สัตบุรุษ กับ อริยะ

 
pirmsombat
วันที่  16 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5891
อ่าน  1,112

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ. ผู้ใดเป็น

สัตบุรุษผู้นั้นเป็นอริยะ. ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ. ธรรม

ใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ. วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัย

นั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ. วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของ

พระอริยะ. รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของ

สัตบุรุษก็ดี วินัยของอริยะก็ดี วินัยของสัตบุรุษก็ดีเหล่านั้น เป็นอันเดียวกัน

ตั้งอยู่ในที่เดียวกันเสมอกันเสมอภาคกัน เกิดในที่นั้นเหมือนกันด้วยประการฉะนี้.

......................................................

ระยะนี้ ผมโพสต์เรื่อง สัตบุรุษ และ อริยะ บ่อยๆ จึงขอเน้นว่า สัตบุรุษ กับ อริยะ เหมือนกันในธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของอริยะ และในวินัยของสัตบุรุษ วินัยของอริยะ เป็นอันเดียวกันนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 16 ธ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระตถาคต พึงทราบว่าเป็นสัตบุรุษ ในบทว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นสัตบุรุษเพราะเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้นทั้งหมด ท่านก็กล่าวไว้ทั้งสองอย่าง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจก-พุทธเจ้าทั้งหลาย แม้พระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นทั้งพระอริยะและเป็นทั้งสัตบุรุษ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำ กิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ฟังธรรมonline
วันที่ 17 ธ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 17 ธ.ค. 2550

ขออนูโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ