เมื่อเริ่มศึกษา ๒ ..โลภะ อารมณ์
ต่อจาก (ยังมีต่อ)
โลภะ หมายถึง ความติดข้อง ความต้องการ ความหวัง ความอยากได้ ซึ่งเป็นกิเลส ที่เกิดบ่อยมากในชีวิตประจำวัน โดยจะรู้หรือไม่ก็ตาม ความเข้าใจเดิมคือ การอยากได้ของของผู้อื่นเท่านั้น ก่อนศึกษาธรรมะจึงเข้าใจผิดว่า ไม่มีโลภะหรือมีโลภะน้อยมาก แต่เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้วจึงรู้ว่า โลภะเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นนายช่างผู้สร้างเรือน เป็นเพื่อนสนิทติดเหนียวแน่นมากๆ แล้วความเป็นตัวตนก็ชอบมากๆ โดยไม่รู้ตัว ปัญญาเท่านั้นจึงจะสามารถละโลภะได้ จึงค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา ด้วยการฟังพระธรรม ให้เข้าใจจริงๆ (สหายธรรมท่านใดจะร่วมเกื้อกูลผู้เริ่มศึกษาด้วยคำต่างๆ ก็ขออนุโมทนาล่วงหน้า)
แม้ขั้นการฟัง ก็อย่าเพิ่งแน่ใจว่า ฟังเข้าใจแล้ว จึงขาดการฟังไม่ได้ค่ะ
ขออนุโมทนา
คำว่า วิญญาณ เป็นอีกชื่อหนึ่งของจิต ที่กระทำกิจต่างๆ กันไป เช่น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ได้แก่ จักขุวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำทัศนกิจ คือ กิจเห็น โสตวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำสวนกิจ คือ กิจได้ยิน ฆานวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำฆายนกิจ คือกิจได้กลิ่น ชิวหาวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำสายนกิจ คือกิจลิ้มรส กายวิญญาณ (กุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑) ทำผุสสนกิจ คือกิจรู้สิ่งที่กระทบ สัมผัส
แต่เดิมก่อนศึกษาคิดว่า วิญญาณ คือผีหรือจิตของคนที่ตายไปแล้วตามมาช่วย หรือมาหลอกหลอน มาเข้าฝัน มาจองเวร จากความเข้าใจผิดเพราะการเชื่อแนวไสยศาสตร์ตามๆ กันไป โดยถูกปลูกฝังให้ไหว้ ให้สักการะ โดยไม่มีเหตุผลอธิบายแจ่มแจ้ง บอกเราแต่เพียงว่าไม่ให้ลบหลู่ เดี๋ยวจะอยู่ไม่เป็นสุข
เป็นธรรมและเป็นธรรมดา ละด้วยธรรมไม่ใช่เราละ และการฟังธรรมย่อมละธรรมและรู้ว่าเป็นธรรม เป็นธรรมที่รู้ ไม่ใช่เรารู้ จึงเป็นธรรมและเป็นธรรมดา