สติปัฎฐาน ๔

 
nee
วันที่  15 ธ.ค. 2548
หมายเลข  590
อ่าน  4,410

1. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเจริญสติปัฎฐานถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้

2. ที่ว่าอบรมเจริญปัญญา อบรมอย่างไร

3. คำว่าอธิษฐาน หมายความว่าอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 ธ.ค. 2548

๑. ต้องเทียบเคียงกับหลักธรรมคำสอนในพระไตรปิฎก และอรรถกถา และปรมัตถธรรมว่าตรงกันไม่ขัดแย้งกัน

๒. อบรมเจริญปัญญาด้วยการฟัง ด้วยการพิจารณา ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

๓. คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึงการตั้งใจมั่น ไม่หวั่นไหว เช่น ข้อความพุทธวงค์ว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 15 ธ.ค. 2548

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ หน้าที่ 156

อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ยอมสละชีวิตอธิษฐานวัตร อย่างนี้ว่ามารดาบิดาไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา ตัวก็ไม่เป็นที่เกลียดชังของเรา พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 15 ธ.ค. 2548

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ หน้าที่ 241

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตนเท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่าท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ ไว้ให้มั่นก่อนท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้นแล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้. ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด. ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมีทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐานบารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natre
วันที่ 6 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ