การฝึกสมถกรรมฐานที่ถูกต้อง?

 
Atom
วันที่  19 ต.ค. 2550
หมายเลข  5168
อ่าน  16,431

ผมได้เรียนรู้การฝึกสมถกรรมฐานจากอาจารย์ผู้รู้ท่านหนึ่ง คือการฝึกการเข้ารูปฌาน ๔ และกำหนดองค์ภาวนาแบบกายานุคติ (เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ) และมีข้อสงสัยครับคือ ผมได้อ่านในพระไตรปิฏกฉบับ ๙๑ เล่มของมหามงกุฏ พบข้อความดังนี้
ศีลยังไม่ดี – กังวลยังมี ห้ามเรียนกรรมฐาน หากเรียนมีผลทำให้จิตวิปลาส หรือบ้าได้อยู่ใน เล่ม ๒ หน้า ๓๕๐ ดังนี้

.....เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้นก็ควรตัดปลิโพธ (ความกังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่าง ที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น คือ

๑. อาวาส (ที่อยู่)

๒. ตระกูล

๓. ลาภ (ปัจจัยสี่)

๔. คณะ (คือหมู่)

๕. การงาน (คือการก่อสร้าง)

๖. อัทธานะ (คือเดินทางไกล)

๗. ญูาติ

๘. อาพาธ (เจ็บป่วย)

๙. คัณฐะ (คือการเรียนปริยัติ)

๑๐. อิทธิฤทธิ์

ควรเรียนกรรมฐานกับผู้แตกฉานพุทธพจน์ เล่ม ๒ หน้า ๓๕๒ อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌาน (ฌาน ๔) เกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์ เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ (อาจารย์ผู้แตกฉาน) ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น

จากข้อความดังกล่าว

๑. ผมเคยฝึกอยู่ทุกวัน พอมาเจอข้อความในพระไตรปิฏก เลยถอดใจมาฝึก เฉพาะวันพระครับ เคยให้สหายธรรมท่านหนึ่ง ถามท่านอาจารย์ที่สอนกรรมฐาน ท่านบอกว่าอาจารย์ของอาจารย์ท่านรู้ ท่านสอนศิษย์ถูกต้องแล้ว และรู้วิธีการเข้า ออกฌานดีแล้วและต้องรักษาศีล ๕ หากศีลเคยขาดมา ก็ให้วิรัติศีลใหม่ ก่อนนั่งกรรมฐาน และการขจัดกังวล ก็คือ ให้มีอุบายจากการกำหนดองค์ภาวนาจาก ๒ วิธีนี้ สามารถใช้ได้หรือไม่ ผมต้องขออภัยไม่มีเจตนาที่จะลบหลู่ความรู้ท่านอาจารย์ แต่มีข้อสงสัย หากผิดจะได้แก้ให้ถูกเพราะมีสหายธรรมหลายคนปฏิบัติเช่นนี้อยู่ กลัวว่า คนเหล่านั้นจะเป็นบ้าเพราะเคยได้ยินคนฝึกกรรมฐานแล้วเป็นบ้าครับ

๒. แล้วการฝึกที่ถูกต้องตามแบบของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นไรครับ

๓. การที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การฝึก ภาวนากรรมฐาน ได้บุญมากเพียงแค่ สมาธินิ่งในระยะ ช้างกระดิกหู หรือเพียงแค่ระยะสูดของหอม คำว่า นิ่ง ในที่นี้คือได้ ฌาน ๑ (ตัด วิตก วิจารณ์ ในขั้นอัปนาสมาธิ หรือขั้นแก่ ใช่มั๊ยครับ?)

๔. อภิญญา ๖ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการฝึกสมถกรรมฐาน เกิดจากอะไรครับ? เกิดขึ้นได้อย่างไร และทุกคนจะมีได้ทุกตัว หรือบางตัวครับ ขอบคุณทุกท่านที่ให้คำตอบและธรรมทานและขออนุโมทนาในบุญแห่งธรรมทานนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 19 ต.ค. 2550

-ควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนที่จะทำอะไร มิฉะนั้นจะเป็นการปฏิบัติผิด

- การฝึกที่ถูกต้องคือ รู้ตามที่ทรงแสดง จิตเป็นกุศล สงบจากอกุศล

- ภาวนาที่มีผลมาก หมายถึงวิปัสสนาภาวนา (อนิจจสัญญา) ไม่ใช่การนั่งสมาธิ

- อภิญญา ๖ เป็นผลจากการอบรมเจริญภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด (อรูปฌาน) ไม่ใชเรื่องง่าย และอภิญญาที่ ๖ คือ อาสวขยญาณ ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นจึงจะมีได้ คนทั่วไปมี ไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Atom
วันที่ 6 พ.ย. 2550

แล้วเราสามารถศึกษาพระธรรมพร้อมกับการปฏิบัติภาวนาควบคู่กันไปได้หรือไม่? ตอนนี้ผมก็ศึกษามาได้ระยะหนึ่งศึกษาจากพระไตรปิฏกฉบับมหามงกุฏ ๙๑ เล่มครับใน CD แต่ก็เลือกอ่านดูในแต่ละหมวด เช่น ในพระวินัย พระสุตตันตปิกก และพระอภิธรรม บางเล่มเพราะมีเนื้อหามากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 6 พ.ย. 2550

เมื่อศึกษาจนเริ่มเข้าใจ สติสัมปชัญญย่อมเกิดขึ้นกระทำกิจคือ สติระลึกเป็นไปในสมถภาวนาและสติปัฏฐานตามสมควร เช่น การระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณพระสงฆคุณ ศีล จาคะ ความตาย เมตตา เป็นต้น ขณะนั้นจิตย่อมสงบจากอกุศลทั้งหลายเรียกว่าสมถะ หรือสติระลึกรู้ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นสติปัฏฐาน สรุปคือ ความจริงแล้วไม่ควรแยกว่า เวลานี้ศึกษา เวลานี้ปฏิบัติ แต่สติสัมปชัญญะ เกิดขึ้นแม้ในขณะที่ฟังชื่อว่า ปฏิบัติ แต่ไม่ใช่ตัวเราไปทำ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 20 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 3 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ