ทำไมพระสงฆ์ต้องใช้ตาลปัตร

 
udomjit
วันที่  17 พ.ย. 2550
หมายเลข  5556
อ่าน  4,456

เรียนถามเรื่องการใช้ตาลปัตรมีระบุในพระไตรปิฎกหรือไม่ ทำไมพระสงฆ์ต้องใช้ตาลปัตรบังหน้าเวลาให้ศีล บางครั้งก็เห็นท่านใช้บางครั้งก็ไม่เห็นท่านใช้ ควรใช้เมื่อไรค่ะและใช้ในตอนใดบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 พ.ย. 2550

เข้าใจว่าเป็นธรรมเนียมตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลสำหรับพระผู้แสดงธรรม มือจะจับพัด

ดังข้อความในอรรถกถาดังนี้

[เล่มที่ ๔๑] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ -

นางขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ให้ปูอาสนะแล้ว ให้นำพัดมาอันหนึ่ง นั่งบนอาสนะ จับพัดอันวิจิตร เรียกมาตุคาม ๕๐๐ มาแล้วแสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น โดยทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั้นแล. หญิงแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ฟังธรรมกถาของนางแล้ว ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล


[เล่มที่ ๔๒] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๑๓

พระเถระ. จงหลีกไป นางเทวธิดา, เจ้าอย่าทำให้เราถูกพระธรรมกถึกทั้งหลาย นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า 'ได้ยินว่านางเทวธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ' แต่นี้ไป เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย.


[เล่มที่ ๔๓] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๒๒

ขอท่านจงกล่าวธรรมแก่พวกกระผมเถิด," พระโลฬุทายีเถระนั่งบนอาสนะ แล้ว จับพัดอันวิจิตรสั่นอยู่, ไม่เห็นบทธรรม แม้บทหนึ่งพูดว่า " ฉันจักสวดสรภัญญะ, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวธรรมกถา" ดังนี้แล้ว ก็ลง (จากอาสนะ)


[เล่มที่ ๔๓] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๗๔

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าวธรรมดูก่อน.ท่านจับพัดวีชนีนั่งบนอาสนะแล้ว กล่าวคาถานั้นนั่นแล. เทวดาทั้งหลายได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.


[เล่มที่ ๑๑] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๕

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้วข้าพเจ้าจะขอถามวินัยกะพระอุบาลี. แม้ท่านพระอุบาลีก็ได้เผดียงว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามวินัยแล้ว จะตอบครั้นท่านพระอุบาลีสมมติตนอย่างนี้แล้วลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา

ลำดับนั้นพระมหากัสสปเถระ นั่งบนเถรอาสน์ พระอานนท์ได้เผดียงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้าถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถาม พระธรรมแล้วจะตอบ. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง นมัสการภิกษุชั้นพระเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดงา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
udomjit
วันที่ 17 พ.ย. 2550

ขอบคุณค่ะ และ เผดียงแปลว่าอะไรค่ะ เช่นที่ใช้ว่า ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียง ว่า ...

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 17 พ.ย. 2550

ท่านพระมหากัสสปะได้เผดียงว่า คำว่าเผดียงในที่นี้หมายถึง เรียนให้ทราบ คือท่าน กล่าวกับพระภิกษุ แต่ในที่อื่น คำว่า เผดียง หมายถึงนิมนต์สงฆ์ไปรับภัตตาหาร

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 18 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornthip.d
วันที่ 18 พ.ย. 2550

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
olive
วันที่ 19 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 20 พ.ย. 2550

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เข้าใจ
วันที่ 12 ธ.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 9 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ