มหาปฐพีไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิน

 
สัมภเวสี
วันที่  5 ธ.ค. 2548
หมายเลข  563
อ่าน  2,718

ขอเรียนถามท่านวิทยากร

มหาปฐพีไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิน หมายความว่าอย่างไรครับ

อนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 5 ธ.ค. 2548

ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา หมายถึง แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ในกาลบางครั้งแผ่นดินใหญ่นี้ไหวแรง ย่อมไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 5 ธ.ค. 2548

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 180

จริงอยู่ จักรวาลหนึ่งยาวและกว้างถึง ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์ (หนึ่งล้านสองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์) วัดโดยรอบ ตามคาถาที่ท่านประพันธ์ไว้ว่า สพฺพ สตสหสฺสานิ ฉตฺตึส ปริมณฺฑล ทสญฺเจว สหสฺสานิ อฑฺฒุฑฺฒานิ สตานิ จ

จักรวาลทั้งหมดมีสัณฐานกลม วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ (สามล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบโยชน์) ในจักรวาลนั้น มีคาถาว่า ทุเว สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ เอตฺตก พหลตฺเตน สขาตาย พสุนฺธรา แผ่นดินนี้ วัดโดยส่วนหนาได้เท่านี้ คือ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ (สองแสนสี่หมื่นโยชน์)

แผ่นดินนั้นนั่นแหละมีน้ำรองแผ่นดิน (ดังคาถาว่า) จตฺตาริ สตสหสฺสานิ อฏฺเว นหุตานิ จ เอตฺตก พหลตฺเตน ชล วาเต ปติฏฺิต น้ำรองแผ่นดินหนาถึง ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ (สี่แสนแปดหมื่นโยชน์)

ตั้งอยู่บนลม แม้น้ำนั้นแหละก็มีลมรองอยู่ (ดังคาถาว่า) นว สตสหสฺสานิ มาลุโต นภมุคฺคโต สฏฺิญฺเจว สหสฺสานิ เอสา โลกสฺส สณฺิติ ลมสูงขึ้นสู่ท้องนภาถึง ๙๖๐,๐๐๐โยชน์ (เก้าแสนหกหมื่นโยชน์)

นี้เป็นการตั้งอยู่ของโลก ก็เมื่อโลกตั้งอยู่อย่างนี้ มีขุนเขาสิเนรุราช หยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรถึง ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ (แปดหมื่นสี่พันโยชน์) สูงขึ้นจากมหาสมุทรได้ ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ เหมือนกัน มีภูเขาใหญ่ล้วนด้วยศีลาเป็นแท่งทึบ ๗ เทือก เหล่านี้ คือ ภูเขาชื่อวายุคันธ ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ ภูเขาอสัสกรรณ ล้วนวิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ อันเป็นทิพย์หยั่งลงในมหาสมุทร และสูงขึ้นจามหาสมุทรประมาณกึ่งหนึ่งๆ โดยประมาณที่กล่าวไว้ทั้งข้างบนข้างล่าง โดยรอบขุนเขาสิเนรุราชนั้น ตามลำดับ * เป็นที่สิ่งสถิตของ มหาราชทั้งหลาย เป็นถิ่นประจำของหมู่เทพ และพวกยักษ์ ยังมีภูเขาชื่อหิมพานต์สูง ๕๐๐ โยชน์ ยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ งดงามด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด

ชมพูทวีปรุ่งเรืองแล้วด้วยอานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพู (ต้นหว้า) นั้นวัดรอบลำต้นได้ ๑๕ โยชน์ มีกิ่งลำต้นยาว ๕๐ โยชน์รอบด้าน ว่างได้ร้อยโยชน์ สูงขึ้นร้อยโยชน์เหมือนกัน.

อนึ่ง ประมาณแห่งต้นชมพูนี้อันใด ต้นจิตตปาฏลี (แคฝอย) ของพวกอสูรก็ดี ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑก็ดี ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม ในทวีปอมรโคยานก็ดี ต้นกัลปพฤษ์ ในทวีปอุตตรกุรุก็ดี ต้นสิรีสะ ในทวีปปุพพวิเทหะก็ดี ต้นปาริฉัตตกะในดาวดึงส์ทั้งหลายก็ดี ก็มีประมาณนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ต้นปาฏลี (แคฝอย) ๑ ต้นสิมพลี (ไม้งิ้ว) ๑ ต้นชมพู (ไม้หว้า) ๑ ต้นปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ของพวกเทพ ๑ ต้นกทัมพะ (ไม้กระทุ่ม) ๑ ต้นกัลปพฤกษ์ ๑ ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก) เป็นที่ ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ