รู้เพียง ๑ คาถา ก็ควรเรียกว่าเป็น พหูสูต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 454
ภิกษุ .... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าบุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า. ดูก่อนภิกษุ เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ
สุตตะ.. .เวทัลละถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถา ๔ บาท แล้วเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม...
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สูงสุด คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 74
ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม
พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือ
พูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทง
ตลอดสัจจะทั้งหลาย (บรรลุธรรม) , ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;
ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย
นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล
เป็นผู้ทรงธรรม."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่
ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการ
ทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี.
บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้มีประมาณ
น้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
กำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม ๔ ด้วยนามกาย.
ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.
บาทพระคาถาว่า โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มี
ความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด)
ในวันนี้ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์