การรับผลของกรรม
๑. สมมติว่า คนๆ หนึ่งทำอนันตริยกรรม ตอนตายเขาต้องไปสู่อบายภูมิแต่ได้กำเนิดแบบโอปปาติกะ ช่วงปลายของชีวิต เขาเป็นผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐาน และภพภูมินั้นก็เป็นกามภูมิ มีขันธ์ ๕ เหมือนกัน เขาจะเจริญสติปัฏฐานต่อในภูมินั้นได้หรือไม่ (ก็ยังจำได้ เพราะโตทันที) ถึงจะได้รับแต่ทุกขเวทนาทางกายเป็นส่วนใหญ่ สติก็สามารถระลึกไปในทุกขเวทนาได้ เพราะเจ็บปวดก็เป็นธรรม หรือว่ายังไงๆ ก็เจริญกุศลธรรมไม่ได้ เลย จะเป็นเพราะเหตุใด
๒. ผู้ที่กระทำ ปิตุฆาต มาตุฆาต ในชาตินั้น ไม่สามารถเป็นพระอริยบุคคลได้ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู แต่การฆ่าผู้อื่นที่ไม่ใช่บิดา มารดา กลับบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้อย่างพระองคุลิมาล เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต่างกันที่กรรมหรือที่คุณของผู้ถูกฆ่าใช่ไหม
๓. มีกรรมหนักกรรมใดอีกหรือไม่ ที่กั้นมรรคหรือปิดประตูการบรรลุเป็นพระอริยเจ้า
๑. ไม่สามารถเจริญสติปัฏฐานได้ เพราะเกิดในภพภูมิที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน แต่กุศลจิตอาจเกิดได้บ้าง
๒. ต่างกันที่วัตถุ คือบุคคลผู้ถูกฆ่า และกรรมเป็นกรรมหนัก
๓. นอกจากอนันตริยกรรมแล้วยังมี นิยตมิจฉาทิฏฐิ การข่มขืนพระภิกษุณี การว่าร้ายพระอริยะ เป็นต้น ทำให้กั้นมรรคเช่นกัน ดังข้อความในอรรถกถาดังนี้
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
อนันตริยกรรมมี ๕
๑. ฆ่าบิดา
๒. ฆ่ามารดา
๓. ฆ่าพระอรหันต์
๔. ทำพระโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ
๕. ทำสงฆ์ให้แตกกัน
คนที่ทำอนันตริยกรรมแล้ว ตายจากชาตินั้นต้องตกนรกทันที ไม่มีระหว่างคั่น แต่ภายหลังเขากลับมาเกิดเป็นมนูษย์ ไม่ประมาท ฟังธรรม ก็สามารถบรรลุมรรคผล นิพพาน ได้ค่ะถ้าจะกั้นการบรรลุมรรค ผล นิพพาน เฉพาะชาตินั้นเท่านั้นค่ะ