ปัจจุบัน
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
๑๐. อรัญญสูตร
[๒๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่าวรรณะของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า
ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติ
[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ภิกษุทั้งหลาย.............ไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่
เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
วรรณะ (ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใส
ด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึงปัจจัยที่ยังไม่มาถึงและความโศกถึงปัจจัยที่ล่วงแล้วพวกพาลภิกษุจึงซูบซีด
เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น
จบ นฬวรรค ที่ ๑
...............................................................................
บุคคลทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงสี่งในอดีต
บุคคลทั้งหลายไม่ปราถนาในสี่งที่ยังมาไม่ถึง
อยู่ด้วยสี่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ย่อมมีความสุข มีความเพียร
เกิดปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 697
ข้อความบางตอนจาก จักกวากชาดก
ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก
[๑๒๗๖] ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกิน
ผลไม้อะไร ที่ห้วงน้ำนี้ หรือว่าท่านทั้งหลาย
กินเนื้อแก่ที่ไหน หรือว่าท่านทั้งหลายกิน
โภชนาหารอะไร กำลังและสีของท่านทั้งหลาย
จึงไม่เสื่อมทรามผิดรูป.
[๑๒๗๗] ดูก่อน ผลไม่ทั้งหลายจะมีที่ห้วงน้ำ
ก็หามิได้ เนื้อที่นกจักรพรากจะกินก็มิได้มี
แต่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายกินแต่สาหร่าย
กับน้ำ จะได้ทำบาปเพราะการกินก็หามิได้.
[๑๒๗๘] ดูก่อนนกจักรพราก อาหารของท่านนี้
เราไม่ชอบ อาหารที่ท่านกินในภพนี้อย่างไร
ท่านก็เป็นผู้ละม้ายคล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้ง
ก่อนเราเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้
กลายเป็นอย่างอันไปด้วยเหตุนี้แหละ เราจึง
เกิดความสงสัยในสีกายของท่าน.
[๑๒๗๙] แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และอาหารที่
เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เราได้กินอาหาร
มีรสที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ
เข้าต่อสู้สงครามได้ ดูก่อนนกจักรพราก แต่สี
ของเราหาเหมือนกับของท่านไม่.
[๑๒๘๐] ดูก่อนกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์
มักจะโฉบลงในขณะที่เขาพลั้งเผลอ จะได้กิน
ข้าวและน้ำก็โดยยาก ลูกไม้ทั้งหลายท่านก็ไม่
ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้า ท่านก็ไม่
ชอบใจกิน.
[๑๒๘๑] ดูก่อนกา ผู้ใดอาศัยบริโภคโภคสมบัติ
ด้วยกรรมอันสาหัส มักจะโฉบลงในขณะที่เขา
พลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมตนเอง ก็ย่อม
ติเตียนผู้นั้น ผู้นั้นถูกสภาวธรรมตนเองติเตียน
แล้ว ก็ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย.
[๑๒๘๒] ถ้าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้จะนิดหน่อย
ซึ่งเป็นของเย็นไม่เบียดเบียนผู้อื่นถึงสาหัส ใน
กาลนั้นกำลังกายและวรรณะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
วรรณะทั้งปวงจะมีแก่ผู้นั้น ด้วยอาหารต่างๆ
เท่านั้นก็หาไม่.
จบ จักกวากชาดกที่ ๘
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ดิฉันกำลังเป็นคนพาลที่เศร้าโศกในอดีตและปรารถนาในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอีกผู้หนึ่ง เมื่อได้อ่านถ้อยคำของสัตบุรุษแล้ว ยังใจให้เบิกบานแจ่มใสเหมือนเดิม ขออนุโมทนาค่ะ
เมื่อสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ขณะนั้นจิตมีความเป็นกลางอย่างยิ่ง
ความรู้สภาพธรรมที่กำลังศึกษาแต่ละขณะแต่ละทวารนั้นค่อยๆ มากขึ้นค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วก็
ดีใจเสียใจวนเวียนไปเหมือนเดิมในสังสารวัฏฏ์ ถ้าเป็นการวนออกหรือหมุนออกจากสังสารวัฏฏ์ต่อเมื่อสติเกิด แม้เกิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ ในแต่ละวันหรือบางวันไม่เกิดเลยก็ไม่ต้องเดือดร้อน
เพราะเป็นเรื่องของธรรมะที่จะปรุงแต่งไปเองตามเหตุตามปัจจัย หน้าที่ก็คือสะสมบุญบารมีใน
ชีวิตประจำวันตามโอกาสและไม่ละเลยการฟังธรรมหรือศึกษาธรรมเท่านั้น ขออนุโมทนากับ
สหายธรรมที่กำลังประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมทุกท่านค่ะ