เว้นขาดกาม มีสติ ล่วงพ้นตัณหา

 
pirmsombat
วันที่  11 พ.ย. 2550
หมายเลข  5500
อ่าน  1,344

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างนี้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใด

ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

เพราะอรรถว่า บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.

[๑๔] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกามทั้งหลาย.

ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด, ความกำหนัดกล้า,

ความพอใจ, ความชอบใจ, ความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดด้วยสามารถ

แห่งความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดกล้าแห่งจิต, ความปรารถนา, ความ

หลง, ความติดใจ, ความยินดี, ความยินดีทั่วไป, ความข้อง, ความ

ติดพัน, ความแสวงหา, ความลวง, ความให้สัตว์เกิด, ความให้สัตว์

เกี่ยวกับทุกข์, ความเย็บไว้, ความเป็นดังว่าข่าย, ความเป็นดังว่ากระแส

น่า ความซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย, ความกระจาย

ไป ความให้อายุเสื่อมไป, ความเป็นเพื่อน, ความตั้งมั่น, เครื่องนำไป

สู่ภพ, ความติดอารมณ์, ความตั้งอยู่ในอารมณ์, ความสนิท, ความรัก

ความเพ่งเล็ง, ความผูกพัน, ความหวัง, ความจำนง, ความประสงค์,

ความหวังในรูป, ความหวังในเสียง, ความหวังในกลิ่น, ความหวังในรส,

ความหวังในโผฏฐัพพะ, ความหวังในลาภ, ความหวังในทรัพย์, ความ

หวังในบุตร, ความหวังในชีวิต, ความปรารถนา, ความให้สัตว์ปรารถนา

ความที่จิตปรารถนา, ความเหนี่ยวรั้ง, ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง, ความที่

จิตเหนี่ยวรั้ง, ความหวั่นไหว, อาการแห่งความหวั่นไหว, ความพรั่ง

พร้อมด้วยความหวั่นไหว, ความกำเริบ, ความใคร่ดี, ความกำหนัดในที่

ผิดธรรม, ความโลภไม่เสมอ, ความใคร่, อาการแห่งความใคร่, ความ

มุ่งหมาย, ความปอง, ความปรารถนาดี, กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภว-

ตัณหา, ตัณหาในรูปภพ, ตัณหาในอรูปภพ, ตัณหาในนิโรธ, รูปตัณหา,

สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา, ธัมมตัณหา, โอฆะ,

โยคะ,

คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า

วิสัตติกา (ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ) เพราะอรรถว่า ซ่านไป

อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ,

สกุล คณะ ที่อยู่, ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร, กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ

อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ

จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ, ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน, แล่นไป

ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว, ในเสียงที่ได้ยินแล้ว, กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่

ทราบแล้ว, และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง, ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.

คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก

ธาตุโลก อายตนโลก.

คำว่า เป็นผู้มีสติ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ

เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฎฐานในกาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อเจริญ

เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อ

เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ. เมื่อเจริญธรรมา-

นุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ.

เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

เว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา

นี้ในโลกเสียได้ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าว

ล่วง ล่วงเลยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น

เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น

ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน

ชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้

.....................................

กาม คือ วัตถุกาม ได้แก่ รูป เสีนง กลิ่น รส สัมผีส วัตถุสี่งของ ทรัพย์ลมบัติ และอื่นๆ ชื่อว่ากามเพราะบุคคลพึงใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาเรียก ว่าวัตถุกาม กิเลสกาม คือความพอใจ ความกำหนัด ควมดำริ ตวามพอใจ คือความใคร่ เพลิดเพลิน ในกามทั้งหลาย ความปราถนา ความเสน่หา เร่าร้อน ความหลงในกามติดใจในกาม กามย่อมเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงท่าน ท่านจักไม่มี ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกาได้แก่ ความกำหนัด ความพอใจ ชอบใจ เพลิดเพลิน ปราถนา หลง ติดใจ ยินดี ความข้อง ความติดพัน แสวงหา ความสนิท ความรัก เพ่งเล็ง ผูกพัน ความหวัง ความประสงค์ ความหวังในรูป ในเสียง ....โผฎฐัพพะ

ความหว้งในลาภ ในทรัพย์ ในบุตร ในชีวิต ความปราถนา และอื่นๆ อีก เรียกว่า วิสัตติกา ซึ่งหมายถึง ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

คำว่าผู้มีสติ คือสติปัฏฐาน ๔ ความระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ไม่หลงลืม นี้เรียกว่า สติ ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ยอมล่วงพ้นตัณหา ชื่อว่า วิสัตติกา ในโลกเสียได้ ทุกท่าน ฟังธรรม อ่านพระไตรปิฏก สนทนาธรรม เพื่อสะสมความเห็นถูกให้เพี่มขึ้น เข้าใจสภาพธรรม มากขึ้น คบสัปปุรุษ บฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จนสังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรม ไม่ต้องไปคิดว่า จะปฏิบัติธรรม หรือ จะเจริญสติปัฏฐาน จะเป็นพระอริยบุคคล ใน ชาตินี้ ไม่มีใครทำอะไรได้ ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัย ผลที่ถูกย่อมมาจากเหตุที่ถูก ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 12 พ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
............................................................ พระสุตตันตปิฏก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค.

สัตติสูตร.
(๕๖) เทวดานั้น ครั้งยืนอยู่ ณ.ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า...
ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่อละกามราคะ และเหมือนบุรุษ ผู้ถูกประหารด้วยหอก มุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษผู้ที่ถูกไฟไหม้บนศรีษะมุ่งดับไฟฉะนั้น.
(๕๗) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาว่า...
ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละสักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วยหอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บนศรีษะ. .................................................
อรรถกถาสัตติสูตร.
......ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า คาถาที่เทวดานำมา ตั้งไว้ ทำอุปมาไว้มั่นคง แต่ถือเอาประโยชน์ได้นิดหน่อย แม้จะกล่าวคาถา ซ้ำซาก เพราะเขากล่าวถึงการละโดยการข่มกามราคะอย่างเดียว อันกาม ราคะอัน"มรรค"ยังไม่ถอนขึ้นตราบใด ตราบนั้นก็ยังมีการผูกพันเรื่อยไป เพราะฉะนั้นเมื่อจะทรงถือเอาคำอุปมานั้นนั่นแหละ แล้วทรงเปลี่ยนแสดง ด้วย"ความสามารถแห่งมรรค" จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ (๕๗) .
จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ ๑.
....................................

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 12 พ.ย. 2550

นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกั้นความดี

1. กามฉันทะ ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

2. พยาปาทะ ความปองร้าย ความอาฆาต

3. ถีนนะมินทะ ความง่วงนอน

4. กุกกุจจะ ความเดือดร้อนใจ ในกุศลที่ยังไม่ได้ทำ

5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

สติเป็นที่จำปรารถนาในที่ทั้งปวง ขณะที่สติเกิดเป็นเครื่องกั้นอกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
takecare
วันที่ 12 พ.ย. 2550

ละกามด้วยความเป็นพระอนาคามี ละความเห็นผิดว่า กามเป็นเราเมื่อเป็นพระโสดาบัน การศึกษาและดับกิเลสทุกอย่าง...ตามลำดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mamapapa
วันที่ 13 พ.ย. 2550

เรียน คุณวรรณี

ข้อ ๔ กุกกุจจะ ความเดือดร้อนใจ ถ้าเป็นอกุศลที่ทำแล้วหรือเกิดแล้วบ่อยๆ แต่มาคิดได้ภายหลังว่าไม่ควรเลยที่จะกระทำอย่างนั้น แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งได้ บางครั้ง เท่านั้น ที่สามารถยังยั้งได้เพราะเกิดคิดได้ในขณะนั้น นี่กระมังที่เป็นกุศลที่เกิดขึ้นจึงยังยั้ง อกุศลได้เพราะคิดตามธรรมะที่เคยได้ยินมาว่าจะเป็นเหตุที่จะต้องได้รับในอนาคต เรียนถามคุณวรรณีว่าอกุศลที่เกิดบ่อยๆ นั้นมาจากสาเหตุอะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ครูโอ
วันที่ 14 พ.ย. 2550

ข้อความบางตอนจาก....

อรรถกถาอนุโสตสูตร

บทว่า ตณฺหาธิปนฺนา ความว่า เหล่าชนที่ถูกตัณหางำ คือ ครอบไว้

หรือเข้าถึง คือหยั่งลงสู่ตัณหา. บทว่า ปริปุณฺณเสกฺโข ได้แก่ ตั้งอยู่ในความบริบูรณ์ด้วยสิกขา. บทว่า อปริหานธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่เสื่อมเป็นสภาวะ. บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญทางจิต. บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมเป็นพระขีณาสพ. แต่ในข้อนี้ ตรัสแต่อนาคามีบุคคล.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ย. 2550

อกุศลที่เกิดบ่อยๆ มาจากการสั่งสมมาแล้วในอดีต อกุศลนั้นมีเหตุปัจจัยก็เกิดอีก และกุศล

ที่เราอบรมเจริญ ยังไม่สามารถที่จะดับอกุศลได้ นอกจากเราอบรมปัญญาจนกว่าจะถึง

โลกุตตรมรรค จึงจะดับอกุศลได้เป็นสมุจเฉทตามลำดับขั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ย. 2550

เหตุที่ทำให้กุศลเจริญขึ้น จักร 4

1. คบสัตบุรุษ

2. อยู่ในประเทศที่สมควร

3. ตั้งตนไว้ชอบ เช่น ตั้งใจฟังธรรม

4. ทำบุญไว้แล้วในปางก่อน

เหตุที่ทำให้อกุศลเจริญ

1. สั่งสมอกุศลบ่อยๆ

2. คบคนพาล

3. ตั้งตนไว้ผิด เช่น คือใส่ใจ สนใจในเรื่องของอกุศล

4. ไม่ได้ทำบุญไว้ในกาลก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mamapapa
วันที่ 23 พ.ย. 2550
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณวรรณีมาก
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อิสระ
วันที่ 23 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Komsan
วันที่ 10 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ