ความประมาท
[๒๔] ความประมาท ในคำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความกล่าวถึง ความปล่อยหรือความเพิ่มเติมซึ่งความปล่อยซึ่งจิตในเบญจกามคุณ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการไม่ทำความเอื้อเฟื้อ การไม่ทำความติดต่อ การทำความหยุดเนืองๆ ความประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่หมั่นประกอบในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท. ความประมาท กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ เรียกว่าความประมาท.
คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความว่า ไม่พึงร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท คือ พึงละ บรรเทา ทำให้ สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความประมาท พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความประมาท พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท
ความปล่อยจิตไปในกามคุณ ในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต การไม่เอื้อเฟื้อ การไม่ทำติดต่อ การทำๆ หยุดๆ (เปรียบเหมือนจี้งก่า วิ่งๆ หยุดๆ ) การหยุดเนืองๆ การย่อหย่อน การไม่ทำให้มากในการเจริญกุศลทั้งหลาย และอื่นๆ อีก ดังขัอความในพระสูตรที่ยกมา
ปมาโท ครหิโต สทา ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ อีกประการหนึ่ง พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนา สั่งสอนตลอด ๔๕ พรรษา ย่อลงแล้ว เหลือแค่ปัจฉิมโอวาทว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นปัจฉิมวาจาของตถาคต" พวกเราควรยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
มา ปมาทมนุยุญฺเชถ อย่ามัวประกอบความประมาท ทุกท่านควรพิจารณาว่าตั้งแต่เกิดมาเราประมาทกันทุกคน เพราะอดปล่อยจิตไปในกามคุณ เกิดอกุศล เกิดกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตไม่ได้ เราไม่เป็นผู้หมั่นเจริญกุศลทุกประการ เราไม่ได้เจริญกุศลมาก เรามักเจริญกุศลแบบทำๆ หยุดๆ เราอยู่กับความประมาท ไม่ได้เว้น เว้นขาด สลัดออกจากความประมาท การไม่ประมาท คือ ไม่เป็นอกุศล เจริญกุศล ทุกประการ จนถึงสติปัฏฐาน ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
เป็นธรรมดาที่ยังไม่ประมาท อบรมปัญญารู้ว่าแม้ความประมาทเป็นธรรมไม่ใช่เรา...นี่คือหนทาง
ไม่ควรประมาทว่าอกุศลจิตแม้เพียงเล็กน้อยค่ะ เพราะถ้าสะสมมีกำลังมากๆ ก็ทำให้ล่วงอกุศลกรรมบถ เป็นเหตุให้ไปอบายภูมิค่ะ