วิเวกเป็นกิจสูงสุด ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

 
pirmsombat
วันที่  7 พ.ย. 2550
หมายเลข  5432
อ่าน  1,294

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

บทว่า เอตทริยานมุตฺตม การประพฤติวิเวกนี้เป็นกิจอันสูงสุดของ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ วิเวกจริยา (การประพฤติวิเวก) นี้เป็นกิจสูงสุด

ของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงศึกษาวิเวก

เท่านั้น.

บทว่า เตน เสฏฺโ น มญฺเถ ความว่า มุนีไม่ควรสำคัญตนว่า

เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรผูกพันอยู่กับวิเวกนั้น.

บทว่า ปวิเวกกถ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ

สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑. ใน

ความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน

รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่งเที่ยวไป

รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย) . สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตปวิเวก

(สงัดจิต) . นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส) . สมดังที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของผู้ยินดีใน

เนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์ถึงความ

ผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.

...............................................

ผู้อบรมเจริญสติฯ อย่างพวกเราทั้งหลาย จิตตปวิเวก (สงัดจิต) ยินดี

ใน เนกขัมมะ การ ออกจากกาม ออกจากอกุศล เป็นสิ่งสำคัญ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ครูโอ
วันที่ 7 พ.ย. 2550


00264 ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก

ทสุตตรสูตร

ธรรม ๓ อย่าง แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน

ได้แก่ ธาตุอันเป็นที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๓ คือ

เนกขัมมะ เป็นที่สลัดออกของกาม ๑

อรูป เป็นที่สลัดออกของรูป ๑

นิโรธ เป็นที่สลัดออกของสิ่งที่เกิดแล้ว

สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑

ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒


ธรรมเตือนใจวันที่ : 26-01-2548



 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 7 พ.ย. 2550

พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสกับพระภิกษุว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นไปเพื่อความละคลายในหมู่คณะ คือไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่คลุกคลีกับอกุศลทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
takecare
วันที่ 7 พ.ย. 2550

ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย

การอยู่ผู้เดียวที่ประเสริฐคือสิ้นกิเลสหมด

แต่ยังมีกิเลสก็มีเพื่อนคือตัณหา แม้จะอยู่ในป่าหรือที่เงียบก็ตาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 780

เถรนามสูตร

............[๗๑๘] ครั้นท่านพระเถระนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนเถระ. ได้ยินว่า เธอมีปกติอยู่คนเดียวและมัก

สรรเสริญการอยู่คนเดียว จริงหรือ.

พระเถระกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนเถระ ก็เธอมีปกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญ

การอยู่คนเดียวอย่างไร.

ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ คือข้าพระองค์คนเดียวเข้าไป

สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เดินกลับคนเดียว นั่งในที่ลับตาคนเดียว อธิษฐาน

จงกรมคนเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีปกติอยู่คนเดียว และ

มักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว อย่างนี้แล.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
takecare
วันที่ 7 พ.ย. 2550

[๗๑๙] พ. ดูก่อนเถระ การอยู่คนเดียวนี้มีอยู่ เราจะกล่าวว่า

ไม่มีก็หาไม่ เถระ อนึ่ง การอยู่คนเดียวของเธอย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย

พิสดารกว่าโดยประการใด เธอจงฟังโดยประการนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี

เราจักกล่าว ท่านพระเถระทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.

[๗๒๐] ดูก่อนเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย

พิสดารกว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว

สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคือได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็น

ปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร

กว่าอย่างนี้แล.

[๗๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราย่อมเรียกนรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ

และไตรภพทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี

ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้

ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็น

ผู้มีปกติอยู่คนเดียว ดังนี้.

จบเถรนามสูตรที่ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 8 พ.ย. 2550

กระทำได้ยาก.....กระทำได้แสนยาก พระพุทธเจ้าข้า

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suntarara
วันที่ 8 พ.ย. 2550
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัยค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 พ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ..................ขออนุโมทนา.................
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อิสระ
วันที่ 8 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ