ตถาคตไสยา นอนด้วยจตุตถฌาน

 
pirmsombat
วันที่  29 พ.ย. 2550
หมายเลข  5705
อ่าน  2,163

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ 420


ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ


ทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่า กามโภคี-


ไสยา. จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา. ดูก่อน


ภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตไสยา. จริงอยู่


เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจ


จะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤค-


ราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่า สีหไสยา.


จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่ง


ในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและ


หางตั้งอยู่แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอนแม้นอนหลับตลอด


วัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้า


เป็นต้นตั้งอยู่. หากที่ไรๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่า


นี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น


ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่า


นี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิดจึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัด


ขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร. ส่วนการนอน


ด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน) . ในไสยา ๔


อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยา


อย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.

บทว่า ปาเท ปาท ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือเท้าซ้ายทับเท้าขวา.


บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย. เพราะเมื่อข้อเท้าเสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย. เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่เสียดสีกัน เวทนาย่อมไม่เกิดจิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า. บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ. ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติ สัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว. บทว่า อุฏฺานสญฺญ มนสิการิตฺวา ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ในใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้. เพราะทำอย่างนี้แล้วนอน จะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.

..................................................

การนอนมี ๔ อย่างคือ

กามโภคีไสยา คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย เปตไสยา เปรตโดยมากนอนหงายสีหไสยา สีหมฤคราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน) การนอนด้วยจตุตถฌาน


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 1 ธ.ค. 2550

ความไม่อิ่ม 3 อย่างคือ

1. ไม่อิ่มด้วยการนอน

2. ไม่อื่มด้วยการเสพสุรา

3. ไม่อิ่มด้วยการเสพเมถุน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แช่มชื่น
วันที่ 3 ธ.ค. 2550

ขณะนอนหลับสนิท เป็นภวังคจิต มีชาติวิบาก ไม่อาจจะเจริญปัญญาได้ ทว่า เมื่อมีเหตุมีปัจจัยให้นอนก็ต้องนอน การไม่ยอมนอนเพราะอกุศล และการยินดีในการนอนมากไปก็ไม่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นได้เช่นกันครับขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ