ธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด

 
pirmsombat
วันที่  21 พ.ย. 2550
หมายเลข  5615
อ่าน  2,341

บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่า ธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด. พระเถระแสดงทุกขสัจ แก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

บาทคาถาว่า เตส เหตุ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจ ชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย.

๑. มหาวิภงฺค. ปฐม. ๒๗.


[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๓๓

บาทคาถาว่า เตสฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า พระตถาคตตรัส ความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น

ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย. เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย


พระอัสสชิ แสดงธรรมนี้แก่ พระสารีบุตร ทำให้พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน ที่จริงธรรมข้อนี้ก็คือ อริยสัจ ๔ นั่นเองเบญจขันธ์ คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ ชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้นพระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัส สมุทยสัจนั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่พระสารีบุตรด้วยว่าความดับ คือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้นด้วยส่วนมรรคสัจ แม้ไม่ได้แสดงรวมไว้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธมรรคซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แช่มชื่น
วันที่ 21 พ.ย. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 พ.ย. 2550
ลึกซึ้งยิ่งนัก อริยสัจ 4 ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 22 พ.ย. 2550
จะดับเหตุของทุกข์ ก็ต้องอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์แปดค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pairojj
วันที่ 22 พ.ย. 2550

(๘๐๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้วบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้วบุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. วิรัทธสูตร สังยุตต. มหาวาร.

(๘๑๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลยและอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาในเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เธอทั้งหลายจงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่เถิดอย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลยและอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.

อมตะสูตร สังยุตต.มหาวาร.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ