จิตตะ ในหมวดธรรมทั้ง ๗ ในโพธิปักขิยธรรม
"จิตตะ" ในหมวดธรรมทั้ง ๗ ในโพธิปักขิยธรรมข้างต้น หมายถึงอะไร ที่แปลว่าจิตมีกำลังได้แก่ โลภะ ฯลฯ (อาจฟังมาผิด) ไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับธรรมที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมอย่างไร ส่วน "จิตตะ" ที่แปลกันทั่วๆ ไปว่า "การใฝ่ใจ" นั้นถูกหรือผิด
คำว่า "จิตตะ" ในโพธิปักขิยธรรม ในหมวด อิทธิบาท หมายเอา จิตที่มีกำลังในฝ่ายกุศลธรรม ดังข้อความในวิภังค์ว่า
เชิญคลิกอ่าน....
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร [วิภังค์]
[เล่มที่ ๗๘] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๑ จิตติทธิบาท
[๕๓๔] จิตติทธิบาท เป็นไฉน?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด จิตมโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท