ท่านพระสารีบุตร [อนาถบิณฑิกสูตร]

 
พุทธรักษา
วันที่  26 ต.ค. 2550
หมายเลข  5250
อ่าน  2,993

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

อนาถบิณฑิกสูตร

อนาถบิณฑิกเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า

"... ก็พระเชตวันนี้ อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณพำนักอยู่ พระธรรมราชาก็ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ด้วยส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชา ธรรม ศีล และชีวิตอันอุดม หาได้บริสุทธิ์ด้วย โคตร และ ทรัพย์ไม่ เพราะเหตุนั้นแหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็น ประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายอย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา ศีล และอุปสมธรรมเครื่องสงบระงับ ภิกษุใด เป็นผู้ถึงซึ่งฝั่งคือ นิพพาน ภิกษุนั้น ก็พึงเทียบเท่า ท่านพระสารีบุตรนั้น" อนาถบิณฑิกเทวบุตร ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ในที่นั้นเอง

"อานันทโพธิ์" ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 26 ต.ค. 2550

สุสิมสูตรนี้ก็กล่าวถึงคุณของพระสารีบุตร ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

๙. สุสิมสูตร

[๓๐๓] สาวัตถีนิทาน.

ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอชอบสารีบุตรหรือไม่.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาสจะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะท่านเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาชวนร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญาแหลม มีปัญญาคม มักน้อย สันโดษ สงัดกาย สงัดใจไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ โจทก์ท้วงคนผิด ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านสารีบุตร ...

[๓๐๕] ณ กาลครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรบริษัทเป็นอันมาก ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าและอานนท์เถระ กำลังกล่าวสรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จริงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จริงอย่างนั้น พระสุคต อันใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะท่านเป็นบัณฑิต ฯลฯ ตำหนิคนชั่ว ...

[๓๐๖] ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวอยู่ ...

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

สุสิมสูตร

ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงท่านพระสารีบุตร ว่า

"ท่านพระสารีบุตร คนรู้จักท่านดี ว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ มักน้อย สงบเสงี่ยม ฝึกฝนมาดี มีคุณงาม อันพระศาสดาทรงนำมาสรรเสริญ เป็นผู้แสวงคุณ"

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคาถาตอบ สุสิมเทพบุตร ปรารภถึงท่านพระสารีบุตร ว่า

"สารีบุตร ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ มักน้อย สงบ เสงี่ยม อบรม ฝึกฝนมาดีจำนงอยู่ ก็แต่กาลเป็นที่ปรินิพพาน"

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
aiatien
วันที่ 26 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 26 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ครูโอ
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ข้อความบางตอนว่าด้วยการสรรเสริญพระสารีบุตร ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

๖. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยการสรรเสริญพระสารีบุตร

[๗๔๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร ต่อหน้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาลึกซึ้งฉลาดในทางและมิใช่ทาง มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดยพิสดารก็ได้ เสียงของท่านไพเราะดังก้องเหมือนเสียงนกสาริกา ปฏิภาณเกิดขึ้นโดยไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังเสียงอันไพเราะ เป็นผู้ปลื้มจิตยินดีด้วยเสียงอันเพราะ น่ายินดี น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระสังฆรัตนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสารรีบุตร เปรียบตัวเองดั่งผ้าเช็ดธุลี ทนสิ่งต่างๆ ได้ทั้งหมด เหมือนโคเขาขาด ไม่มีพิษมีภัยกับใครเหมือนเด็กจัณฑาลที่เข้าไปในสภา ย่อมอ่อนน้อมเป็นอย่างยิ่ง เหมือนแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาดได้ เหมือนลมย่อมไม่รังเกียจที่จะพัดสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด เหมือนไฟ ย่อมไม่รังเกียจที่จะไหม้สิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด เหมือนน้ำ ย่อมไม่รังเกียจสิ่งที่สะอาดและไม่สะอาด

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
aditap
วันที่ 28 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 12 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 2 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
เข้าใจ
วันที่ 13 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
papon
วันที่ 17 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 2 ธ.ค. 2565

ยินดีในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ