กรรม
กรรม
กะรัง ธาตุ (ในการกระทำ) + รัมมะ ปัจจัย = กัมมัง
การกระทำ หมายถึง เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง กรรม คือเจตนานี้ จำแนกได้ ๒ ประเภท ได้แก่
๑.สหชาตกรรม คือ เจตนาเจตสิกที่ทำกิจตั้งใจ จงใจ หรือจัดแจงให้สัมปยุตตธรรมทำกิจของตนๆ เช่น จัดแจงให้ผัสสะกระทบอารมณ์ ให้เวทนาเสวยอารมณ์ ให้สัญญาจำอารมณ์ ให้จิตรู้แจ้งอารมณ์ เป็นต้น สหชาตกรรมเกิดกับจิตทั้ง ๔ ชาติ (ทุกดวง)
๒.นานักขณิกกรรม คือเจตนาเจตสิกที่ทำกิจจัดแจง หรือประมวลมาซึ่งผล คือวิบากเจตสิก และกัมมชรูป นานักขณิกกรรมเกิดกับกุศลจิต และกุศลจิตเท่านั้น (เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิต และอกุศลจิตซึ่งไม่ให้ผล ไม่เป็นนานักขณิกกรรม เป็นเพียงสหชาตกรรมเท่านั้น)
[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
[๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สำเร็จลง กล่าวคือ
๑.กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลายและกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
๒.สภาวธรรม คือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทสต่อไป
บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม
สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง) .
บทว่า กมฺมปจฺจเยน ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตนเกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัปป์ มิใช่น้อย. จริงอยู่ กุศลกรรม และอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตนเป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น. ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่นจากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อจากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็นสภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรกแม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลังๆ ในกาลอื่นได้
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย
สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน.
ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺ€า-นานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วยคำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะแก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าวคือความพยายามแห่งจิต เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนาบาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน. ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้นว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบากและกิริยาใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจรภูมิ เป็นต้น อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในกัมมปัจจัยดังกล่าวมาแล้วก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตนและกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะในปัญจโวการภพเท่านั้นหาเป็นในภพอื่นไม่
รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ สหชาตกัมมปัจจัย โดยส่วนเดียว แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย อรูปาวจรกุศลเจตนา และโลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกันเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียวด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตนๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย อกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้นด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย
อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกัมมชรูปด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย
อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-กัมมปัจจัย
กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย ก็กิริยาเจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล
วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ
ข้อความในมโนรถปุรณีอรรถกถา มีข้อความว่า
จริงอยู่ โดยปริยายแห่งพระสุตตันตปิฎก กรรมทั้งหลาย ๑๑ อย่าง อันท่านจำแนกไว้แล้ว
ถามว่าท่านจำแนกไว้อย่างไร
แก้ว่า ท่านจำแนกไว้ว่า
ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม หมายความถึงกรรมที่ให้ผลในปัจจุบันชาติ
อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติต่อไป
อปรปริยายเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไปอีกไม่สิ้นสุด ตราบใดที่ยังมีสังสารวัฏฏ์
ครุกรรม คือ กรรมหนัก
พหุลกรรม คือ กรรมที่มีกำลัง
อาสันนกรรม คือ กรรมที่ทำเมื่อใกล้จะจุติ คือใกล้จะสิ้นชีวิต
กฏัตตาวาปนกรรม คือ กรรมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่ใช่ครุกรรม พหุลกรรม อาสันนกรรม
ชนกกรรม คือ กรรมที่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น
อุปถัมภกกรรม คือ กรรมซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด แต่อุปถัมภ์หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิดแล้ว
อุปปีฬกกรรม คือ กรรมที่เบียดเบียนกรรมอื่นซึ่งกำลังให้ผลอยู่
อุปฆาตกกรรม คือ กรรมซึ่งตัดรอนกรรมอื่นที่กำลังให้ผลอยู่
สำหรับทั่วๆ ไป ท่านผู้ฟังมักจะได้ยินคำว่า “กรรม ๑๒” แต่สำหรับในมโนรถปุรณีอรรถกถา นิทานวรรค แสดงถึงกรรม ๑๑
โดยปริยายแห่งพระอภิธรรม จำแนกกรรมไว้ ๑๖ ประการ
นี่ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า เรื่องของกรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ