จิตหรือเจตสิก ครับ?
ตามหลักอภิธรรม จิตที่ประกอบด้วยกุศลเรียกว่า กุศลจิต ตามความเป็นจริงแล้ว คือจิตที่ประกอบไปด้วยเจตสิกที่เป็นกุศล ควรเรียกว่า กุศลเจตสิกใช่ไหมครับ
ตามหลักของพระอภิธรรม เมื่อกล่าวถึงกุศลจิต หมายรวมถึง จิตและเจตสิก คือจิตที่ประกอบด้วยกุศลหรือโสภณเจตสิก จิตนั้นเรียกว่า กุศลจิตหรือโสภณจิต
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องจิต ก็ต้องอาศัยเจตสิกมาอธิบายลักษณะของจิตแต่ละชนิดขณะเดียวกันเมื่ออธิบายเจตสิกก็ต้องอาศัยจิตเพราะเหตุนี้จึงกล่าวว่าทั้งจิตและเจตสิกต่างอาศัยกัน เช่น เวลาที่ทรงแสดงก็จะถามว่าจิตของท่านเป็นอย่างไร ก็เพราะจิตเป็นประธานแต่ความจริงหมายรวมถึงเจตสิกที่ประกอบด้วย
"จิต" ทุกดวงที่เกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกขณะ อย่างน้อยที่สุดก็ ๗ ดวง แต่ "เจตสิก" บางเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมด้วยกับจิตทุกดวงครับ
จิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ในขณะที่จิตเกิดขึ้นแต่ละขณะนั้น ไม่มีขณะไหนเลยที่จะไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด เจตสิกเป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง โดยที่มีความเป็นไปดังนี้คือ
๑. เอกุปปาทะ (เกิดร่วมกับจิต)
๒. เอกนิโรธะ (ดับพร้อมกับจิต)
๓. เอการัมมณะ (รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต) และ
๔. เอกวัตถุ (มีที่เกิดอย่างเดียวกันกับจิต)