กล่าวมุสา แล้วไม่ทำบาปแม้น้อยหนึ่ง ไม่มี
ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
................................
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุล ไม่กล่าวมุสา แม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น เพราะถ้ากล่าวมุสาได้ ที่จะไม่ทำบาปแม้น้อยหนึ่ง ไม่มีดั้งนั้นบุคคลใดมุสาได้ ย่อมทำบาปอย่างอื่นแม้น้อยหนึ่งได้ผู้ใดมุสา จะเป็นผู้ที่น่ากลัวมาก เพราะสามารถทำอกุศลได้ทุกอย่าง ครับเพราะบาปแม้นัอยหนึ่งก็ยังทำได้ บาปมากๆ ก็ทำด้วย การกล่าวมุสาแม้เรื่องเล็กน้อย หรือแม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น ก็ไม่ควรกล่าว เพราะตามการสะสมจะเป็นเหตุปัจจัยให้กล่าวมุสาเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย
หรือเสียประโยชน์มากมาย ไม่เป็นที่เชื่อถือของบุคคลอื่น และสามารถทำบาปมากๆ ได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนท่านพระราหุล ไม่ให้กล่าวมุสาแม้เรื่องเล็กน้อย เช่นเพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น นอกจากนี้ ผมว่า การไม่กล่าวมุสา แม้เรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องสำคัญเราก็ควรอบรม เพราะเป็นการอบรมเจริญ สัจจบารมีด้วย ถ้าไม่อบรมเจริญสัจจบารมี ซึ่งมีประโยชน์มาก และสำคัญมาก บารมีหนึ่งวันหนึ่งๆ เรามักจะพูดมุสากันไม่น้อย ด้วยเหตุใดก็ตาม เช่นพูดจาล้อเล่น
ซึ่งไม่เป็นความจริง หรือพูดมุสา เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น
และอื่นๆ อีกมาก ส่วนมากจะคิดว่าไม่เป็นไรความจริงการกล่าวมุสาไม่สมควร และไม่ดี เราควรอบรมการไม่กล่าวมุสาคือการพูดความจริง จะได้เป็นสัจจบารมีบางส่วน เพราะ สัจจบารมีหมายถึงพูดจริง ทำจริง เพื่อเป็นกุศลที่ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้คือเจริญ สติปัฏฐาน ถึงฝั่งโน้น คิอ พระนิพพาน นะครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ตราบใดที่เป็นปุถุชน เมื่อมีเหตุปัจจัยย่อมล่วงศีลได้ แม้ทำอนันตริยกรรม ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 308
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา พหุธาตุกสูตร
ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระ-
ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกำลังมาก
ตรงที่ไม่กระทำกรรมเหล่านี้ . ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
อกุศลกรรมทุกประการน่ากลัว เพราะตามให้ผล คือให้ได้รับวิบากเป็นทุกข์ในภายภาคหน้าได้ แต่ถ้ากลัวอกุศลกรรมเพราะอกุศลจิต ขณะนั้นเป็นโทสมูลจิต ไม่ใช่กุศล ไม่สลด ไม่ถอยกลับ แต่ถ้าละอายด้วยหิริ กลัวด้วยโอตตัปปะ สติระลึก และปัญญาเห็นโทษในอกุศลธรรม ขณะนั้นจึงจะสลด และถอยกลับจากอกุศลจิตที่จะก่ออกุศลกรรมอย่างรวดเร็วทันทีครับขออนุโมทนาครับ
ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล
................................
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุล ไม่กล่าวมุสา แม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น เพราะถ้ากล่าวมุสาได้ ที่จะไม่ทำบาปแม้น้อยหนึ่ง ไม่มีดั้งนั้นบุคคลใดมุสาได้ ย่อมทำบาปอย่างอื่นแม้น้อยหนึ่งได้ผู้ใดมุสา จะเป็นผู้ที่น่ากลัวมาก เพราะสามารถทำอกุศลได้ทุกอย่าง ครับเพราะบาปแม้นัอยหนึ่งก็ยังทำได้ บาปมากๆ ก็ทำด้วย การกล่าวมุสาแม้เรื่องเล็กน้อย หรือแม้เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น ก็ไม่ควรกล่าว เพราะตามการสะสมจะเป็นเหตุปัจจัยให้กล่าวมุสาเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย
หรือเสียประโยชน์มากมาย ไม่เป็นที่เชื่อถือของบุคคลอื่น และสามารถทำบาปมากๆ ได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนท่านพระราหุล ไม่ให้กล่าวมุสาแม้เรื่องเล็กน้อย เช่นเพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น นอกจากนี้ ผมว่า การไม่กล่าวมุสา แม้เรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องสำคัญเราก็ควรอบรม เพราะเป็นการอบรมเจริญ สัจจบารมีด้วย ถ้าไม่อบรมเจริญสัจจบารมี ซึ่งมีประโยชน์มาก และสำคัญมาก บารมีหนึ่งวันหนึ่งๆ เรามักจะพูดมุสากันไม่น้อย ด้วยเหตุใดก็ตาม เช่นพูดจาล้อเล่น
ซึ่งไม่เป็นความจริง หรือพูดมุสา เพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น
และอื่นๆ อีกมาก ส่วนมากจะคิดว่าไม่เป็นไรความจริงการกล่าวมุสาไม่สมควร และไม่ดี เราควรอบรมการไม่กล่าวมุสาคือการพูดความจริง จะได้เป็นสัจจบารมีบางส่วน เพราะ สัจจบารมีหมายถึงพูดจริง ทำจริง เพื่อเป็นกุศลที่ถึงซึ่งความพ้นทุกข์ได้คือเจริญ สติปัฏฐาน ถึงฝั่งโน้น คิอ พระนิพพาน นะครับ
คนที่ทำผิด แล้วไม่ยอมรับผิด คือมุสา
จึงทำผิดซ้ำซ้อน จากเรื่องเล็กๆ ก็บานปลายไปใหญ่โตได้
วิธีที่จะให้คนนั้นยุติการทำชั่ว (ทุศีล)
ด้วยการบอกกล่าว เล่าเรื่องโทษของการทำให้ผู้อื่นเสืยหาย
ว่า...ตัวเองก็จะเดือดร้อน (เป็นทุกข์) ไปด้วย
ถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่เอาผิด (ให้อภัย) แล้วก็ตาม.........
"เมตตาค้ำจุนโลก"