ความหวั่นไหวกับความกลัว

 
ปุจฉา
วันที่  1 พ.ย. 2550
หมายเลข  5346
อ่าน  1,863

๑. ความหวั่นไหวที่จะกระทำอกุศลมีไหม

๒. ความกลัวที่จะกระทำกุศลมีไหม

๓. ความหวั่นไหวกับความกลัวเป็นไปในทางกุศลได้ไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 พ.ย. 2550

๑. ความหวั่นไหวที่จะกระทำอกุศลย่อมมีได้

๒. ความกลัวที่จะกระทำกุศลย่อมมีได้ เพราะจิตเกิดสลับอย่างรวดเร็ว

๓. ความหวั่นไหวกับความกลัวเป็นไปในทางกุศลย่อมมีได้ เพราะจิตเกิดดับรวดเร็ว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
takecare
วันที่ 1 พ.ย. 2550

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

ก่อนอื่น อะไรหวั่นไหว ตัวเราที่หวั่นไหวหรือสภาพธัมมะหวั่นไหว ทุกอย่างเป็นธรรม ความหวั่นไหวก็เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรม ความกลัวก็เช่นกัน

๑. เมื่อมีอกุศลอยู่ที่ยังไม่ดับ จิตย่อมหวั่นไหวไปในการน้อมไปที่จะกระทำอกุศลประการต่างๆ ขณะที่เห็นบางอย่าง จิตก็ย่อมหวั่นไหวไปเป็นไปในทางอกุศล เมื่ออกุศลมีกำลังมาก ก็หวั่นไหวไปในทางประพฤติล่วงออกมาทางกาย วาจา ที่เป็นการกระทำอกุศล พระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่หวั่นไหว เป็นผู้คงที่ ไม่หวั่นไหวคือเป็นอกุศล อันเนื่องมาจากการเห็น ได้ยิน...คิดนึก ดังนั้นขณะที่เป็นอกุศลชื่อว่าหวั่นไหว

๒. ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอนาคามี ก็ยังมีความกลัว ซึ่งเป็นโทสมูลจิต แต่ความกลัวแตกต่างกันตามระดับปัญญา

๓. ความหวั่นไหวกับความกลัวเป็นไปในทางกุศลย่อมมีได้เพราะจิตเกิดดับรวดเร็ว แต่สภาพธัมมะที่เป็นความหวั่นไหวและความกลัวนั้น เป็นจิตที่เป็นไปในทางอกุศล ดังข้อความในพระไตรปิฎก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
takecare
วันที่ 1 พ.ย. 2550

ความหวั่นไหว เป็นอกุศล ผู้ที่ไม่หวั่นไหวเป็นพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

ถามว่า ก็จิตของใคร ถูกโลกธรรมเหล่านั้นกระทบแล้วไม่หวั่นไหว.

ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ไม่ใช่จิตของใครอื่น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ภูเขาหิน ทึบแท่งเดียว ย่อมไม่ไหวด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมทั้งสิ้น ทั้งส่วนอิฏฐารมณ์ ทั้งส่วนอนิฏฐารมณ์ ย่อมทำจิตของท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น ด้วยว่าจิตของท่านที่มั่นคง หลุดพ้นแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อมอยู่เนืองๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
takecare
วันที่ 1 พ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 375

โลกสูตร

ชื่อว่า ผู้คงที่ คือ เป็นพระอรหันต์ เพราะถึงลักษณะของความเป็นผู้คงที่เพราะไม่มีวิการในอารมณ์ทั้งปวงมีอิฏฐารมณ์ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
takecare
วันที่ 1 พ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ผู้ยังมีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มีความสะดุ้ง ผู้ไม่มีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มั่นคง. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ บุคคลใดถึงพระนิพพาน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่สามารถเพื่อรักษาความสะดุ้งและความมั่นคงทั้งสิ้นได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ย. 2550

ตอนที่พระเจ้าอชาตศัตรูจะเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ก็เกิดความกลัว อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 12 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 2 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 14 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 26 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ