ปริวัฏฏสูตร - การรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔ - ๒๔ พ.ย. ๒๕๕o

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 พ.ย. 2550
หมายเลข  5585
อ่าน  2,430

สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๔ พ.ย. ๒๕๕๐ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น.

๔. ปริวัฏฏสูตร

ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม 3 หน้าที่ 121


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 พ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม 3 หน้าที่ 121

๔. ปริวัฏฏสูตร

(ว่าด้วยการรู้อุปาทานขันธ์โดยเวียนรอบ ๔)

[๑๑๒] กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน?
คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริงเพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ อย่างยอดเยี่ยมในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล เรารู้ยิ่งซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕เหล่านี้ โดยเวียนรอบ ๔ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เวียนรอบ ๔ อย่างไร คือ เรารู้ยิ่งซึ่งรูป ความเกิดแห่งรูปความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป, รู้ยิ่งซึ่งเวทนา...รู้ยิ่งซึ่งสัญญา ... รู้ยิ่งซึ่งสังขาร ... รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ ความเกิดแห่งวิญญาณความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับ-แห่งวิญญาณ.
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน. คือ มหาภูตรูป๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป ความเกิดขึ้นแห่งรูปย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูป ย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา-วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้วชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่ง

ความเกิดแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งรูปอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูปสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว,สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน,สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวน เพื่อปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน. เวทนา ๖หมวดนี้ คือ เวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส เวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสเวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ,อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา-สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว, ชนเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ ความสำคัญในรูป ความสำคัญในเสียง ความสำคัญในกลิ่น ความสำคัญในรส ความสำคัญในโผฏฐัพพะ ความสำคัญในธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัญญา, ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญาย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งสัญญาอย่างนี้ ..... ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนา ๖ หมวดนี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนาคันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขารย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมา-อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งสังขารอย่างนี้ ..... ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น. [๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา-กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธินี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้ง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ยิ่งซึ่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความเกิดแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ชื่อว่า หลุดพ้นดีแล้ว, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน ความเวียนวนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.

จบ ปริวัฏฏสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 พ.ย. 2550

อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔

ใน อุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-บทว่า จตุปริวฏฺฏํ ได้แก่ความหมุนเวียน ๔ อย่าง ในขันธ์แต่ละขันธ์.
บทว่า รูปํ อพฺภญฺญาสึ ความว่า ได้รู้ยิ่งว่า รูป เป็นทุกขสัจ. พึงทราบเนื้อความ ด้วยอำนาจสัจจะ ๔ ในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
กพฬิงการาหาร
ที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า อาหารสมุทยา นี้.
บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.
บทว่า คาธนฺติ แปลว่า ตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขภูมิด้วยพระ-ดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะตรัสอเสขภูมิ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เยจ โข เกจิ ภิกฺขเว ดังนี้.
บทว่า สุวิมุตฺตา ได้แก่ พ้นด้วยดีด้วย อรหัตตมรรค.
บทว่า เกพลิโน ได้แก่ มีกำลังเป็นของตน คือมีกิจที่จะพึงทำอันกระทำเสร็จแล้ว .
หลายบทว่า วฏฺฏํ เตสํ นตฺถิ ปญฺญาปนาย ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงปรากฏด้วยความเวียนวนที่เหลืออันใด ความเวียนวนนั้น เพื่อความปรากฏย่อมไม่มีแก่สมณะพราหมณ์เหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏฺฏํ ได้แก่ เหตุ ความว่า เหตุเพื่อความปรากฏย่อมไม่มี, ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เป็นอันทรงแสดงวาระแห่งอเสขภูมิแล้ว.

จบ อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ ๔

หมายเหตุ ในอรรถกถาและฎีกา ใช้ชื่อว่า “อุปาทานปริวัฏฏสูตร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
spob
วันที่ 20 พ.ย. 2550

ฏีกา อุปาทานปริปวัตตสูตร

ข้อความว่า จตุนฺนํ ปริวฏฺฏนวเสน ความหมุนเวียน ๔ รอบ ในขันธ์แต่ละขันธ์ ได้แก่ โดยเกี่ยวกับการหมุนเวียนแห่งอริยสัจ ๔ ในขันธ์แต่ละขันธ์

ข้อความว่า รูปํ อพฺภญฺญาสึ เรา ได้รู้ยิ่ง ซึ่งรูป หมายความว่า เราตถาคต ได้รู้ยิ่งด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง คือ แทงตลอด ซึ่งภูตรูปและอุปาทารูปทั้งสิ้นว่า เป็นทุกขสัจจะ โดยความเป็นสิ่งน่ารังเกียจ และ เพราะความว่างเปล่าและแปรปรวนในรูปนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อาหารสมุทยา เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร หมายความว่า เพราะความเสื่อมและความเจริญเป็นต้นแห่งรูปกายจะปรากฏได้ ก็ด้วยอำนาจแห่งอาหาร และเพราะเป็นปัจจัยพิเศษแห่งรูปขันธ์นั้น ฯ


ทุกฺขสมุทยกถา นาม วฎฺฎกถาติ
‘‘สจฺฉนฺทราโค’’ติ วิเสเสตฺวา วุตฺตํฯ ฉนฺทราคคฺคหเณน จ อุปาทานกมฺมาวิชฺชาปิ คหิตา เอวฯ

ขึ้นชื่อว่า ทุกขสมุทยกถา (กถาว่าด้วยเหตุตั้งขึ้นแห่งทุกข์) ก็ได้แก่ วัฏฏกถา (กถาว่าด้วยวัฏฏะ) เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวให้พิเศษยิ่งขึ้นว่า สจฺฉนฺทราโค กพฬิงการาหารที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ ฯ อนึ่ง แม้อุปาทาน กรรมและอวิชชาก็เป็นอันถือเอา ด้วยคำว่า ฉันทราคะ ฯ

คำว่า ปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติแล้ว หมายความว่า ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ ฯ จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคทรงใช้เป็นปัจจุบันกาล เหมือนอย่างในพระบาลีว่า กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ กุศลจิต ย่อมเป็นอันเกิดขึ้น (อยู่ในขณะนั้น) "
ข้อความว่า ปติฏฐหนฺติ ตั้งอยู่ หมายถึง ได้ที่พึ่ง ฯ

ในข้อความว่า เกพลิโน ผู้มีกำลัง คือ มีความบริบูรณ์ด้วยคุณคือวิมุตติ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สกลิโน กตสพฺพกิจฺจา มีกำลังเป็นของตน คือ มีกิจที่จะพึงทำได้ทำเสร็จแล้ว ฯ

ข้อความว่า เยน เต สมณพราหมณ์เหล่านั้น พึงปรากฏด้วยความเวียนวนที่เหลือเหล่าใด หมายความว่า พระอเสกขะเหล่านั้น เมื่อจะปรากฏ ชื่อว่า จะพึงปรากฏ ด้วยความเวียนวน ที่เหลือใด,ความเวียนวนนั้น เพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่พระอเสกขะเหล่านั้น เหมือนอย่างพระเสกขะ ฯ

ข้อความว่า วฏฺฏนฺติ การณํ คำว่า วัฏฏะ เป็นเหตุ หมายความว่า เพราะอรรถว่า เป็นการหมุนวนคือ เพราะอรรถว่าเป็นการไปเพื่อผล ฯ
ข้อความว่า อเสกฺขภูมิวาโร เป็นวาระแห่งอเสกขภูมิ ได้แก่ เป็นความเป็นไปแห่งอเสกขภูมิ ฯ


จบ ฏีกาอุปาทานปริปวัตตสูตร

หมายเหตุ อนึ่ง ในอรรถกถาและฏีกาฉบับ มจร. ใช้ชื่อว่า อุปาทานปริปวัตตสูตร

ฏีกาอุปาทานปริปวัตตสูตรนี้ ข้าพเจ้า (spob) แปลจาก คัมภีร์สังยุตตฏีกา ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา ฯ ทุติยภาค หน้า ๒๖๘

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาในวิริยะของ คุณ spob เป็นอย่างมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนา คุณ spob เป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ที่แปลคัมภีร์ฎีกาเพิ่มเติมในพระสูตรแต่ละสัปดาห์ ซึ่งเป็นการแปลที่สละสลวยไพเราะ เพิ่มพูนความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ขออนุโทนา

และขอชื่นชมคุณ Spob ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการแปลภาษาบาลี มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 22 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาและขอชื่นชมทุกๆ ท่านที่นำพระสูตรมาให้อ่าน และคุณ spop ที่แปล

ฎีกาให้เข้าใจเพิ่มขึ้น ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้น และแวะเวียนเข้ามาในเว็ป.สม่ำเสมอ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ตุลา
วันที่ 22 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
spob
วันที่ 22 พ.ย. 2550

ขอบพระคุณและขอน้อมรับไว้ด้วยความตื้นตันเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากมีอะไรที่กระผมแปลผิดพลาดด้วยความรู้ที่ยังจำกัดอยู่ ก็ขอความอนุเคราะห์จากครู อาจารย์ และเพื่อนๆ ที่เคารพทุกท่าน ช่วยแนะนำด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ