มีธรรมเป็นเกาะ [อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑]

 
pirmsombat
วันที่  5 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5763
อ่าน  1,668

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 90

อัตตทีปวรรคที่ ๕

อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑

อัตตทีปวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้บทว่า อตฺตทีปา ความว่า ท่านทั้งหลายจงทำตนให้เป็นเกาะเป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ ที่ไปในเบื้องหน้า เป็นที่พึ่งอยู่เถิด.บทว่า อตฺตสรณา นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อตฺตทีปา นั้นแล. บทว่า อนญฺสรณา นี้ เป็นคำห้ามพึ่งผู้อื่น ด้วยว่าผู้อื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะคนหนึ่งจะพยายามทำอีกคนหนึ่งให้บริสุทธิ์หาได้ไม่ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า


ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งของตน

คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้


เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนญฺสรณา ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ. ถามว่า ก็ในที่นี้ อะไรชื่อว่าตน ? แก้ว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระ (ชื่อว่าตน) . ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณาอนญฺสรณา มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะดังนี้. บทว่า โยนิ ได้แก่ เหตุ ดุจในประโยคมีอาทิว่า โยนิ เหสา ภูมิชผลสฺสอธิคมาย นี้แลเป็นเหตุให้บรรลุผลอันเกิดแต่ภูมิ. บทว่า กึปโหติกา ได้แก่ มีอะไรเป็นแดนเกิด อธิบายว่า เกิดจากอะไร บทว่า รูปสฺส เตฺวว


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 91นี้ ท่านปรารภเพื่อแสดงการละความโศกเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแล. บทว่า น ปริตสฺสติ ได้แก่ ไม่ดิ้นรน คือไม่สะดุ้ง. บทว่า ตทงฺคนิพฺพุโต ได้แก่ ดับสนิทด้วยองค์นั้นๆ เพราะดับกิเลสทั้งหลายด้วยองค์คือวิปัสสนานั้น. ในพระสูตรนี้ท่านกล่าวเฉพาะวิปัสสนาเท่านั้น.

จบ อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑

................................................................


ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งของตนคนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้


ตนในที่นี้ ท่านหมายถึง ธรรมที่เป็นโลกิยะ และ เป็นโลกุตตระ

มีธรรมเป็นเกาะ เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 6 ธ.ค. 2550

พระพุทธเจ้าตรัสว่าจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอิ่นเป็นที่พึ่ง

ที่พึ่งที่ยิ่งกว่าการเจริญสติปัฏฐานไม่มีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 346 ข้อความบางตอนจาก เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต

" มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม

ถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง;

สรณะนั่นแลไม่เกษม, สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะ

บุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์

เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรค

มีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบ

แห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแลของ

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย

สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 7 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ