คำถามของเทวดา - สุพรหมสูตร

 
พุทธรักษา
วันที่  25 ต.ค. 2550
หมายเลข  5237
อ่าน  1,742

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สุพรหมสูตร

สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้น ทั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความสะดุ้งกลัวมีอยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว โปรดตรัสบอกความไม่สะดุ้งนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เรายังมองไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญาและความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง.

สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาในวิริยะในกุศลด้วยครับ

นี่ก็เป็นคำถามของเทวดาเช่นกัน

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

โอฆตรณสูตร

เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า

พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักเราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ครูโอ
วันที่ 25 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 25 ต.ค. 2550

เรียนถาม ข้อความที่ว่า

เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ จะหมายถึง การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติ (พัก) พร้อมกับ วิริยเจตสิก (เพียร) ใช่หรือไม่ครับ

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 26 ต.ค. 2550

ในอรรถกถาท่านแก้ไว้อย่างนี้ครับ

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย

อีกอย่างหนึ่งว่าด้วยตัณหาและทิฏฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม ว่าด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย

อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย

อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยสัสสตทิฏฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่า ย่อมลอย เพราะว่าภวทิฏฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชาแต่วิภวทิฏฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป.

อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจการติด (ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.

อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย ว่าด้วยอำนาจแห่งอกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม ว่าด้วยอำนาจแห่งกุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
อิสระ
วันที่ 26 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ครูโอ
วันที่ 26 ต.ค. 2550

จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม พักด้วยเจตนาที่ไม่เห็นคุณของการเจริญกุศล ไม่เห็นโทษภัยของกิเลส และยังมีตัวตน จึงทำอกุศลกรรมโดยไม่รู้ ไม่รู้ไม่พอ ยังยินดีที่จะกระทำอกุศลกรรมหนักขึ้นไปอีก ก็ทำให้ยิ่งจมลงไปให้ห้วงน้ำของกิเลสอีก เมื่อจุติจิตเกิด ถ้าอกุศลกรรมให้ผลก็ไม่พ้นจะต้องไปหมกไหม้อยู่นานในอบายภูมิ ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย.เพียรด้วยเจตนาที่จะเจริญกุศลเพราะเห็นโทษภัยของอกุศล แต่ยังไม่ได้ละตัวตน กุศลที่เจริญจึงยังผลให้ กุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิในสุคติภูมิ เมื่อรับกรรมในชาตินั้นหมดสิ้น จุติจิตเกิด ก็ยังจะต้องกลับมาเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในวัฏฏะอีก แล้วก็กระทำทั้งกรรมดี กรรมไม่ดีตามกำลังของกิเลสที่มีอีก

ค้นอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ครับ ...

อภิสังขาร

ไม่พัก ไม่เพียร - จึงเป็น มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางที่จะเป็นทางดำเนินไปสู่พระนิพพาน แต่เริ่มต้นที่การฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เกิดปัญญาเข้าใจถูกก่อนว่า แนวทางแห่งการไม่พัก ไม่เพียร ไม่ใช่ตัวตน คือการเจริญสติปัฏฐาน และการเจริญกุศลบารมีทุกประการที่มี "ปัญญา"เป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นหัวหน้า นำทางให้บารมีอื่นๆ ถูกไปตลอดทาง โดยการรู้ชัดจริงๆ ว่า ไม่มี "เรา" ที่จะไปทำอะไร แต่เป็นธรรมะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตาครับ

ค้นอ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่ครับ -->

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ต.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sam
วันที่ 26 ต.ค. 2550

พระพุทธพจน์เป็นคำสอนที่ลึกซึ้ง หากสะสมความเข้าใจมามากพอ แม้ฟังเพียงคำ หรือประโยคสั้นๆ ก็สามารถบรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
medulla
วันที่ 26 ต.ค. 2550
ขอบพระคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 2 ธ.ค. 2565

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ