ลูกปฏิบัติตามธรรมะแล้ว จะทำธุรกิจได้อย่างไร?

 
Guest
วันที่  22 พ.ย. 2548
หมายเลข  532
อ่าน  2,726

ถ้าสอนให้ลูกปฏิบัติตามธรรมะแล้ว ลูกจะทำธุรกิจได้อย่างไร?

ดิฉันฟังธรรมะของอ.สุจินต์บรรยายทุกวันและลูก 3 คน ก็ฟังด้วย เมื่อเพื่อนเห็น ก็ยอมรับในพฤติกรรมของลูก แต่เค้าก็มีคำถามกับดิฉันว่า "ถ้าสอนให้ลูกปฏิบัติ ตามธรรมะแล้ว ลูกจะทำธุรกิจได้อย่างไร เพราะในสังคมธุรกิจมีคนไม่มีศีล"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 พ.ย. 2548

ในสมัยครั้งพุทธกาล อุบาสกอุบาสิกาที่เป็นพระอริยบุคคล ท่านก็ทำธุรกิจ ในสังคมก็มีทั้งคนมีศีลและทุศีล ในสมัยปัจจุบันสังคมก็มีทั้งคนมีศีล และทุศีล อุบาสกอุบาสิกาที่มีศีลธรรม ย่อมทำธุรกิจได้ และ ทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริตยุติธรรม ธุรกิจของเขาอาจไปได้ดีกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suchada.s
วันที่ 24 เม.ย. 2549

ไม่ว่าใครจะมีอาชีพอย่างไร แม้แต่ทหาร ตำรวจ คนขายปลา ขายเนื้อสัตว์ ย่อมเป็นไปตามการสะสมอุปนิสัยมาแต่อดีตชาติ แม้การเป็นคนดี มีศีลธรรม เป็นผู้ ขัดเกลากิเลสตน ก็เพราะสั่งสมอุปนิสัยเช่นกัน ไม่ว่าประกอบอาชีพใดท่านก็แวดล้อม อยู่ด้วยคนทุศีลเป็นอันมาก แม้อยู่ในผ้ากาสาวพัตร์ยังไม่เว้น ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นข้อพิสูจน์ที่ดี การเป็นนักธุรกิจที่ค่อยๆ เจริญปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริง ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ จะเป็นเหตุของความล้มเหลวในอาชีพธุรกิจได้อย่างไร ตรงข้าม ย่อมเป็นปัจจัยให้เห็นเหตุผล ตามความเป็นจริง สามารถขัดเกลาความ "ไม่รู้" ซึ่ง เคยหนาแน่นมาก ก่อนการศึกษาพระธรรมได้ ความรู้นี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้ประพฤติ ปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นความดีงาม ชื่อเสียงของท่านจะไม่หอมไกลไปทั่วทุกทิศได้อย่างไร หอมด้วยศีล ด้วยความดีนั้นหอมไม่จางตราบนานเท่านาน ในพระไตรปิฎก ได้แสดงเรื่องของการค้าขายที่ซื่อตรง และไม่ซื่อตรงไว้ เหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 25 เม.ย. 2549

ความดี ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เป็นต้น ทุกยุคทุกสมัยทุกสังคมต่างก็เรียกร้องหา ถ้าคุณเป็นคนดี เป็นคนมีศีลธรรมประจำใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ แม้แต่ พาลชนยังต้องการความยุติธรรม เพราะฉะนั้นการประพฤติธรรมจึงเป็นความดีตลอดไป ไม่มีการล้าสมัย โปรดตั้งมั่นในธรรมะ ธรรมะนั่นแหละจะรักษาผู้ประฤติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chackapong
วันที่ 5 มี.ค. 2550

เรียนถามท่านผู้รู้ แทรกคำถามข้างต้นเล็กน้อยว่า เราทำธุรกิจ ก็เพื่อหวังกำไรสูงสุด ในความหมายของระบบทุนนิยม จะขัดแย้งกับคำสอนที่ว่าให้ละ โลภ รัก เกลียด หลง หรือไม่ เพราะแนวความคิดหลักของธุรกิจในระบบทุนนิยม เป้าหมายสูงสุดคือกำไร สูงสุด ส่วนวิธีการเป็นเรื่องรอง เพราะดูเหมือนว่า เป้าหมายหลักทางธุรกิจต่างกัน โดยสิ้นเชิงกับคำสอนทางศาสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 5 มี.ค. 2550

พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ทรงสอนผู้ฟังหลาย ระดับทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้คฤหัสถ์ก็มีหลายอัธยาศัย ทั้งครองเรือนและไม่ ครองเรือน ผู้ที่ครองเรือนย่อมมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำและรับผิดชอบมากมาย การทำ การค้าขายเพื่อหวังผลกำไร ย่อมเป็นของธรรมดาของผู้ค้าขาย และไม่ขัดต่อศีลและ ธรรมของคฤหัสถ์ ถ้าคฤหัสไม่ทำกิจการงาน ชื่อว่าขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธองค์ แต่ถ้าบรรพชิตเป็นผู้คิดหรือทำการค้าหวังผลกำไร ย่อมขัดต่อคำสอนที่ทรงแสดงแก่ ผู้ที่เป็นบรรพชิต เพราะฉะนั้น ควรแยกคำสอนที่เหมาะสมกันฐานะของตน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chackapong
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ขอเรียนถามเพิ่มเติม ที่ท่านกรุณาแสดงความเห็นให้ทราบแล้วนั้น หมายความว่า คฤหัสถ์กับบรรพชิต ย่อมปฏิบัติแตกต่างกันได้โดยไม่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธองค์ ใช่หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 6 มี.ค. 2550

ถูกแล้วครับ คฤหัสถ์กับบรรพชิตมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่ข้อปฏิบัติเพื่อการ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเหมือนกัน คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือสติปัฏฐาน แต่บรรพชิตต้องอยู่ในระเบียบวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ถ้าหากไม่เคารพในพระวินัยย่อมไม่อาจ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 21 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ