การบูชาสังเวชนียสถานทั้ง 4 ทำให้ไม่ไปอบายทั้ง 4 จริงหรือ?

 
Atom
วันที่  4 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5749
อ่าน  5,967

ขอบูชาพระรัตนตรัยและยึดมั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

มีคำถามขอเรียนถามท่านผู้รู้และกัลยาณมิตรทุกท่าน

การไปบูชาสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ด้วยความศรัทธา และด้วยความเคารพในพระพุทธองค์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ว่าหากผู้ใดได้ไปบูชาก็เหมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และเมื่อผู้นั้นกายแตกดับไปผู้นั้นจะไม่ไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔

๑. ข้อความดังกล่าว มีข้ออธิบายรายละเอียดไหมครับ ว่าทำไมจึงไม่ไปอบายทั้ง ๔ (สามารถปิดอบายได้เพราะเหตุผลใด เพียงแค่นี้เองหรือ อย่างนี้ใครๆ อยากปิดอบายก็แค่ขอไปบูชาก็ไม่ไปอบายแล้วใช่ไหมครับ)

๒. หากเราพาคนอื่นไปแต่จิตเขาไม่ได้เลื่อมใสอะไร อาจไปเพราะอยากไปเที่ยว เขาไปก็ไปบูชาตามเห็นสมควร เช่นนี้จะยังไม่ไปอบายภูมิหรือไม่?

๓. การไม่ไปอบายนี้มีผลในชาติหน้าหรือชาติที่ ๒,๓,๔ ฯลฯ เพราะมีบางกลุ่มเขาไปกันเกือบทุกปี

๔. การที่เราไปบูชาด้วยความเคารพและศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธองค์ เราต้องกู้ยืมเงินไปเช่นนี้เราจะได้บุญของการไปบูชาหรือไม่ครับ

ขออนุโมนาบุญในธรรมทานของทุกท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 ธ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 4 ธ.ค. 2550

ข้อความจากพระไตรปิฎก (ความเห็นที่ ๑) หมายถึง การกระทำการบูชาด้วยศรัทธาด้วยกุศลจิต ถ้ากรรมนั้นให้ผล ย่อมนำเกิดในสุคติภูมิ (เว้นไว้แต่ผู้นั้นมีอกุศลกรรมหนักเป็นเครื่องกั้น เช่น กระทำอนันตริยกรรม หรือว่าร้ายพระอริยะ เป็นต้น) ไม่ใช่หมายถึงการปิดอบาย ถ้าไปแต่จิตไม่เป็นกุศล หรือแม้แต่ชาวอินเดียที่อยู่ประจำที่นั่น ถ้าเขาไม่มีจิตเสื่อมใส ย่อมไม่มีอานิสงส์เพราะการอยู่หรือไปที่นั่น ส่วนการจะไปบูชาด้วยการกู้ยืมหรือเงินเก็บก็ตาม เมื่อจิตเป็นกุศลขณะใดขณะนั้นเป็นบุญครับ

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

การไปกราบสักการะพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดีย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Atom
วันที่ 4 ธ.ค. 2550

และหากผู้ที่ไปมา แต่เราขอการแบ่งบุญจากเขา เราได้บุญเช่นไรเท่าคนที่ไปหรือไม่? (เคยทราบมาว่าการแบ่งบุญ เปรียบเสมือน เราเอาตะเกียงไปขอจุดไฟจากผู้ที่มีไฟตะเกียง) และเราสามารถที่จะปิดอบายได้หรือไม่?

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 4 ธ.ค. 2550

ผู้ที่จะปิดประตูอบายภูมิต้องเป็นพระโสดาบันค่ะ เกิดอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ถ้าเป็นปุถุชนต่อให้ทำความดีมากมายแค่ไหน คติก็ไม่แน่นอนค่ะ การแบ่งส่วนบุญ เปรียบการจุดตะเกียง หมายถึงเราทำกุศลแล้วอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่นหรือบอกให้เขารู้ เขาอนุโมทนาบุญกุศลของคนที่ทำยิ่งเพิ่มขึ้น ให้เท่าไหร่ก็ไม่หมดค่ะ คนที่อนุโมทนาในส่วนบุญก็นำมาซึ่งความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อ1. ขณะที่กุศลที่เลื่อมใสในสังเวชนียสถานให้ผล ผลบุญนั้นย่อมไม่ไปอบายแน่นอน เราทำอกุศลด้วย ดังนั้น จึงไม่แน่นอน แต่ถ้าบุญนั้นให้ผล ตายไปก็ไม่ต้องไปอบายหากแต่ว่าถ้าอกุศลให้ผลนำเกิด แม้ชาตินั้นจะเลื่อมใสในสังเวชนียสถานก็ต้องไปอบาย เพราะการเลื่อมใสในสังเวชนียสถาน ไม่ใช่กุศลที่มีกำลังหนัก ดังเช่น กุศลที่เป็นรูปวจรกุศลที่เป็นระดับฌาน ที่ให้ผลทันทีเมื่อตาย และถ้าเราทำอนันตริยกรรม (ฆ่า บิดา มารดา เป็นต้น) ในชาตินั้น แม้ชาตินั้นจะไปสังเวชนียสถานแล้วเลื่อมใสก็ตาม ก็ต้องไปอบายแน่นอน เมื่อตายไปครับ เพราะผลของอนันตริยกรรม ให้ผลทันทีเมื่อตายไปในชาตินั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 5 ธ.ค. 2550

ข้อ 2. ข้อนี้ก็เช่นกัน แล้วแต่เหตุปัจจัยว่ากุศลกรรมหรืออกุศลกรรมจะให้ผล

ข้อ 3. แล้วแต่ครับ อาจให้ผลชาติไหนก็ได้

ข้อ 4. บุญคือขณะจิตที่เป็นกุศล ปราศจากกิเลส จึงต้องพิจารณาทีละขณะจิตครับ ไม่ใช่เป็นเรื่องยาวๆ ดังนั้น จึงเป็นอกุศลบ้างและกุศลบ้างครับ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
saifon.p
วันที่ 8 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ และขออนุโมทนาคุณแล้วเจอกัน ซาบซึ้งจริงๆ เมื่อคลิกไปอ่าน การไปกราบสักการะพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดีย มีประโยชน์ต่อผู้ที่ได้อ่านเป็นอย่างมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 21 ธ.ค. 2551

ขอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 4 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 22 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 10 ส.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ