พวกเธอยังจะร่าเริง บันเทิงอะไรกันหนอ ?

 
nowbeyond
วันที่  6 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5765
อ่าน  2,209

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 146

โก นุ หาโส กิมานนฺโท นิจฺจ ปชฺชลิเต สติ

อนฺธกาเรน โอนทฺธา ปทีป น คเวสถ.

" เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์,

พวกเธอยังจะร่าเริง บันเทิงอะไรกันหนอ ? เธอ

ทั้งหลายย่อมความมืดปกคลุมแล้ว ทำไมจึงไม่แสวงหา

ประทีปเล่า? "

แก้อรรถ

ความยินดี ชื่อว่า อานนฺโท ในพระคาถานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " เมื่อโลกสันนิวาสนี้ อันไฟ ๑๑ อย่าง มี

ราคะเป็นต้นลุกโพลงแล้วเป็นนิตย์. เธอทั้งหลายจะมัวร่าเริงหรือเพลิด-

เพลินอะไรกันหนอ? นั่นไม่สมควรทำเลย มิใช่หรือ? ก็เธอทั้งหลาย

อันความมืดคืออวิชชาซึ่งมีวัตถุ ๘ ปกคลุมไว้ เหตุไรจึงไม่แสวงหา คือ

ไม่ทำประทีปคือญาณ เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดความมืดนั้นเสีย? "


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panee.r
วันที่ 7 ธ.ค. 2550

กรุณาอธิบายไฟ ๑๑ อย่าง และ วัตถุ ๘ ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 7 ธ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

อาทิตตปริยายสูตร

....ใจ ธรรม มโนวิญญาณ มโนสัมผัส. เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อน เพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส (รวมเป็นไฟ ๑๑กอง)

โมหะ (อวิชชา) เป็นไฉน ? วัตถุ ๘ คือ ๑ ความไม่รู้ในทุกข์ ๒. ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ๓. ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ๔. ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๕. ความไม่รู้ในส่วนอดีต ๖. ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ๗. ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ๘. ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

[๗๑๒] อวิชชาสวะ เป็นไฉน ? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาท-ธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็นความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลาความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปุริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชาอกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า อวิชชาสวะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 10 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ