อริยสัจจ์

 
nee
วันที่  21 ธ.ค. 2548
หมายเลข  600
อ่าน  4,615

1. หัวใจของพระพุทธศาสนาคืออะไร

2. อริยสัจจ์ ๔ หมายความว่าอย่างไร

3. เจริญอริยสัจจ์ ๔ อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 ธ.ค. 2548

๑. หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ หลักคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมด โดยย่อมีหนึ่งคือความไม่ประมาท หรือโดยนัยของ ศีล สมาธิ ปัญญา อีกนัยหนึ่ง คือ คำสอนทั้งหมดสอนเรื่องความจริง ได้แก่ อริยสัจจธรรม ๔ ประการ

๒. อริยสัจจ์หมายถึงความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ฯลฯ โปรดอ่านในอรรถกถาโดยตรง

๓. อริยสัจจ์ที่หนึ่งเจริญโดยการรอบรู้ อริสัจจ์ที่สองเจริญด้วยการละ อริสัจจ์ที่สามเจริญโดยการทำให้แจ้ง อริสัจจ์ที่สี่เจริญโดยการอบรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 21 ธ.ค. 2548

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 295

เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้นฉะนั้น สัจจะเหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริสจฺจานิ กตมานิ ฯ เป ฯ อิมานิโข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติตสฺมายดี อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของพระอริยะ ดังนี้บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯ เป ฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัจจะของพระอริยะ ๒.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระอริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะความสำเร็จโดยความเป็นอริยะบ้างเหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิ เมสํ โข ภิกฺขเว จตุนฺนํ อริยสจฺจานํยถาภูตํ อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติวุจฺจติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แลตามความจริง.

อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่า อริยสัจ เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะอันประเสริฐ คำว่า อริยะ นี้มีอธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเวจตฺตาริ อริสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ