ลักสิ่งของของสัตว์เดรัจฉานและอมนุษย์

 
หาคำตอบ
วันที่  16 ต.ค. 2550
หมายเลข  5138
อ่าน  1,973

ความคิดเห็นที่ 9

ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับที่ว่า ถ้าลักสิ่งของของสัตว์เดรัจฉานและอมนุษย์ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 16 ต.ค. 2550

การอธิบายศีลข้อที่ ๒ ตามอรรถกถาพระวินัยท่านอธิบายว่า การถือเอาสิ่งของของสัตว์เดรัจฉานและของอมนุษย์ พระภิกษุไม่เป็นอาบัติ และไม่เป็นอกุศลกรรมบถ ดังข้อความต่อไปนี้

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

ไม่อาบัติเพราะสมบัติของสัตว์ดิรัจฉาน [มหาวิภังค์]

ฉะนั้นสิ่งของที่ผู้อื่นหวงแหนหมายถึงสิ่งของของมนุษย์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
หาคำตอบ
วันที่ 18 ต.ค. 2550

ได้อ่านแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจน ท่านกล่าวถึงพระภิกษุผู้มีตาทิพย์ รู้ว่าอมนุษย์แปลง มา การถือเอาอย่างนั้นคงไม่ใช่ด้วยไถยจิต รบกวนถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม ได้อ่าน อนาบัติ ในข้อที่ ๕. ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้วถือเอาผ้าบังสกุลที่ศพสด และในร่างศพ สดนั้นมีเปรตสิ่งอยู่ เปรตนั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้า สาฎกของข้าพเจ้าไป ภิกษุ นั้นไม่เอื้อเฟื้อ ได้ถือเอาไป ทันใดนั้นศพลุกขึ้นเดินตาม ภิกษุไป ภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหาร ปิดประตู ร่างศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั่น เธอรังเกียจว่า เราต้องปาราชิกแล้ว จึงทูลถาม... ตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอาต้องอาบัติทุก กฎ ได้อ่านข้อความนี้แล้ว แม้สิ่งของที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน แต่เป็นการกระทำที่เบียด เบียน ให้สัตว์อื่นเดือดร้อนก็ไม่ควร ถ้าถือเอาต้องอาบัติทุกกฎ อ่านแล้วขัดๆ กัน ขอ ความกรุณา ช่วยอธิบายเพิ่มเติม ลักของสัตว์และอมนุษย์ไม่อาบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 18 ต.ค. 2550

เมื่อกล่าวถึงศีลข้อที่ ๒ อทินนาทาน การลักหรือถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ คำว่า สิ่งของที่ ผู้อื่นหวงแหน ท่านมุ่งหมายเอาสิ่งของของมนุษย์ด้วยกัน ถ้าถือเอาสิ่งของที่ อมนุษย์หวงแหน ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ ส่วนการเบียดเบียนสัตว์อื่นหรือขาดเมตตาแก่ สัตว์อื่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือว่า โดยธรรมะแล้วไม่ควรถือเอาสิ่งของของใครๆ ทั้งสิ้น อนึ่งในพระวินัยกล่าวถึงการถือเอาด้วยจิตคิดขโมย แม้เป็นสิ่งของที่ผู้อื่นไม่หวงแหนก็ เป็นอาบัติ เพราะถือเอาด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ แต่การถือเอาของที่อมนุษย์หวงแหนไม่เป็น อาบัติ ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
หาคำตอบ
วันที่ 18 ต.ค. 2550

แต่การถือเอาของที่อมนุษย์หวงแหนไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ

จากข้อความนี้ ควรเข้าใจว่า ไม่เป็นไปด้วยไถยจิตใช่หรือไม่ ไม่ทราบว่ามีพระสูตรทรง แสดงเรื่องเป็นมูลแบบนี้หรือไม่

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 18 ต.ค. 2550

ขอเรียนถามท่านวิทยากร

ท่านกรุณาอธิบายให้ทราบได้หรือไม่ว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงไม่ห้ามการถือ เอาสิ่งของ (เฉพาะ) ของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์

ในอดีต พระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ แต่ไม่ได้เสวย เพราะผลกรรมที่เคยห้ามโคดื่มน้ำ ขุ่น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติอาบัติแก่ภิกษุที่ตัดต้นไม้ เพราะเหตุหนึ่งคือ เทวดาไม่ มีที่อยู่ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ การเบียดเบียนทุกชนิด เหตุใดจึงกล่าวว่า การ ถือเอา สมบัติของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นสิ่งที่ควร เพราะแม้สิ่งนั้นไม่ใช่มนุษย์ แต่ก็มี จิต ทุกข์สุข เช่นเดียวกับมนุษย์ การถือเอาเช่นนั้นเขาก็เสียประโยชน์เช่นเดียว กับมนุษย์ เข้าใจผิดถูกประการใด กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ครูโอ
วันที่ 18 ต.ค. 2550

แทบทุกๆ พระสูตร ที่มีเนื้อความเกี่ยวกับ อทินนาทาน ได้ความสรุปว่าสิ่งของที่ผู้อื่นหวงแหน พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง สิ่งของที่เป็นของมนุษย์เท่านั้นครับ การที่ภิกษุถือเอาสิ่งของจาก"อมนุษย์"นั้น ไม่ว่าจะเป็นของเปรต หรือของเทวดา ผมตีความหมายตามความคิดเห็นส่วนตัวเป็นนัยต่างๆ ได้ดังนี้ครับ (โปรดพิจารณา)

๑. เปรต หรือ เทวดา มีอาหาร หรือเครื่องใช้ ที่ใช้ได้เฉพาะในภพภูมิของตน ไม่ได้มี กิจการหรือเหตุสมควรอันใดที่จะมายึด ครอบครองสิ่งที่อยู่ในภพภูมิมนุษย์เลย

๒. เปรต หรือ เทวดา ไม่อยู่ในวิสัยที่จะครอบครองสิ่งของที่ไม่ได้อยู่ในภพภูมิของตน เปรตอดอยากแต่ก็มีอาหารเปรต เช่นเปรตบางจำพวกขูดเนื้อตนเองกิน ส่วนเทวดา มีอาหารทิพย์ เครื่องใช้ ที่อยู่ ล้วนน่าพิรมย์ ทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เหตุนี้ การถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของ "อมนุษย์" เพื่อยังประโยชน์แก่อัตภาพของภิกษุเท่านั้นจึง เป็นสิ่งควร คือสามารถที่จะถือเอาได้โดยพิจารณาแล้วว่าไม่ได้ทำให้ "อมนุษย์" นั้น เดือดร้อน แต่ถ้ามีอกุศลจิตเกิด แล้วก่ออกุศลกรรมเบียดเบียนด้วยในขณะนั้น ก็ ย่อมจะต้องเสวยผลกรรมตามที่คุณพุทธรักษากล่าวไว้ครับ จึงต้องดูที่เจตนาว่าจะ เป็นไปในทาง "กุศล" หรือ "อกุศล" ครับ

๓. จากข้อ ๑ และ ๒ การที่ภิกษุจะมีเถยยะ (กิริยาของโจร) ขโมยได้ จึงต้องเป็นสิ่ง ของในภพภูมิมนุษย์ที่มีค่า โดยเจ้าของหรือคณะหวงแหนครับ

๔. ของที่ถวาย หรือกระทำการบูชาเทวดา เช่นการเอาผ้าสาฎกไปพัน หรือคล้องไว้ที่ ต้นไม้ ท่านใช้คำว่าไม่มีคำที่ควรจะกล่าว แต่ก็ไม่ได้บอกเอาไว้ว่า ห้ามถือมา หรือ เอามาใช้ครับ


[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๑

บทว่า ตาวกาลิเก ความว่า สำหรับภิกษุผู้ถือเอาด้วยคิดอย่างนี้ว่าเราจักให้คืน จักทำคืน ไม่เป็นอาบัติ เพราะการถือเอาแม้เป็นของยืม. แต่สิ่งของที่ภิกษุถือเอาแล้ว ถ้าบุคคลหรือคณะผู้เป็นเจ้าของๆ สิ่งของ อนุญาตให้ว่า ของสิ่งนั่นจงเป็นของท่านเหมือนกัน ข้อนี้เป็นการดี ถ้าไม่อนุญาตไซร้,เมื่อให้นำมาคืน ควรคืนให้. ส่วนของๆ สงฆ์ ควรให้คืนที่เดียว. ก็บุคคลผู้เกิดในเปรตวิสัยก็ดี เปรตผู้ที่ทำกาละแล้ว เกิดในอัตภาพนั้นนั่นเองก็ดี เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกเป็นต้นก็ดี ทั้งหมดถึงความนับว่า เปรต เหมือนกันในคำว่า เปตปริคฺคเห นี้ ไม่เป็นอาบัติในทรัพย์อันเปรตเหล่านั้นหวงแหน. จริงอยู่ ถ้าแม้ท้าวสัก-กเทวราชออกร้านตลาดประทับนั่งอยู่ และภิกษุผู้ได้ทิพยจักษุ รู้ว่าเป็นท้าวสักกะ แม้เมื่อท้าว สักกะนั้นร้องห้ามอยู่ว่า อย่าถือเอาๆ ก็ถือเอาผ้าสาฎกแม้มีราคาตั้งแสน เพื่อประโยชน์แก่จีวรของตนไป การถือเอานั้น ย่อมควร. ส่วนในผ้าสาฎก ที่เหล่าชนผู้ทำพลีกรรมอุทิศพวกเทวดา คล้องไว้ที่ต้นไม้เป็นต้น ไม่มีคำที่ควรจะกล่าวเลย


ผิดถูกประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หาคำตอบ
วันที่ 19 ต.ค. 2550

อนุโมทนา ครูโอค่ะ จะช่วยกรุณาตอบข้อที่ว่าลักของสัตว์เดรัจฉาน คือ สัตว์มีสิ่งที่ หวงแหนคือลูก ถ้าเกิดถูกพรากไป ไม่ผิดได้อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ครูโอ
วันที่ 19 ต.ค. 2550

ถ้าผมตีความเอง ก็มีโอกาสที่จะเข้าใจพระพุทธพจน์ผิดได้โดยง่าย และจะเหมือน กับว่าเราเสนอความคิดของตนเองเป็นหลัก ความจริงคือ พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรง บัญญัติไว้ล้วนแต่มีเหตุเกิดมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทุพภิกขภัย ความแห้งแล้ง ความอดอยาก หรือเป็นปัญหาที่มาจากภิกษุที่เข้ามาบวชในพระศาสนาได้ก่อไว้ แล้ว ภายหลังถูกติเตียนจากคฤหัสถ์ หรือจากบรรพชิตด้วยกันเอง จึงต้องทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้เป็นข้อปฏิบัติที่จะกัน อกุศล ที่จะเกิดประการต่างๆ แม้แต่ในกรณีที่จำเป็นครับ เหตุผลจากเหตุการณ์ในอดีตบางกรณี เราไม่อาจจะเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์ได้ด้วยการตรึกจริงๆ เพราะจะตรึกเท่าไร หรือหาใครมาตัดสินก็ไม่ทำให้ เราหายสงสัยได้ แต่ก็เชื่ออย่างหนึ่งว่า..พุทธเจ้าทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงเปี่ยม ไปด้วยพระบริสุทธิคุณ..เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์ ก็จะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยไว้เพื่อ ให้ภิกษุคิดเอาเองแล้วไปก่อเหตุเช่นนั้นเป็นแน่แท้ครับ เพราะฉะนั้น...จะขออธิบายแยกเป็นนัย เพื่อให้ผู้อ่านได้พิจารณาถึงเหตุผลด้วยตัว

ท่านเองผิดถูกประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้าครับหากลองย้อนกลับไปพิจารณาข้อความนี้อีกครั้ง

ราชสีห์ หรือ เสือโคร่งฆ่าสัตว์มีเนื้อและกระบือเป็นต้นแล้ว แต่ยังไม่เคี้ยวกิน ถูกความหิวเบียดเบียน ไม่พึงห้ามในตอนต้นทีเดียว เพราะว่ามันจะพึงทำแม้ความฉิบหายให้. แต่ถ้าเมื่อราชสีห์เป็นต้นเคี้ยวกินเนื้อเป็นอาทิไปหน่อยหนึ่งแล้ว สามารถห้ามได้ จะห้ามแล้วถือเอาก็ควร อาหารของพวกสัตว์ดิรัจฉานบางพวกได้มาแล้วก็กิน กินอิ่มแล้วก็ทิ้งไป บางพวกก็สะสมอาหารตุนไว้ตามหน้าที่ แต่ก็ไม่มีสัตว์ใดที่ตั้งตนเป็นเจ้าของของสิ่งนั้นโดยแท้จริงเลย มนุษย์เองต่างหากที่คิด แล้วก็เข้าไปจัดแจงว่า สิ่งนี้เป็นของสัตว์นี้ ไม่เป็นของสัตว์นั้น ทั้งๆ ที่มันก็เพียงแต่ทำตามสัญชาตญาณ (ตามกิเลส) ไม่ได้ตรึกหาเหตุผลว่า ทำไมต้องครอบครองไว้ หรือตรึกหาเหตุผลเพื่อจะยับยั้งชั่งใจว่า ไม่ควรพรากลูกสัตว์ของอื่น ความรักลูกของมันก็เป็นไปด้วยโลภะเช่นเดียวกัน แต่กลับไม่ได้ขวนขวายหาสิ่งต่างๆ เพื่อลูกด้วยการคำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวเมื่อตอนที่ลูกของมันเจริญวัย (แต่สำหรับมนุษย์ พ่อแม่ก็จัดแจงอนาคตของลูกไว้ วางแผนต่างๆ ไว้ก่อนแล้ว) ยิ่งไปกว่านั้น สัตว์บางจำพวกกินลูกของมันหลังจากที่มันคลอด บางจำพวกตัวเมียก็ปล่อยให้ตัวผู้ดูแล บางจำพวกก็ทิ้งลูกของมันไปให้เจริญเติบโตเอง บางจำพวกก็ให้สัตว์อื่นเลี้ยงลูกของมันแทน หรือบางจำพวกก็ดูแลลูกของมันด้วยตัวของมันเอง ฯลฯ จะเห็นได้ว่า มนุษย์ซึ่งเกิดจากกุศลวิบากต่างหาก ที่แสวงหาสิ่งต่างๆ มาเพื่อจะช่วยบรรเทาความขัดสน หรือเพื่อคลายความกลัวภัยของตนเอง จึงได้มารวมกันอยู่เป็นสังคมเพื่อเกื้อกูลกัน แต่ความที่ยังหลง เขลา ไม่รู้ว่าตนเองอยู่ในโลกแห่งความนึกคิดโดยตลอด และไม่รู้ว่ามีกิเลสลึกหนาลงไปในจิต "โลภะ" จึงพัดพาให้ไหลไปกับกระแสความติดข้องต้องการในสิ่งต่างๆ เมื่อมีการคิดตรึกไปในสิ่งที่อยากได้ เพราะเคยได้บ้าง ยังไม่เคยได้บ้างก็ยิ่งอยากได้แล้วอยากได้เล่า พอได้แล้วก็ดูเหมือนจะพอ แต่ก็ไปติดข้องในสิ่งอื่นใหม่ โลภะจึงไม่ได้ทำให้ใครเคยอิ่ม หรือว่าพอจริงๆ นานวันเข้า ก็เกิดการเบียดเบียนกันมากขึ้นๆ ดังจะเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน
จะขอยกตัวอย่างเรื่องๆ หนึ่งที่เคยอ่านจากพระไตรปิฎกโดยย่อครับ เรื่องมีว่า...พระราชาสั่งสมทรัพย์ไว้ ไม่ย่อมแจกให้ประชาชนที่ขัดสน ก็เลยเกิดการขโมยขึ้น พวกทหารจับตัวขโมยได้ ขโมยก็สารภาพกับพระราชาว่าตนยากจน พระราชาตรึกแล้วก็ประทานทรัพย์ให้ไปเผื่อญาติของเขาด้วย (ความตรึกนึกคิดของมนุษย์ด้วยแรงของกุศลนี่ก็น่าอัศจรรย์) คนอื่นๆ รู้ (เกิดโลภะ) จึงคิดว่า "การขโมยนั้นผิด แล้วก็ไม่ได้รับโทษอะไร ถ้าเราจะลักทรัพย์แล้วสารภาพ พระราชาก็คงจะประทานทรัพย์ให้เราเช่นกัน" (ตรึกตามกำลังของโลภะก็ยิ่งชวนให้หวังขึ้นอีก) ก็เลยพากันไปเป็นขโมยของ พอคนหนึ่งถูกทหารจับได้...ก็เลยรับสารภาพผิด แต่คราวนี้พระราชาคิดว่า ถ้าเราให้อีก ก็จะไม่เป็นการดี (โลภะทำให้ไม่คิดจะสละ) ก็เลยสั่งให้ทหารนำคนๆ นั้นไปตัดหัวประจาร คนอื่นๆ ที่เคยขโมยก็ตรึกคิดไปอีกว่า ถ้าอย่างไร หากพวกเราจะลับอาวุธของมีคมแล้วปล้มสะดมเยี่ยงโจรเพื่อให้ได้ทรัพย์ คงจะเป็นการดีกว่าที่จะยอมไปสารภาพแล้วถูกพระราชาตัดหัว (นี่คือความน่ากลัวของอกุศลวิตกด้วยแรงแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ ในมนุษย์ ซึ่งในสัตว์ดิรัจฉานอื่นไม่คิดไปไกลอย่างมนุษย์ขนาดนี้ครับ)

ด้วยเหตุนี้ หากเพื่อจะยังอัตภาพของตนให้อยู่รอด โดยที่ภิกษุไม่มีเจตนาเบียดเบียนสัตว์นั้นก็เป็นสิ่งที่ควร แต่ก็ยากจริงๆ ที่จะตัดสินขณะจิตได้ ถ้าหากว่าขณะนั้นสติไม่เกิด เพราะว่า"จิต"เกิดดับอย่างรวดเร็วและอกุศลก็เกิดมากในปุถุชน เจตนาที่เป็นอกุศล ก็อาจจะเกิดดับสลับกันกับ เจตนาที่เป็นกุศลก็ได้ ในกรณีการพรากลูกสัตว์ ภิกษุมีเพียงคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ไม่มีกิจที่จะต้องพรากลูกสัตว์ใดมาเลี้ยง แต่ฆราวาสเองต่างหากที่แสวงหาสัตว์มาเลี้ยงตามอำนาจของกิเลสในตน ถ้าอย่างกรณีที่เอาลูกของสัตว์อื่นมาโดยการพราก ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันมีพ่อแม่ ก็เป็นเจตนาที่จะกระทำอกุศลกรรมเพื่อเบียดเบียนสัตว์นั้นโดยจงใจ แม้จะไม่ผิดข้อลักขโมย แต่ก็ไม่ควรจะกระทำโดยเหตุผลประการใดๆ ทั้งสิ้นครับ


ผมคงอธิบายได้ตามกำลังของปัญญาเท่านี้ สหายธรรมผู้ที่ศึกษาพระธรรมแล้วเกิดปัญญาเห็นถูก ถึงแม้จะไม่เข้าใจเหตุผลที่ทรงบัญญัติอย่างนั้น แต่ก็คงจะเห็นภัยในอกุศลจิตของตนในแต่ละวันว่าเป็น "ธรรมะ" ไม่ใช่เรา บ้างแล้วนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
หาคำตอบ
วันที่ 19 ต.ค. 2550

คำตอบชัดเจนเป็นที่เข้าใจ ทั้งพระสูตรที่ยกมาและความเห็นส่วนตัว

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 ต.ค. 2550

ข้าพเจ้าคิดว่า การกระทำสิ่งใด ที่เป็นเหตุให้เกิด อกุศลวิตก ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ควรเว้น (ถ้าเว้นได้) ตราบใดยังไม่ใช่พระโสดาบัน ยังไม่พ้นจากอบายภูมิสำคัญที่ขณะนี้ ยังมีโอกาสอบรมเจริญปัญญา ความสงสัย ก็มีลักษณะอย่างนี้เอง

ขออนุโมทนาคุณครูโอ ที่กรุณาแนะนำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
aditap
วันที่ 25 ต.ค. 2550

ขอขอบพระคุณและขออุโมทนาที่ช่วยกรุณาให้คําตอบ ที่อ่านแล้วช่วยให้เข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 20 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ