บุคคลที่สัปปายะ
ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราได้ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม เราจำเป็นต้องเลือกบุคคลที่สัปปายะหรือไม่ เพราะเคยอ่านในพระอภิธรรม พบว่าการปฏิบัติธรรมให้ได้ผล จะต้องประกอบด้วย
๑. สถานที่สัปปายะ
๒. บุคคล
๓. อาหาร
๔. อากาศ
๕. อาจารย์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การเลือกคบคนเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในการให้บรรลุมรรคผลและการเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย คนดีหรือเป็นสัตบุรุษนั้น ย่อมแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้เจริญในทางกุศล อธิบายในสิ่งที่ทำให้เข้าใจพระธรรม อันนำไปสู่การบรรลุมรรคผลหรือเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นต้น ส่วนคนไม่ดีเป็นอสัตบุรุษ ก็ย่อมแนะนำไปในทางไม่ดี เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศล และเป็นคนที่เข้าใจพระธรรมผิด ก็แนะนำในทางที่ผิด ชักชวนในทางที่ผิด ก็ย่อมทำให้เสื่อมประโยชน์ในโลกนี้คือ กุศลที่เกิดขึ้นและเสื่อมประโยชน์ในโลกหน้าด้วย แทนที่จะไปที่ดีก็ต้องไปอบายภูมิ เพราะทำตามอสัตบุรุษและเสื่อมประโยชน์อย่างยิ่งคือ มรรคผล นิพพาน เพราะทำตามทางที่ผิด ซึ่งในพระไตรปิฎก แสดงไว้หลายสูตรว่า ควรคบบัณฑิต แต่ที่สำคัญการจะรู้ว่าใครเป็นบัณฑิตคนนั้นก็ต้องมีปัญญาด้วย ไม่เช่นนั้น ก็สำคัญคนนั้นว่าเป็นคนดีหรือบัณฑิตได้ตัดสินจากพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มิใช่ความถูกใจของตนเองเป็นสำคัญการคบกับบุคคลที่ควรคบที่เป็นสัตบุรุษ จึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้บรรลุมรรคผล และกุศลประการต่างๆ เจริญขึ้นครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
เรื่อง การคบสัตบุรุษ ย่อมทำให้บรรลุ มรรคผล นิพพาน
[เล่มที่ ๓๘] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๐๐
ข้อความบางตอน
อวิชชาสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุคคลที่ควรเสพคุ้นและไม่ควรเสพคุ้นเพราะ....
เชิญคลิกอ่านที่นี่
บุคคลที่ไม่ควรเสพ (ไม่คบ) และควรเสพ (คบ) [เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร]
ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า พระอานนท์บอกว่ากัลยาณมิตรเป็นครี่งหนึ่งของพรหมจรรย์ แต่ท่านพระสารีบุตรบอกว่ากัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรับรองคำ ของพระสารีบุตรว่าเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ค่ะ กัลยาณมิตร หมายถึงมิตรที่ดีงาม เป็นคนที่มีคุณธรรม เช่น มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา กัลยาณมิตรที่สูงสุดคือ พระพุทธเจ้า ฯลฯ
(๗) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดาย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูก่อนอานนท์ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีเป็นพรหมจรรย์ ทั้งสิ้นทีเดียวนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ แล อุปัฑฒสูตรที่ ๒ สังยุตต. มหาวาร.
ถ้ากรณีที่เราต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่สัมปายะ ซึ่งมีส่วนทำให้เราอารมณ์ขุ่นมัว เราควรจะปรับใจอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เราเหมือนจะทำใจได้ แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเรายังมีความเข้าใจพระธรรมน้อย เมตตาน้อย เมื่อเจอเหตุการณ์ที่กล่าวมา ย่อมหวั่นไหวไปตามกำลังอกุศลที่มี ดังนั้นพระธรรมเท่านั้นที่จะช่วยขัดเกลา เมื่อเข้าใจพระธรรมมากขึ้น การปรับใจหรือกุศลประการต่างๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามกำลังปัญญาที่เข้าใจพระธรรม ฟังธรรมต่อไปนะ ให้รู้ว่าบังคับไม่ได้เพราะอกุศลเรายังมีมากครับ และปัญญายังน้อยอยู่แต่อบรมได้ หนทางเดียวคือฟังพระธรรม
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ควรเจริญเมตตาให้มากครับ อกุศลของเขา เราทำอะไรไม่ได้ แต่อกุศลที่เกิดกับจิตของเรา เป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า ถ้าเราโกรธ หรือขุ่นข้อง รำคาญใจ โดยคิดว่า เป็นเพราะเขาทำให้เรา ไม่พอใจ ไม่สบายใจบ่อยๆ ตัวเราเองต่างหากที่จะต้องเป็นทุกข์เพราะกิเลสของเราเอง ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณมากค่ะ จะปฏิบัติตามคำแนะนำ ทุกวันนี้ได้ฟังธรรมของอจ.สุจินต์ตลอด ช่วยให้เราได้มีสติและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีมากเลยค่ะ แต่ก็ยังเป็นอกุศลอยู่ คือสลับกันไปมา เมื่อใดที่เรายังมีกิเลส อารมณ์ของเราก็จะหวั่นไหวไปตามสิ่งที่มากระทบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สัมผัสได้อยู่