เหตุใดพระอริยะ คิดฆ่าตัวตาย

 
จิต89หรือ121
วันที่  27 พ.ย. 2550
หมายเลข  5677
อ่าน  2,565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 37

ท้าวมหานามทรงดำริว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม,

การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม

สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ.

------------------------------------------------

ท้าวมหานามะ เป็นถึงพระสกทาคามี (พระอริยบุคคลขั้นที่ 2) ทำไมจึงคิดฆ่าตัวตาย ล่ะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 พ.ย. 2550

ตามหลักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนผู้อื่นทำ และไม่อนุญาตให้ผู้อื่นทำด้วย แต่การฆ่าตัวตายไม่เป็นปาณาติบาต ดังข้อความในอรรถกถาพระวินัย เรื่องพระภิกษุฆ่าตัวตาย ดังนี้

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

......... ภิกษุผู้ เป็นอริยะไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนบุคคลอื่น ทั้งไม่อนุญาตด้วย.
ส่วนภิกษุผู้เป็นปุถุชน กระทำได้แทบทุกอย่าง.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 27 พ.ย. 2550

เป็นเรื่องละเอียดของสภาพจิตใจนะครับ ถ้าจะคิดพิจารณาจากเหตุผลแล้ว พระโสดาบัน และ

พระสกทาคามี เป็นพระอริยบุคคล ซึ่งยังมีโทสะอยู่ แม้การฆ่าตัวตาย มิใช่ปาณาติบาต

แต่ต้องเป็นการกระทำที่เป็นไปด้วยอำนาจโทสะแน่นอน

สำหรับปุถุชนเกือบทั้งหมดการฆ่าตัวตายจะเป็นเรื่องของกามเสียเป็นส่วนมาก

แต่จากตัวอย่างที่ยกมานี้ ท้าวมหานามะ ฆ่าตัวตายด้วยอำนาจของ "มานะ"

(ความสำคัญตน) ครับ................ทิฏฐิพระ - มานะกษัตริย์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ย. 2550

ไม่มีกำลังใดเสมอด้วยกำลังของกรรมค่ะ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดก็ตาม แต่แม้

พระพุทธเจ้าก็ยังได้รับอกุศลวิบากทางกายเลย หรือพระโมคคัลลานะ เป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ ก็

ยังหนีกรรมไม่พ้น ถูกโจรทุบตีจนกระดูกแตก ภายหลังท่านก็มาทูลลาพระพุทธเจ้าปรินิพพานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แช่มชื่น
วันที่ 28 พ.ย. 2550

พระสกทาคามียังไม่ได้ดับปฏิฆานุสัยครับ ยังมีเหตุปัจจัยให้โทสมูลจิตเกิดได้ ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ไม่โกรธ ไม่กลัว ไม่โศกเศร้า อาจจะสลดได้ด้วยปัญญา แต่จะไม่เสียใจด้วยโทสะ เช่น พระสารีบุตรไม่ฉันของขบเคี้ยว ที่ทำด้วยแป้ง เพราะท่านเกิดสลดใจที่พระรูปหนึ่งยินดี พอใจในกาม คือรสของอาหารนั้นครับขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ