ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

 
pirmsombat
วันที่  12 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5827
อ่าน  2,001

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

บทว่า เยน ในข้อว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตวิภัตติ ฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ใด เทวบุตรนั้นก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรนั้น ก็เข้าไป

เฝ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พึงเข้าไปเฝ้า. ตอบว่า เพราะท่านเหล่านั้นมีความประสงค์เพื่อจะบรรลุคุณ

วิเศษมีประการต่างๆ เปรียบเหมือนต้นไม้ให้ที่ผลิตผลตลอดฤดูกาล อัน

ฝูงนกทั้งหลายพากันไปยังต้นไม้นั้น ด้วยประสงค์จะจักกินซึ่งผลมีรสอร่อย

ฉะนั้น.

อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺ-

กมิตฺวา นี้เป็นบทแสดงถึงเวลาสิ้นสุดลงของเวลาเข้าเฝ้า.อีกอย่างหนึ่งข้อนี้มี

คำอธิบายว่า เทวบุตรนั้นไปแล้วอย่างนี้ คือไปสู่สถานที่ซึ่งใกล้กว่านั้น

กล่าวคือ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ก็มี.

บัดนี้ เทวบุตรนั้น มาสู่ที่บำรุงแห่งบุคคลผู้เลิศในโลก ด้วยประโยชน์

อันใด เป็นผู้ใคร่เพื่อทูลถามถึงประโยชน์อันนั้น จึงทำอัญชลีกรรมอันรุ่งเรือง

แล้วด้วยอันประชุมแห่งเล็บทั้งสิบ นมัสการประดิษฐานไว้เหนือศีรษะแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ศัพท์ว่า เอกมนฺต เป็นศัพท์แสดง

ภาวนปุงสกลิงค์ ดุจในคำทั้งหลาย มีคำว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียนไป มิได้สม่ำเสมอกัน เป็นต้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า เทวบุตรนั้น ได้ยืนอยู่แล้วโดยกิริยาที่ยืนอยู่แล้วนั้น ชื่อว่า ยืนอยู่แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอกมนฺต นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ

ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อฏฺาสิ ได้แก่ ย่อมสำเร็จซึ่งอิริยาบถยืน.

จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ควรเคารพในฐานครู ย่อมยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง

เพราะความที่คนเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง. ก็เทวดานี้เป็นองค์ใดองค์หนึ่ง ใน

บรรดาผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง ดังนี้. ถามว่า ก็ยืนอยู่อย่างไร จึงชื่อว่า ยืนอยู่ ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เว้นโทษของการยืน ๖ อย่าง คือ

ยืนไกลเกินไป

ยืนใกล้เกินไป

ยืนเหนือลม

ยืนในที่สูง

ยืนตรงหน้าเกินไป

ยืนข้างหลังเกินไป

จริงอยู่ บุคคลผู้ยืนไกลเกินไปถ้าประสงค์จะพูด ก็จะต้องพูดเสียงดัง

ถ้ายืนใกล้เกินไปย่อมจะเบียดเสียดกัน ถ้ายืนเหนือลมย่อมเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว ถ้ายืนในที่สูงย่อมประกาศถึงความไม่เคารพ ยืนตรงหน้าเกินไปถ้าประสงค์จะมองก็จะต้องจ้องตากัน ยืนข้างหลังเกินไป ถ้าใคร่จะเห็นหน้าก็จะต้องชะเง้อคอดู เพราะฉะนั้น แม้เทวบุตรนี้ ก็ยืนเว้นโทษ ๖ เหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า เอกมนฺต อฏฺาสิ แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
medulla
วันที่ 13 ธ.ค. 2550

ขอขอบพระคุณมากค่ะ วันนี้ถ้าไม่ได้มาอ่านข้อธรรมที่คุณ pirmsombat กรุณามาโพสนี่ คงจะเป็นอีกวันที่ว้าวุ่นกับเรื่องงานน่าดู แต่เพราะมีกัลยาณมิตรและสถานที่ที่เหมาะสม จึงทำให้วันนี้เป็นอีกวันนึงที่ได้สะสมความเข้าใจพระธรรม ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญที่สุดของชีวิตค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
หาคำตอบ
วันที่ 13 ธ.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ ได้รับประโยชน์จากข้อธรรมของท่านเสมอ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 13 ธ.ค. 2550

ขอบคุณครับ ถ้ามีผู้เห็นว่ามีประโยชน์ ผมจะได้พยายามทำมากๆ เพราะผมมีเวลาเจริญกุศลอีกไม่มากแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
devout
วันที่ 13 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาและความไม่ประมาทค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สารธรรม
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

บางกระทู้ที่อาจจะไม่มีผู้ตอบมากนัก ส่วนใหญ่จะมีแต่ผู้เข้ามาเปิดอ่านคุณ pirmsombat สามารถดูได้จากตรงนี้ครับ

เขียน / อ่าน บันทึกข้อมูล

05827 ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง โดย pirmsombat 4 / 41 12-12-2550

ถ้าสังเกตตัว สีแดง ก็จะเห็นได้ว่า ผู้อ่าน (ซึ่งอาจจะเป็นคนเดิมเข้ามาเปิดดู) มีแล้วถึง 41 ครั้ง ซึ่งก็นับว่าไม่น้อยทีเดียว ถ้าเทียบกับเว็บไซด์ธรรมะที่อื่นๆ บางเว็บไซด์เงียบเหงากว่านี้มากๆ แต่ที่บ้านธัมมะนี้รับรองว่ามีผมคนนึงที่อ่านแน่นอนครับขออนุโมทนาในกุศลวิริยะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

เทวดาบางพวกมาเฝ้าแล้วนั่งก็มีค่ะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 16พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ เข้าไปยังสัณฐาคาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ซึ่งเขาปูลาด

ไว้แล้ว ฝ่ายภิกษุ. สงฆ์แล รวมทั้งพระราชาทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้

นั่ง ณ โอกาสสมควร แม้ท้าวสักกะจอมเทพ ก็นั่งกับเทวบริษัทในเทวโลกทั้งสองเทวดาเหล่าอื่นก็ได้นั่งด้วยเทวบริษัทเช่นกัน ฝ่ายพระอานนทเถระ เที่ยวไปยังนคร

เวสาลีจนทั่ว กระทำอารักขา แล้วมาพร้อมกับชาวนครเวสาลี นั่งลงแล้ว ณส่วนข้างหนึ่ง ณ สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรตนสูตรนั้นนั่นแลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ คุณpirmsombat สำหรับผมเป็นผู้สะสมการนั่งฟัง (หลังลำโพง) หน้าวิทยุ

หน้าพวงมาลัยรถยนต์ ครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทำสิ่งดีๆ ต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pirmsombat
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

ทุกท่าน ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ธ.ค. 2550
ชอบอ่านของคุณ pirmsombat เพราะยกข้อความในพระไตรปิฎกมา อ่านดีมากครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wirat.k
วันที่ 15 ธ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ ชอบอ่านข้อความที่ท่าน post มา และรออ่านอีกครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pirmsombat
วันที่ 15 ธ.ค. 2550

ขอบคุณ คุณ wirat.k มากครับ คุณเข้าใจ และเก่ง ในธรรม ขออนุโมทนาครับสำหรับ คุณ แล้วเจอกัน เข้าใจธรรม ขยันและเก่งมากในการโพสต์ ค้น และ ทำ Link ธรรม

ผมขอชมเชย และ นับถือ มาก อนาคต ทางธรรมอีกไกล และสดใส น่าชื่นชม อายุก็ย้งน้อยขออนุโมทนาครับ ผมอยากเรียนรู้การใช้ คอม เรื่องการ ค้น โพทต์ และลิ้ง ธรรม

เมื่อมีโอกาศ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 15 ธ.ค. 2550

อนุโมทนาในความตั้งใจเผยแพร่พระธรรมที่ถูกต้องของคุณ pirmsombat อีกครั้งและของทุกๆ ท่านด้วยครับ เป็นชาติที่ประเสริฐจริงๆ ที่ได้ร่วมกันเผยแพร่พระธรรมที่ถูกต้องครับเชิญคลิกอ่านที่นี่......เพื่อนในพระธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ