เวทนา เป็นอะไร?

 
jar
วันที่  27 ต.ค. 2550
หมายเลข  5259
อ่าน  6,732

ขอรบกวนอาจารย์หรือท่านผู้รู้อธิบาย คำว่า "เวทนา" โดยความหมายว่า สิ่งนี้คืออะไร? เป็นสภาวะ? หรืออย่างไร? เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์ ใช่หรือไม่ (เวทนาในขันธ์ ๕)

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ครูโอ
วันที่ 27 ต.ค. 2550

เวทนาขันธ์ คือ เวทนาเจตสิก มีลักษณะเสวยอารมณ์คือ รู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา สังขารขันธ์ คือ เจตสิก ๕๐ ดวง มี เจตนา ศรัทธา ปัญญา โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกขณะย่อมมีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เกิดร่วมกัน แม้ว่าไม่มีโลภะเกิดขึ้น สังขารขันธ์อื่นๆ ก็เกิดขึ้น เช่น จิตเห็นเกิดขึ้น เวทนาขันธ์ก็เกิดร่วมด้วย สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา มนสิการ ชีวิตตินทรีย์) ก็เกิดขึ้นเสมอ

สรุป คือ เวทนาขันธ์หมายถึง เวทนาเจตสิกดวงเดียว ไม่ว่าจะเป็นสุข ทุกข์ อุเบกขา ก็คือ เวทนา ส่วนสังขารขันธ์ คือ เจตสิก ๕๐ ดวง ไม่มีเวทนา เจตสิก

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันที่ : 02-11-2549

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ครูโอ
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ

จิตปรมัตถ์ มี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท,

เจตสิกปรมัตถ์ มี ๕๒ ประเภท,

รูปปรมัตถ์ มี ๒๘ ประเภท

และ นิพพานปรมัตถ์

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑

ปรมัตถธรรม กับ ขันธ์ ๕

รูป ทั้งหมดเป็นรูปขันธ์

จิต ทั้งหมดเป็นวิญญาณขันธ์

เจตสิก จำแนกเป็นขันธ์ ได้ ๓ ขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ ๑

สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ พระนิพพาน ไม่ใช่ขันธ์ เป็นขันธวิมุติ คือ พ้นจากขันธ์ เพราะพระนิพพานไม่เกิด ไม่ดับ

โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันที่ : 03-04-2550

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ครูโอ
วันที่ 27 ต.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornchai.s
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ทางธรรม ต้องอ่านออกเสียงว่า (เว - ทะ - นา) หมายถึง ความรู้สึก (เกิดกับจิตทุกขณะ) แต่คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจพระธรรม เรียกว่า (เวด - ทะ - นา) น่าสมเพชเวทนา (น่าสงสารมาก) ตามภาษาไทย ความหมายไม่ตรงตามพระบาลี ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jar
วันที่ 27 ต.ค. 2550

กราบขอบพระคุณ คุณครูโอ และคุณพรชัย ที่กรุณาอธิบาย ขอเรียนถามต่อดังนี้ว่า...

เวทนาขันธ์ คือ เวทนาเจตสิก มีลักษณะเสวยอารมณ์ คือ รู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา เหล่านี้ เกิดขึ้นและดับลงได้ใช่หรือไม่? หมายถึง มีความเกิด-ดับ เป็น ธรรมดา หรือไม่? (เคยได้ยินบางท่านอธิบายว่า เวทนา ไม่มีการเกิด-ดับ จึงสับสนและ สงสัยมาก)

ขอขอบพระคุณอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ผู้ศึกษาพระธรรมเป็นผู้ที่ต้องตรงครับ พระพุทธพจน์กล่าวไว้อย่างไร ก็ต้องอย่างนั้นจะมากล่าวเอง รู้เอง โดยผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฎก สมควรหรือไม่? เพราะเหตุนี้ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงในพระไตรปิฏก เพื่อประกอบการพิจารณาว่า ... คำพูดที่คุณ jar ได้ยินได้ฟังมาถูกต้อง หรือแตกต่างไปอย่างไรครับ

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 689

๕. เวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนาเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบเวทนาสูตรที่ ๕


สิ่งที่ไม่เที่ยง คือ ตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องแปรเปลี่ยน ต้องแตกสลาย ต้องเกิด-ดับ ไปตามเหตุปัจจัย เวทนาก็ไม่เที่ยง แล้วผู้ที่บอกว่าเวทนาไม่เกิด-ดับ กำลังกล่าวตู่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน กำลังขัดแย้งคำสอนของพระพุทธองค์อยู่ไหม?ตามความเป็นจริง ท่านที่บอกว่าเวทนาไม่เกิดดับ ท่านผู้นั้นมีความสุขกายหรือสุขใจ นานตลอดทั้งวันไหม? หรือว่าท่านผู้นั้นทุกข์กาย หรือทุกข์ใจนานตลอดทั้งวันไหม? หรือว่าท่านผู้นั้นเฉยๆ นานตลอดทั้งวันไหม? ก็เป็นไปไม่ได้ แล้วเป็นเพราะเหตุใด? เพราะสภาพของเวทนาที่เกิด - ดับพร้อมกับจิตทุกๆ ขณะแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนของใครจะเที่ยง ตั้งอยู่กับความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ตลอดเวลาได้


[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถามธุปิณฑิกสูตร

จริงอยู่พระตถาคตย่อมไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลก ครั้นตรัสว่า ไม่เที่ยง ก็กล่าวว่า เที่ยง เมื่อตรัสว่า ทุกข์ อนัตตา ไม่งาม ก็กล่าวว่า งาม ชื่อว่า ทะเลาะกับพระตถาคต ดังนี้. ด้วยเหตุนั้นเทียว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่ ทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลกทะเลาะกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ทะเลาะกับใครๆ เช่นกัน แต่อธรรมวาทีย่อมทะเลาะ ดังนี้

ที่มา ...

มธุปิณฑิกสูตร และอรรถกถา


ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

โดยสมาชิก : แล้วเจอกัน

วันที่ : 12-06-2550

ศึกษาให้เข้าใจจะได้ไม่หลงไปกล่าวตู่คำสอนพระพุทธเจ้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การเข้าใจความจริง ซึ่งเป็นสัจธรรมนั้น แน่นอนว่า เราต้องรู้ว่าสัจธรรมความจริงคือ อะไร สิ่งที่มีจริงคือความจริง ความรู้สึก (เวทนา) มีจริงไหม มี เพราะอะไรถึงกล่าวว่ามี เพราะมีสภาวะหรือลักษณะนั่นเองให้รู้ได้ คือรู้สึก สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นต้น และการจะ เข้าใจความจริงคือความรู้สึก (เวทนา) คืออย่างไรหละ เช่น จะรู้ว่าเวทนาเกิดดับไหม ตามที่กล่าวมา ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญาอบรมเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องเริ่มจาก การฟังให้เข้าใจก่อนนะว่า ธรรมคืออะไร และอยู่ในขณะไหน เมื่อเข้าใจขั้นการฟังจน มั่นคง ปัญญาต่างหากที่จะทำหน้าที่รู้ความจริงว่า เวทนาคืออะไร เกิดดับหรือไม่ สุดท้ายก็ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนเสมอ

สรุปคือ เวทนาเป็นสิ่งที่มีจริงเพราะมีสภาวะหรือมีลักษณะ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นและดับไป เช่น ถ้าไม่เกิดดับ ก็ต้องรู้สึกไปตลอด ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้นครับ และต้องรู้ความจริงด้วยปัญญาและเริ่มจากการฟังว่า ธรรมคืออะไร

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jar
วันที่ 28 ต.ค. 2550

สาธุ กราบขอบพระคุณ คุณแล้วเจอกัน คุณอาจารย์ครูโอ กฏไตรลักษณ์มีอยู่ แล้วถ้าเวทนา "เที่ยง" คงแปลก

ขอบพระคุณทั้งสองท่านที่กรุณาขยายความให้ชัดเจน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ก.ไก่
วันที่ 20 ม.ค. 2565

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 16 พ.ย. 2565

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ประพันธ์​prapun
วันที่ 11 ม.ค. 2567

จิต​ เจตสิก​ รูป​ ไม่เที่ยง​ เกิดแล้วดับ

ในเมื่อเวทนาเป็นเจตสิก​ มีความสำคัญ​เป็นเวทนาขันธ์​ แยกออกจากสังขารขันธ์​ ๕๐ ดวง​ {เหมือน​สัญญา​ขันธ์​ (เจตสิกมี ๕๒ ดวง) ​ ขันธ์​ ๕​ รูป​ เวทนา​ สัญญา​ สังขาร​ วิญญาณ]

จึง​เป็นอนัตตา​ พระพุทธเจ้า​ทรงตรัสรู้​ถึงพระธรรมได้อย่างวิจิตร​ เอียด​พิศดารมาก​ และยังละเอียด​มากกว่านี้อีกมากมายเกินกว่าที่สัตว์​โลกทั้งปวง​

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ม.ค. 2567

ธรรมก็คือขณะนี้ ซึ่งคนธรรมดาไม่รู้จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม และการตรัสรู้พระธรรมก็คือว่าสามารถที่จะรู้สิ่งซึ่งกำลังปรากฏตามความเป็นจริง เช่นขณะนี้เราเห็น แล้วเราก็ไม่เคยรู้ ก็เป็นเรารู้ แต่ไม่ได้รู้จริงๆ ว่า เห็นเป็นธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง ก่อนที่คนอื่นจะรู้ เพราะเหตุว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมา เพื่อที่จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ เป็นผู้ที่ทรงตรัสรู้ธรรมโดยประการทั้งปวง และทรงพระมหากรุณาที่จะแสดงธรรมให้คนอื่นได้เข้าใจอย่างที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ และประพฤติปฏิบัติตามด้วย เพียงเท่านี้ก็จะคือเริ่มที่จะเห็นความต่างของปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับผู้ที่ไม่รู้จักธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้

ที่มา ...

โอกาสในการฟังธรรม สนทนาธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ