นดู"
ที่ชื่อว่า "ความแสวงหาผลประโยชน์เกื้อกูล" เนื่องด้วยคอยแสวงหาแต่ประโยชน์เกื้อกูล
ที่ชื่อว่า "ความสงสาร" เนื่องด้วยคอยหวั่นไหวตามไปด้วย
ด้วยบททั้งหมดเหล่านี้ ตรัสถึงเมตตาอันถึงขั้นอุปจาระและอัปปนานั่นเองด้วยบทที่เหลือตรัสถึงอโทสะอันเป็นโลกียะและ โลกุตตระ
ขอให้พิจารณาพยัญชนะที่ว่าที่ชื่อว่า "ไมตรี" เนื่องด้วยเป็นกิริยาที่สนิทสนม กำลังนั่งกันอยู่ในที่นี้หลายคน มีความรู้สึกเป็นมิตรมีความสนิทสนมด้วยใจจริงหรือเปล่า ถ้าด้วยใจจริงในขณะนั้นคือลักษณะของเมตตาไม่ว่าจะประสพบเห็น ใครในห้องนี้นอกห้องนี้ตามถนนหนทาง ในรถประจำทาง มีความรู้สึกเป็นมิตรต่อทุกคนหรือไม่ ถ้ายังไม่รู้สึกเป็นมิตรต่อทุกๆ คนที่ได้พบก็ยังไม่ต้องไปท่องถึงสัตว์ทั้งปวง เพราะว่าเป็นการไร้ประโยชน์ ในเมื่อบุคคลที่กำลังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้มองแล้วขุ่นใจ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งแผ่เมตตาถึงสัตว์ทั้งปวงจนกว่าอัปปนาหรือฌานจิตเกิดแล้วจึงจะแผ่ได้เพราะว่าเมตตาพรหมวิหารเป็นพรหมวิหารที่กว้างขวางหาประมาณไม่ได้ แต่ต้องเริ่มจากเมตตาจริงๆ
..จากหนังสือ "เมตตา" เปิดอ่าน --> คลิกที่นี่