การมีบุตร?

 
Atom
วันที่  11 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5820
อ่าน  6,298

ขอนอบน้อมในพระรัตนตรัยและยึดมั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด

ขอเรียนถามผู้รู้ธรรมและสหายธรรมทุกท่านครับ การมีบุตรทางโลกของพ่อแม่ก็เพื่อสืบสกุล หวังว่าตอนแก่บุตรจะมาเลี้ยงดู ฯลฯ

๑. ในทางธรรมมีบอกไว้หรือไม่ว่ามีบุตรเพื่ออะไร ควรมี หรือไม่ควรมี?

๒. การมีบุตรเป็นอุปสรรคในการศึกษาและปฏิบัติธรรมหรือไม่?

๓. การที่พระพุทธองค์ละทิ้งทุกอย่าง แม้กระทั่งบุตรและภรรยา แม้ว่าจะมีทรัพย์สมบัติของพระมหากษัตริย์สามารถเลี้ยงดูบุตรและภรรยาได้ตลอดชีวิต ถือว่าพุทธองค์ได้ละทิ้งหน้าที่ของครอบครัวต่อบุตรและภรรยาหรือไม่ และถ้าเป็นบุคคลปุถุชนได้กระทำเช่นพุทธองค์ออกบวชเพราะถือครองในเพศฆราสวาสไม่ได้ ถือว่าได้กระทำบาปหรือไม่? ที่ละทิ้งหน้าที่

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาบุญกับธรรมทานทุกท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

๑. บิดา มารดา ปรารถนาที่จะมีบุตรด้วยเหตุ ๕ ประการดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ (ความคิดเห็นที่ ๒) ส่วนควรมีหรือไม่ควรมีนั้นก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ห้ามให้มีหรือไม่มีก็ไม่ได้

๒. ก็ต้องเข้าใจว่าอะไรปฏิบัติ คือปัญญา ปัญญาเกิดได้ไม่ว่าจะมีบุตรหรือไม่มี เพราะปัญญารู้ความจริงที่มีในขณะนี้ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ความห่วงใยในบุตรก็เป็นธรรม ปัญญาสามารถอบรมและรู้ตามความเป็นจริงได้ แต่ถ้าเป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นระดับมรรค ผลความห่วงใยในครอบครัวของเพศคฤหัสถ์กับเพศบรรพชิตที่ไม่มีบุตรและครอบครัว ถ้าอบรมปัญญาถูกทั้งเพศคฤหัสถ์และบรรพชิต เพศบรรพชิตย่อมบรรลุมรรคผลขั้นสูงได้เร็วกว่าเพศคฤหัสถ์ เปรียบเหมือนหงส์ย่อมบินเร็วกว่านกยูงดังข้อความในพระไตรปิฎก (ความคิดเห็นที่3)

๓. หน้าที่ที่สำคัญที่สุดคืออะไร หน้าที่ที่ดี คือติดข้องหรือการละคลายหน้าที่ที่ดีคือทำ ให้ทุกข์มากขึ้นเวียนว่ายตายเกิด หรือไม่ต้องทุกข์และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดเพราะดับกิเลส หน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากกิเลส จากความผูกพันติดข้องในครอบครัว อันชาวโลกสำคัญในความรักนั้นว่าดี แต่พระโพธิสัตว์ทรงละทิ้ง บุตรและภรรยาก็เพื่อแสวงหาหนทางเพื่อจะช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์ เป็นหน้าที่เพื่อคน อื่น เป็นหน้าที่ที่ประเสริฐเพราะเพื่อดับกิเลสของคนอื่นด้วย ส่วนในกรณีของบุคคลทั่วไปที่ออกบวช เป็นบาปหรือไม่ที่ละทิ้ง บาปคืออะไร คือสภาพจิตที่ติดข้อง เป็นต้น ขณะที่ติดข้องในบุตร ภรรยา ห่วงใยเป็นบาปเป็นอกุศล ส่วนขณะสละความติดข้องได้ เห็นโทษของกามเป็นสภาพจิตที่ไม่ติดข้องเป็นกุศลจึงไม่บาป

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ธ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ธ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สารธรรม
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

๑. โลภะไม่ควรมี แต่ให้ละตอนนี้โดยปัญญายังเจริญไม่พอ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เมื่อยังมีเหตุปัจจัยให้โลภะเกิด โลภะก็ต้องเกิด ห้ามไม่ให้รักใครสักคนในโลกนี้เลย แม้แต่ตัวเองก็ไม่ให้รักขณะนี้ได้ไหม ก็ย่อมจะทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น สัตว์โลกผู้ที่ไหลไปตามกระแสของตัณหาก็ย่อมจะต้องถูกผูกไว้ด้วยห่วง ด้วยพันธะ ที่ตามมามากมายจากความรักใคร่ ยินดีในกาม ซึ่งจะก่อให้เกิดทุกข์จากความพลัดพรากแน่นอน ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงบอกไว้ว่าไม่ควร ให้ละตัณหาเสีย แต่ทรงตรัสไว้แก่ฐานะของพระอนาคามี และพระอรหันต์ แม้แต่อุบาสิกาวิสาขามิคารมาตาซึ่งเป็นถึงพระโสดาบัน มีบุตรหลานมาก สุดท้ายก็ต้องร้องไห้ ผมเปียก ผ้าเปียกเพราะทุกข์ที่เกิดจากโลภะ จะกล่าวไปใยถึงปุถุชนผู้อยู่ในอฐานะคือ ละไม่ได้ ที่ยังต้องคลายความเห็นผิดมากมายเพราะความไม่รู้ด้วยการฟังพระธรรมให้เกิดความเข้าใจขั้นฟังก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สารธรรม
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

๒. ผู้ที่ไม่ได้สะสมการฟังมา ผู้ที่ไม่มีบุญแต่ชาติปางก่อนอุปถัมภ์ให้ได้ฟังพระธรรม ผู้ที่เห็นผิดดิ่งมาก ผู้ที่บ่ายหน้าออกจากธรรมสัญญาเพราะคบมิตรที่เป็นพาล ฯลฯ ถึงแม้จะไม่มีบุตรก็ย่อมไม่สนใจฟังพระธรรม หรือฟังแล้วก็อาจจะไม่เชื่อ ไม่พิจารณา ค้าน ลบหลู่ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สารธรรม
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

๓. ภายหลังพระราหุล และพระนางพิมพา ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสเป็นสมุทเฉทหมดสิ้นการเกิดการตายในวัฏฏะอีก ฉะนั้น ประโยชน์ของการทรงออกผนวช จึงต้องดูที่ผลถ้าหากไม่ทรงออกผนวช ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ครองโลกได้

สุดท้ายพระองค์ พระชายาและพระราหุลก็จะต้องเวียนว่ายไปในวัฏฏะอีก และจะไม่มี ผู้ใดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในยุคนั้นได้เลย จะไม่มีท่านพระสารีบุตร ไม่มีท่านพระ มหาโมคคัลลานะ ไม่มีพระพุทธศาสนาสืบทอดมาจนถึงยุคนี้ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ใดจึงจะเป็นประโยชน์กว่ากัน ระหว่างการทำหน้าที่ทางโลกด้วยความติดข้อง กับการทำหน้าที่ทางธรรมด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณและพระมหากรุณาคุณ อันหาประมาณมิได้

การออกบวชเป็นการปลีกออกจากกามอันเป็นของต่ำ เป็นยาพิษ เป็นสิ่งที่ควรกระทำก็จริงแต่ก็ยังไม่ใช่ฐานะของปุถุชน ผู้ไม่มีอัธยาศัยใหญ่ที่จะสละบ้านเรือน ทิ้งวงศาคณาญาติเพื่อบวชได้การออกบวชจะบาปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นสำคัญว่า บวชเพื่อขัดเกลากิเลสของตน หรือบวชเพื่อจุดประสงค์อื่น เราไม่อาจจะรู้ใจของผู้ที่คิดจะบวชได้ เป็นเรื่องนานาจิตตัง อย่างไรก็ตาม การบวชที่สำคัญกว่าการบวชกายคือ การบวชใจ ขณะที่จิตเป็นกุศลในขั้นทาน การวิรัติทุจริต การรู้ความสงบของจิต หรือการรู้สภาพธรรมตามเป็นจริงในขั้นสติปัฏฐาน ไม่เป็นไปในอกุศลวิตกต่างๆ ขณะนั้น แม้กายไม่ได้ห่มผ้าเหลืองก็เป็นการบวช (ใจ) แล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

การศึกษาธรรมะไม่จำกัดเพศไม่จำกัดวัย ถ้าได้เป็นผู้สั่งสมบุญมาในอดีตชาติก็ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยในการเข้าใจธรรมะที่ถูกต้องยิ่งๆ ขึ้นไปได้ ผู้ที่เป็นมารดา บิดา หรือเป็นบุตรธิดา ได้ศึกษาธรรมะแล้วบรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลมีเป็นจำนวนมากมายตามที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ซึ่งท่านเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาธรรมะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คุณ
วันที่ 17 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 7 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 25 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ