การอบรมสมถภาวนา ไม่ใช่เพียงจดจ้องที่อารมณ์
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 ธ.ค. 2550
หมายเลข 5917
อ่าน 1,166
แม้ว่า ปฏิสนธิจิตเป็น ติเหตุกะ ประกอบด้วยปัญญา แต่ถ้ายินดีเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะโดยไม่เห็นโทษ ก็ย่อมจะไม่คิดจะบรรเทาความเพลิดเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ด้วยการรักษาศีลและเจริญภาวนา
ฉะนั้น การอบรมสมถภาวนาให้ถึงอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิจึงไม่ง่ายเลย ไม่ใช่เพียงการจดจ้องที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่ต้องการก็จะเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ที่จะทำให้บรรลุถึงอุปจารสมาธิได้ ถ้าเข้าใจผิดว่า โลภมูลจิตขณะนั้นเป็นมหากุศลก็จะทำให้คิดว่านิมิตต่างๆ ที่จิตปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เห็นเป็นนรก สวรรค์ สถานที่ เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ นั้น เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌานจิตขั้นต่างๆ