ความเชื่อกับความงมงาย

 
ปุจฉา
วันที่  1 พ.ย. 2550
หมายเลข  5348
อ่าน  5,033

๑. ความเชื่อเป็นอกุศลได้ไหม

๒. ความงมงายเป็นกุศลได้ไหม

๓. อย่างนี้จะเรียกว่ายังงมงายไหม อย่างบางทีผมขับรถไปไหน ผ่านเจ้าที่เจ้าทาง ศาลพระภูมิ เราก็เกิดนึกไหว้ขึ้นในใจโดยทันที เข้าใจว่า เป็นนิสัยที่ทำเป็นประจำ และมาจากความเชื่อเดิมที่ถูกปลูกฝังจากพ่อแม่ ญาติ แต่เราก็ไม่ได้ขอให้ท่านมาคุ้มครองเรา หรือขออะไรจากท่านเพื่อให้เรามั่งมี หรือได้บ้าน ได้เงิน ได้ลาภอะไร เพียงแต่ว่าเราเกิดจิตนอบน้อมในท่าน (ทั้งๆ ที่เราก็ไม่เห็นตัวท่าน) จะเห็นผิดและงมงายไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 พ.ย. 2550

๑. ความเชื่อเป็นอกุศลก็มี เพราะเชื่อสิ่งที่ไม่มีเหตุผล

๒. ขณะที่งมงายเป็นกุศลไม่ได้ ขณะที่จิตเป็นกุศลไม่ชื่อว่างมงาย

๓. ถ้าเชื่อในสิ่งที่ไม่มีจริง และขาดเหตุผล ชื่อว่าเห็นผิดและงมงาย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ย. 2550

ความเชื่อเป็นกุศลก็มี เช่น เชื่อกรรมและผลของกรรม เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อพระรัตนตรัย ถ้าเห็นศาลเจ้าพระภูมิ เรากลับนึกถึงพระรัตนตรัย แล้วไหว้ด้วยความเคารพ จิตเป็นกุศล สำคัญที่เจตนาในขณะนั้น เราน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นหลักค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
takecare
วันที่ 1 พ.ย. 2550

๑. ความเชื่อเป็นอกุศลก็ได้ กุศลก็ได้ แต่ถ้าเป็นศรัทธาเป็นอกุศลไม่ได้

๒. ความงมงาย เป็นความเห็นผิด เป็นอกุศล

๓. ไหว้อะไรล่ะ คุณธรรมหรือตัวบุคคล จิตเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornchai.s
วันที่ 1 พ.ย. 2550

ปกติในชีวิตประจำวัน กุศล ไม่ใช่เกิดง่ายๆ ส่วนอกุศล เกิดง่าย เกิดบ่อย จนเราไม่รู้ตัว ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ถ้าจิตไม่เป็นไปใน ๓ อย่างนี้ คือ

- ไม่เป็นไปในทาน (การให้)

- ไม่เป็นไปในศีล (ละเว้นทุจริตกรรมทางกาย วาจา)

- ไม่เป็นไปในภาวนา (สมถะ และ วิปัสสนา)

ถ้า จิต ไม่เป็นไปใน ๓ อย่างนี้ ขณะนั้นล้วนเป็นอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปุจฉา
วันที่ 2 พ.ย. 2550

ขอเรียนถามท่านวิทยากรต่อ ...

๑. ถ้าไม่มีเหตุผล หรือมีนิดๆ แต่ไม่กระจ่าง เป็นไปในอกุศลอย่างเดียวเหรอครับ

๒. คนที่มีเหตุผลในทางโลก กับ คนที่มีเหตุผลในทางธรรมต่างกันอย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
takecare
วันที่ 3 พ.ย. 2550

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

๑. ความเป็นเหตุเป็นผล เป็นไปในทางกุศลหรืออกุศลก็ได้ เช่น ในเรื่องตรรกศาสตร์เป็นต้น แต่ต้องไม่ลืมว่า เป็นกุศลหรืออกุศล นั้น คือเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งคือ จิต ดังนั้น อกุศลหรือกุศล จึงขึ้นอยู่กับจิต ไม่ใช่ความเป็นเหตุเป็นผล ขณะที่เป็นกุศล คือขณะที่เป็นไปในทาน ศีล สมถภาวนาและสติปัฏฐาน (วิปัสสนา) ขณะที่คิดเป็นเหตุเป็นผล จิตเป็นไปในทาน ศีล สมถหรือวิปัสสนาหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ใช่เป็นไปในกุศล ขณะที่คิดถูกเป็นเหตุเป็นผล โดยเฉพาะเป็นไปตามความจริงของสัจจธรรม เช่น กรรมมี ผลของกรรมก็ต้องมี คิดเป็นเหตุผลและถูกต้องตรงตามความจริงแท้ คิดถูกเป็นกุศล ไม่ใช่ความเป็นเหตุผลทางโลก ว่าถ้าอย่างนั้น จึงเป็นอย่างนั้น แล้วจะเป็นกุศลเพราะเป็นไปในทาน ... วิปัสสนาหรือเปล่า ดังนั้น ตัดสินที่จิต มิใช่เหตุผลทางโลก ว่าสิ่งใดจะเป็นกุศลหรืออกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
takecare
วันที่ 3 พ.ย. 2550

๒. คนที่มีเหตุผลทางโลก คือคิดพิจารณาตามทฤษฎี ตามกฎที่ตั้งไว้ แต่กฎหรือทฤษฎีนั้นไม่เป็นสัจจะความจริงแท้ เช่น ต้นไม้เคลื่อนไหวได้จึงมีชีวิต เพราะสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ มีชีวิต นี่เป็นการยกตัวอย่าง ตามหลักเหตุผล แต่สัจจะความจริงที่เกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่เราเรียกว่า พระธรรม แสดงอีกอย่าง เช่น ต้นไม้ไม่มีชีวิต เพราะไม่มีชีวิตตินทรีย์ เป็นต้น ดังนั้น เหตุผลทางโลก จึงไม่ใช่สัจจะความจริงและเป็นไปในทางอกุศล ส่วนเหตุผลทางธรรมเป็นสัจจะความจริงอันเกิดจากปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คนที่มีเหตุผลทางโลกและทางธรรม จึงต่างกันที่ความเป็นสัจจะความจริง หรือไม่ใช่สัจจะความจริง และเป็นไปในทางอกุศลหรือเพื่อละคลายอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ประสาน
วันที่ 26 ก.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Kalaya
วันที่ 14 มิ.ย. 2563

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 14 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 26 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ