สนทนาธรรมกับผู้มีความเป็นตัวตน 3
๑. ๒. ๓. ควรสนทนาตามสมควรแก่โอกาส
๔. ผู้ที่มีทิฏฐิแรงยากกว่า เพราะเขามีความเห็นผิด ยึดถือในความเห็นผิด โดยเฉพาะนิยตมิจฉาทิฏฐิ
พูดคำจริง ประกอบด้วยประโยชน์ พูดเป็นธรรม มีที่สุด มีหลักฐานอ้างอิงจากพระไตรปิฏก และต้องเป็นผู้มีปัญญารู้จักกาลด้วยค่ะ
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
ทุกคนก็ยังมีตัณหา มานะ และความเห็นผิดอยู่เต็ม ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนและอบรมปัญญามาน้อย การสนทนาด้วยจึงต้องรู้ว่า บุคคลใดควรสนทนา ถ้าบุคคลนั้น ขณะนั้น มุ่งจับผิด กาลนั้นก็ไม่ควรสนทนาด้วย ไม่ว่าบุคคลใด ควรสนทนาด้วยเมตตา มุ่งอนุเคราะห์ และถ้าเขาไม่ฟังก็วางเฉยเพราะเขาสะสมมาอย่างนั้น เปลี่ยนโลกทั้งโลกให้มีความเห็นอย่างเดียวกันไม่ได้ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
กินติสูตร
แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.