กฏัตตากรรม หรือ กฏัตตาวาปนกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2550
หมายเลข  5684
อ่าน  3,962

กฏัตตากรรม หรือ กฏัตตาวาปนกรรม

กัตตตา (ความกระทำแล้ว) + กัมมะ (การกระทำ คือ เจตนาเจตสิก ความตั้งใจ ความจงใจ)

กรรมที่สักว่ากระทำแล้ว หมายถึง กรรมเล็กน้อยที่ไม่ใช่ครุกรรม ไม่ใช่อาสันนกรรม และไม่ใช่อาจิณณกรรม เพียงสักว่ากระทำโดยที่เจตนาไม่มีกำลังมาก

ทางฝ่ายกุศล เช่น ไม่เต็มใจที่จะให้เงินแก่ผู้ยากไร้ที่กำลังรบเร้าขออยู่ แต่ก็เสียไม่ได้ที่จะต้องให้กุศลเจตนาที่ให้มีเพียงเล็กน้อย เป็นกฏัตตากรรม (กฏัตตาวาปณกรรม)

ทางฝ่ายอกุศล เช่น ไม่ต้องการที่จะฆ่ามด ซึ่งเกาะอยู่ที่ถ้วยชามที่กำลังจะล้าง แต่ด้วยความเกียจคร้านที่จะต้องจับมดออกทีละตัวจึงเทน้ำหรือฉีดน้ำเพื่อไล่มด โดยที่รู้ว่ามดนั้นอาจจะตายได้ ถ้ามดตาย อกุศลกรรมนี้เป็นกฏัตตากรรม ซึ่งแม้จะเล็กน้อยก็ให้ผลนำปฏิสนธิได้

ฉะนั้น สภาพธรรมของกฏัตตากรรม หรือกฏัตตาวาปนกรรม จึงได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิต ๘ ดวง และอกุศลจิต ๑๒ ดวง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 พ.ย. 2550

เชิญคลิกฟัง ---->

กฏัตตาวาปนกรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 พ.ย. 2550

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 121

ก็ในสูตรนี้คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ทิฏเฐ วาธมฺเม เพื่อไม่ให้ฟั่นเฟือนในคำนั้นในที่นี้ ควรกล่าวจำแนกกรรม (ออกไป) อธิบายว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกกรรมไว้ ๑๑ อย่างคือ

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑

อุปปัชชเวทนียกรรม ๑

อปรปริยายเวทนียกรรม ๑

ครุกกรรม ๑

พหุลกรรม ๑

ยทาสันนกรรม ๑

กฏัตตวาปนกรรม ๑

ชนกกรรม ๑

อุปัตถัมภกกรรม ๑

อุปปีฬกกรรม๑

อุปฆาตกกรรม ๑

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 พ.ย. 2550

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 129

อธิบายกฏัตตาวาปนกรรม ส่วนกรรมนอกเหนือจากกรรม ๓ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ทำไปโดยไม่รู้ชื่อว่า กฏัตตาวาปนกรรม กฏัตตาวาปนกรรมนั้น อำนวยวิบากได้ในกาลบางครั้ง เพราะไม่มีกรรม ๓ อย่างเหล่านั้น เหมือนท่อนไม้๑ ที่คนบ้าขว้างไปจะตกไปในที่ๆ ไม่มีจุดหมาย ฉะนั้น

๑. ปาฐะว่า ขิตฺตํ กณฺฑํ ฉบับพม่าเป็น ขิตตทณฺฑํ แปลตามฉบับพม่า

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 28 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ