อภิธรรมวาที ๓ ...ชอบใจที่ถูกติ ยินดีที่ถูกเตือน...

 
ajarnkruo
วันที่  14 พ.ย. 2550
หมายเลข  5528
อ่าน  1,337

จิตปรมัตถ์ แผ่นที่ ๓ ตอนที่ ๑๑๐นาทีที่ ๗.๐๔

โดยท่าน อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์

...แทนที่จะคิดว่าคนอื่นไม่ดีเลย หรือว่าคนอื่นดีกว่าเราไม่ได้ หรือว่า แม้ว่าเขาจะดีก็คิดว่าสู้เราไม่ได้ แทนที่จะเป็นอย่าง นั้นนะคะ ควรที่จะเห็นกิเลสของตนเอง แล้วก็พยายามขัด เกลา ต้องมีความตั้งใจจริงๆ ซึ่งเมื่อเห็นความไม่ดีของตน เองแล้ว ยังจะต้องตั้งใจจริงๆ ที่จะขัดเกลาด้วย

...เพราะเหตุว่าทุกคนเนี่ยค่ะ รู้ตัวว่าไม่ดีเนี่ย ต้องมีบ้าง ใช่ไหมคะ คงจะไม่มัวเมาไปเสียทั้งวันทั้งคืน แต่ว่าอาจจะมีสติเกิดระลึกได้ถึงความความไม่ดีของตนเองบ้าง ถ้าเกิดระลึกได้ถึงความไม่ดีของตนนะคะ ยังไม่พอค่ะ ยังต้องตั้งใจจริงๆ ที่จะขัดเกลาอกุศลนั้นๆ ด้วย นี่เป็นเรื่องของความทุกข์ในชีวิตประจำวันนะคะ ซึ่งพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า มาจากเหตุหลายอย่าง แต่มีทางที่จะเป็นผู้ที่เบิกบาน อิ่มเอิบในกุศล และก็ลดคลายอกุศล ซึ่งเป็นโทสมูลจิตลงได้ ถ้าพิจารณาถึงเหตุที่จะให้เกิดโทสะของแต่ละคนโดยละเอียด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 พ.ย. 2550

...ข้อความในขุททกนิกาย มหานิเทศ สารีปุตตสุตตนิเทศที่ ๑๖ ข้อ ๙๗๔ มีว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ชอบใจ พึงทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีย์ทั้งหลาย พึงกล่าววาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดเพื่อธรรมะคือการว่ากล่าวซึ่งชน

...ชีวิตประจำวันนะคะ ไม่มีใครอยากจะติคนอื่นเลย เพราะรู้ว่าถ้าติแล้วก็โกรธ หรือว่าไม่พอใจ แต่ว่าผู้ที่ถูกติเนี่ยคะ ควรจะเห็นคุณของผู้ที่ตินะคะ ว่าถ้าผู้นั้นไม่เห็นประโยชน์ของผู้นั้นแล้ว จะเตือนหรือจะติมั้ย เพราะเหตุว่าการติหรือการเตือนเนี่ยคะ ไม่ใช่ง่ายอย่างการที่จะชมนะคะ หรือว่าจะสรรเสริญ แต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักบุคคลนั้นพอที่คิดว่าจะสงเคราะห์ด้วยการติ หรือการเตือนได้หรือไม่ ถ้าสงเคราะห์ไม่ได้ ก็จะไม่มีการติหรือการเตือนเลย เพราะเหตุว่า ไม่มีประโยชน์ แต่สำหรับผู้ที่ถูกตินะคะ ขอให้พิจา-รณาทุกคนด้วยตัวเองนะคะว่า ถ้ามีใครติหรือมีใครเตือน ความรู้สึกของท่านในขณะนั้นเป็นอย่างไร และข้อความที่พระผู้มีพระ-ภาคทรงแสดงไว้ในเรื่องของการถูกติหรือการถูกตักเตือนนั้น เป็นอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 พ.ย. 2550

...ข้อความต่อไปในข้อ ๙๗๕ มีว่า คำว่า "ถูกตักเตือน" ในคำว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ชอบใจ (เป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ?) ความว่า พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ มิตร ผู้ที่เคยเห็นกัน ผู้ที่เคยคบกันมา หรือสหาย ตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุ

กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยังไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน

ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติ ยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น เหมือนสตรีที่เป็นสาวเป็นหนุ่ม กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำดำเกล้าแล้ว ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี ควรรับด้วยมือทั้งสองแล้ว เอาวางไว้บนศีรษะ ซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด พึงยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด
...ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้นพึงเข้าไปตั้งสติ ยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ชอบใจฉันนั้นเหมือนกัน ...สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่าบุคคลเห็นผู้ใดผู้แสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญาว่าเป็นผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมะของอสัตบุรุษ บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติ ชอบใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 พ.ย. 2550

...ถ้าใครเป็นอย่างนี้ น่าตักเตือนมั้ยคะ แต่ลองพิจารณานะคะ โทสมูลจิตในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จริงๆ ค่ะ ว่าประ-โยชน์อยู่ที่ไหน แล้วก็ถ้ามีผู้ที่ตักเตือนหรือว่าหวังดีนะคะ ก็ควรที่จะอนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะมีอย่างนี้สักกี่ท่านใช่ไหมคะ

ต่ว่าท่านเองเป็นผู้ที่จะตัดสินได้ว่า ท่านจะเป็นบุคคลแบบไหน จะเป็นผู้ที่ยินดีในความตักเตือนของบุคคลอื่น หรือว่าไม่เป็นผู้ยินดีในความตักเตือนของบุคคลอื่น พระธรรมมีไว้สำหรับให้พิจารณานะคะ แล้วก็ใคร่ครวญ แล้วก็น้อมประพฤติ ปฏิบัติตาม ตามความสามารถ...ไม่ใช่เพียงแต่ " ได้ฟังแล้วก็ผ่านไป "


ย้อนกลับไปอ่านหัวข้อเดิมได้จาก link ข้างล่างครับ...

อภิธรรมวาที ๒ ...โลภมูลจิต

อภิธรรมวาที ๑ ...รู้บ้างไหมว่าจิตใจของท่านนั้นไม่ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาด้วยครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 15 พ.ย. 2550

การตักเตือนกันโดยธรรม เป็นการเกื้อกูลกันในธรรมที่กระทำได้ยากอย่างยิ่ง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
medulla
วันที่ 15 พ.ย. 2550
ขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ครูโอ
วันที่ 15 พ.ย. 2550

ถ้าใครๆ ติเตียนตัวเธอ

ถ้าใครๆ ติเตียนตัวเธอเองต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนี้ เธอพึงละความไม่พอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ดูก่อน ผคุณะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่ และจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 พ.ย. 2550

ไม่อยากตามกิเลสพราะอะไร เพราะเหตุใดจึงต้องตามกิเลส

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 16 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 16 พ.ย. 2550

เมตตา คือความเป็นมิตร ความหวังดี ความเป็นเพื่อน เกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Buppha
วันที่ 16 พ.ย. 2550

ผู้มีมิตรดี มีความยำเกรง ความเคารพ กระทำตามคำของมิตรดีทั้งหลาย เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 17 พ.ย. 2550

เพราะเมตตากัน จึงเตือนกัน ต้องขอบคุณท่านที่เตือน และซาบซึ้งกับผู้น้อมรับคำเตือน

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ